November 05, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

STEC ปรับกลยุทธ์รุกธุรกิจใหม่ โชว์ Backlog กว่าแสนล้าน ลงนามใช้ประโยชน์ “สนามบินอู่ตะเภา”

บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ปรับกลยุทธ์รับงานเอกชนมากขึ้น เร่งเข้าถึงธุรกิจใหม่ขยายฐานรายได้ มองโอกาสรับงาน Recurring Income มากขึ้น เป้างานใหม่ 4 หมื่นล้านบาท พร้อมชูงานในมือ (Backlog) กว่า 1 แสนล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ภายใน 3-4 ปีนี้

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานคาดว่าบริษัทฯ จะมีรายได้เติบโต 10%ในปี 2565 นี้ โดย เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีรายได้ 27,930 ล้านบาท โดยบริษัทฯ สามารถเข้าพื้นที่งานก่อสร้างในโครงการต่างๆ ได้มากขึ้น หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด – 19 คลี่คลาย โดยปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) ยังคงอยู่ในระดับ 100,000 ล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ 3-4 ปี ระหว่างปี 2566-2570 และจากBacklog ที่มีอยู่ในจำนวนมากนี้ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานในปี 2566 บริษัทฯ จะมีรายได้เติบโตมากกว่าปีนี้แน่นอน

ทั้งนี้แม้ภาพรวมรายได้ปีนี้จะมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น แต่ต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 10-20% นั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อกำไรปีนี้ รวมทั้งตอนนี้ภาวะการขาดแคลนแรงงานเป็นอีกผลกระทบหนึ่งที่ต้องแก้ปัญหา ซึ่งบริษัทฯ จะพยายามนำเข้าแรงงานต่างด้าว แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะผ่อนปรนได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงมีการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งในอนาคตก็ต้องเพิ่มเครื่องจักร และการเปิดทำงานล่วงเวลา เพื่อชดเชยการขาดแคลนแรงงาน โดยช่วงครึ่งปีหลังบริษัทจะมีการเข้าไปรับงานภาคเอกชนมากขึ้น อาทิ งานก่อสร้างอาคาร งานขยายโรงงาน ซึ่งจะมีออกมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการเจรจาที่จะรับงานเอกชนขนาดใหญ่อยู่ด้วย หากได้รับงานดังกล่าวก็จะสนับสนุนงานในมือให้เพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มงานที่มาร์จิ้นสูงอีกด้วย

คาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถลงนามในสัญญางานใหม่ได้ตามเป้าหมายที่ 4 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มูลค่างานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นโดยคาดว่าอาจแตะที่ 150,000 ล้านบาทภายในสิ้นปี 2565 นี้

“ปีนี้เรายังคงเป้าหมายการรับงานที่ 4 หมื่นล้านบาท แต่ก็ต้องติดตามงานที่จะออกในช่วงปลายปี เพราะขณะนี้ก็อาจจะมีความล่าช้าไปบ้างในหลายโครงการ แต่เชื่อว่าการรับรู้จะทำได้อย่างน้อยตามเป้าหมายการรับรู้รายได้ หรือไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาระดับงานในมือด้วย แต่การรับงานของบริษัทจะเน้นงานที่มีคุณภาพมากขึ้น การรับงานที่มีมาร์จิ้นสูง ที่ผ่านมาบริษัทก็เดินหน้าเรื่องนี้ และพยายามที่จะหาธุรกิจใหม่เข้ามาเสริมด้วย เพื่อกระจายฐานรายได้ เพราะธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมีความผันผวน มีปัจจัยกดดันบ้าง” นายภาคภูมิ กล่าว

สำหรับการประมูลงานในปี 2565 นี้ทั้งงานส่วนของภาครัฐ และเอกชน ปัจจุบันมีงานที่บริษัทฯ ชนะการประมูลและได้ลงนามในสัญญางานก่อสร้างเข้ามาเพิ่มแล้วรวมกว่า 20,000 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถลงนามในสัญญางานใหม่ได้ตามเป้าหมายที่ 4 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มูลค่างานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นโดยคาดว่าอาจแตะที่ 150,000 ล้านบาทภายในสิ้นปี 2565 นี้

โดยบริษัทฯพยายามที่จะปรับตัว ทั้งการลดต้นทุน การใช้อุปกรณ์ที่สำเร็จรูปมากขึ้น การเจรจากับภาคเอกชนถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เข้าใจถึงต้นทุนส่วนเพิ่ม ส่วนงานภาครัฐอยากให้มีการพิจารณาในเรื่องของค่า K เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทก็จะไม่ได้เข้าไปแข่งขันด้านราคามีการเลือกรับงานที่มีคุณภาพมากขึ้น เน้นงานที่มีมาร์จิ้นสูง และเชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ จะดีขึ้น ตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นที่ระดับ 7% จากปัจจุบันระดับ 4% ภายใน 1-2 ปีนี้ รวมไปถึงการหากธุรกิจใหม่เข้ามาเสริมอีกด้วย

ส่วนการประมูลงานโครงการของภาครัฐต้องยอมรับว่าขณะนี้มีความล่าช้าไปบ้าง แต่บริษัทยังสนใจติดตามอยู่หลายโครงการ ทั้งโครงการสัมปทานต่างๆ ของภาครัฐ ทั้ง กรมทางหลวง การทางพิเศษ การประมูลโครงการก่อสร้างระดับใหญ่ของราชการ และการประมูลโครงการรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ เป็นต้น แต่ทั้งนี้การเข้าไปรับงานของบริษัทจะพยายามเข้าไปรับการในส่วนของการบำรุงรักษา (Maintenance) การดูและระบบ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ที่เป็นรายได้ประจำ (Recurring Income) ด้วย เพราะต้องยอมรับว่างานก่อสร้างค่อนข้างมีความผันผวน ทั้งการประมูลโครงการ ต้นทุนการก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงต้นทุนค่าแรงงาน ที่ขณะนี้มีการปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำในอัตรา 5-8% ซึ่งบริษัทมีแรงงานที่รับอัตราค่าแรงขั้นต่ำกว่า 70% ทำให้ได้รับผลกระทบในส่วนนี้บ้าง แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย ปรับขึ้นในอัตราที่ยอมรับได้ และก็เข้าในถึงสถานการณ์เรื่องของค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ที่ปรับเพิ่มขึ้นในขณะนี้

“โครงการเมกะโปรเจคในปี 2566 ของภาครัฐนั้น เรามองว่าต้องติดตามการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ว่าพรรคใดจะได้เป็นรัฐบาล ซึ่งการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่อาจจะส่งผลต่อการประกวดราคาโครงการให้ล่าช้าออกไปบ้าง แต่เชื่อว่ารัฐยังคงต้องใช้เรื่องการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งตนเชื่อว่ามูลค่าโครงการที่ภาครัฐจะออกมาประกวดราคาในปีหน้าจะไม่น้อยไปกว่าปีนี้ และโดยปกติภาครัฐจะประกาศลงทุนอยู่ในระดับ 5-6 แสนล้านบาทต่อปี” นายภาคภูมิ กล่าวทิ้งทาย

การลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการใช้ประโยชน์ “สนามบินอู่ตะเภา” กองทัพเรือ และ “สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา”

วันที่ 21 กันยายน 2565 ณ ห้องวุฒิไชยเฉลิมลาภ ชั้น 2 อาคารราชนาวิกสภา ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้แทนจากกองทัพเรือ และคุณคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร ผู้แทนจากบริษัท UTA ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการใช้ประโยชน์ “สนามบินอู่ตะเภา” กองทัพเรือ และ “สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา” ตามโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกร่วมกัน (Joint Use Agreement: JUA) ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (บริษัท UTA) โดยมี พลเรือเอก ภราดร พวงแก้ว ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ คุณธาริศร์ อิสสระยั่งยืน รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และคุณภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการบริหาร ผู้แทนบริษัท UTA ลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ เป็นพยาน

ซึ่งในส่วนของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมี คุณวรัช กุศลมโนมัย รองกรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ, คุณอรรถสิทธิ์ ศิริสนธิ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม, คุณรุ่งโรจน์ นาคนวล ผู้จัดการแผนกสื่อสารองค์กร เข้าร่วมพิธีลงนามฯ

การลงนามในครั้งนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย ให้เติบโตขึ้นอย่างมากและเป็นที่รู้จักทั่วโลก ผ่านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีให้กับภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ขยายการลงทุนมาสู่พื้นที่อีอีซี ทำให้เกิดการสร้างรายได้และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะการเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation" รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของ “มหานครการบินภาคตะวันออก" เพื่อสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการ ให้เกิดเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศไทย

ซิโน-ไทย คืนกำไรสู่สังคม

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้จัดพิธีมอบ “อาคารชาญวีรกูลที่ 70” ซึ่งเป็นอาคารเรียนสำหรับเด็กชั้นอนุบาล ขนาด 2 ห้องเรียน 1 โซนห้องน้ำ ให้แก่โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ภายใต้โครงการ “ซิโน-ไทย คืนกำไรสู่สังคม” โดย คุณภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และพนักงาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.อรวรรณ แสงสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เป็นตัวแทนรับมอบอาคารฯ นอกจากนี้ยังมอบทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียน และอุปกรณ์กีฬา เพื่อให้ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน สร้างเด็ก เยาวชน ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

คุณภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า “โครงการ “ซิโน-ไทย คืนกำไรสู่สังคม” ดำเนินการมากว่า 20 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เด็กทุกคนต้องมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการจัดสร้าง อาคารเรียน อาคารห้องสมุด และอาคารเอนกประสงค์ ในชื่อของ “อาคารชาญวีรกูล” เพื่อมอบให้กับโรงเรียนที่มีความขาดแคลนในถิ่นทุรกันดาร รวมถึงโรงเรียนที่มีความจำเป็นแต่ขาดงบประมาณในการก่อสร้างโดยอาคารหลังแรกที่เราได้จัดสร้างและส่งมอบ เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2545 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทฯ ดำเนินกิจการมาครบรอบ 40 ปี จนถึงปัจจุบันบริษัทฯ ได้ส่งมอบอาคารต่างๆ ไปแล้วทั่วประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 69 โรงเรียน และปีนี้เป็นปีที่บริษัทฯ ดำเนินกิจการมาครบ 60 ปี เราจึงได้จัดสร้างอาคารชาญวีรกูลที่ 70 เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ จ.นนทบุรี ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการศึกษาของประเทศไทย”

บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นดำเนินโครงการ “ซิโน-ไทยฯ คืนกำไรสู่สังคม" อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการศึกษาและให้โอกาสแก่เยาวชนไทย ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป
“60 ปี ซิโน-ไทย 6 ทศวรรษแห่งรากฐานอันมั่นคง แข็งแกร่ง”



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 02 March 2023 12:21
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

มันส์ระเบิดแน่! กับโมโตครอสชิงแชมป์ประเทศไทย ช่วงท้ายฤดูกาล สนาม 8-9 ที่ Silver Rock Bike Park วันที่ 13-14 ก.ค. 67 นี้

S&J มุ่งรักษาการเติบโต มั่นยึดถือแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ย้ำเป็น 1 ใน 25 บริษัทที่ทำคะแนนสูงสุดของทั้ง 4 เกณฑ์ คือรางวัลของการขับเคลื่อน เป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จ

ZOOMLION มินิโรดโชว์ เมกาโฮม กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

SCG HEIM เปิดตัว 3 แบบบ้านสไตล์ใหม่ “New Design ULTIMATE Series” ชูจุดขายด้านสุขภาพและการอยู่สบาย เจ้าของบ้านประสานเสียงตอบรับคือบ้านคุณภาพเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM