November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา กู้เงินญี่ปุ่น 23,946 ล้านเยน

คลังเผย กู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะที่ 2

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนาย Yuji Kumamaru อุปทูต รักษาการแทนเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับโครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นครั้งที่ 32 และ นาย Yasunori Onishi ผู้อำนวยการองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) ประจำประเทศไทย กับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามสัญญาเงินกู้ และเอกสารที่เกี่ยวข้องดังมีรายละเอียด ดังนี้
 
โครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่น ครั้งที่ 32
ภายใต้ความร่วมมือทางการเงิน ครั้งที่ 32 นี้ รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงจะให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจกู้เงินโดยผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สำหรับใช้ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 23,946 ล้านเยนโดยมีโครงการดังต่อไปนี้ 
 
หน่วย: ล้านเยน
 

ชื่อโครงการ/หน่วยงาน

                       วงเงิน                      

(1)   โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1

ของกรมทางหลวงชนบท

 7,307

(2)   โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะที่ 2

ของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

กระทรวงการคลังค้ำประกัน

16,639

 
           
 
เงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน โดยมีอัตราดอกเบี้ยสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการสำหรับโครงการ (1) ในอัตราร้อยละ 0.95 ต่อปี ระยะชำระหนี้ 20 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้เงินต้น 6 ปี และอัตราดอกเบี้ยสำหรับโครงการ (2) อัตราร้อยละ 1.4 ต่อปี ระยะชำระหนี้ 25 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้เงินต้น 7 ปี ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยสำหรับส่วนค่าจ้างที่ปรึกษาร้อยละ 0.01 ต่อปี โดยมีค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ร้อยละ 0.1 ของวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย ส่วนเงื่อนไขในการจัดซื้อสินค้าและบริการเปิดโอกาสให้กระทำโดยเสรี โดยสามารถจัดซื้อสินค้าและบริการได้จากทุกประเทศ โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ
 
 
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2511 จนถึงปัจจุบันมีวงเงินกู้รวมทั้งสิ้น 2,164,405 ล้านเยน โดยความช่วยเหลือทางการเงินส่วนใหญ่จะมุ่งให้แก่โครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเมือง และพัฒนาชนบท รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์
 
Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Sunday, 16 December 2018 07:12
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM