IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 2.64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 76.28 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 4.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 82.42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซล ลดลง 1.19 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 95.41 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- รัฐมนตรีพลังงานซาอุดิอาระเบีย นาย Khalid Al-Falih ให้คำมั่นว่าซาอุฯ กำลังเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบสู่ระดับ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน จาก 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ต.ค.61 และมีขีดความสามารถในการเพิ่มปริมาณการผลิตสู่ระดับ 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- กลุ่ม OPEC รายงานอัตราความร่วมมือในการควบคุมการผลิตในเดือน ก.ย. 61 ลดลงมาอยู่ที่ 111% เทียบกับเดือน ส.ค. 61 ที่ 129% (เทียบกับปริมาณการผลิตเมื่อ ต.ค. 2559 ก่อนที่ OPEC จะเริ่มมาตรการตั้งแต่เดือน ม.ค. 60 เป็นต้นมา)
- Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ต.ค. 61 เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ก่อน 6.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 422.8 ล้านบาร์เรล โดยที่คลัง Cushing รัฐ Oklahoma ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันดิบ WTI ปริมาณสำรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 30.0 ล้านบาร์เรล
- Bloomberg รายงานบริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย (NOC) ประกาศปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบีย เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สูงกว่าค่าเฉลี่ย 12 เดือน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 950,000 บาร์เรลต่อวัน)
- Baker Hughes Inc. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ (Oil Rig) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2 แท่น มาอยู่ที่ 875 แท่น เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3
- Intercontinental Exchange (ICE) รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ Brent ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุด 23ต.ค. 61 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับ Net Long Positon ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 48,333 สัญญา อยู่ที่ 360,785 สัญญา ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ นาย Steven Mnuchin แถลงว่าแม้ในเดือน พ.ย. 61 นี้ อิหร่านจะยังส่งออกน้ำมันดิบได้อยู่บ้าง แต่สุดท้ายแล้วอิหร่านจะไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้เลย
- Norwegian Petroleum Directorate (NPD) ของนอร์เวย์รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ลดลงจากเดือนก่อน 13% และลดลงจากปีก่อน 9.6% ) เนื่องจากแหล่งน้ำมันมีอายุมาก ทั้งนี้นอร์เวย์มีแนวโน้มผลิตน้ำมันลดลงต่อเนื่อง ก่อนที่แหล่งผลิตขนาดใหญ่ Johan Sverdrup จะเริ่มดำเนินการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562
- กระทรวงพลังงานอินโดนีเซียรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบระหว่างเดือน ม.ค.– ก.ย. 61 อยู่ที่ 775,000 บาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าเป้าหมายที่800,000 บาร์เรลต่อวัน
แนวโน้มราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลง จากนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงเพราะคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดยดัชนี Dow Jones ลดลงถึง 608 จุด ในวันที่ 25 ต.ค. 61 อย่างไรก็ดีราคาน้ำมันดิบปิดตลาดวันศุกร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามตลาดทุนทั่วโลกที่เริ่มทรงตัว หลังเผชิญสภาวะตกต่ำตลอดเดือน ต.ค. 61 นักลงทุนยังคงระมัดระวังและจับตามองผลกระทบ ล่าสุดค่าขนส่งทางเรือ (Freight) ปรับตัวลดลงรุนแรง โดย Harpex Container Index (ดัชนีเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์) ปรับตัวลดลงกว่า 24% จากระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีในเดือน มิ.ย. 61 มาอยู่ที่ 516 จุด เตือนว่าการค้าทั่วโลกชะลอตัว อย่างไรก็ตามตลาดน้ำมันยังมีแรงสนับสนุนจากด้านปัจจัยพื้นฐาน อาทิสัปดาห์ล่าสุดจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แต่นักวิเคราะห์มองว่าเป็นผลจากประสิทธิภาพที่ลดลง บังคับให้ผู้ผลิตต้องขุดเจาะเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับปริมาณการผลิต อีกทั้งในแหล่ง Permian Basin จำนวนหลุมที่ถูกขุดแต่ยังไม่ทำการผลิต (Drilled but Uncompleted : DUC) เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ บ่งชี้ว่าปัญหาคอขวด (Bottleneck) ของระบบท่อขนส่งน้ำมันดิบยังคงไม่คลี่คลาย ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านกำลังจะถึงเส้นตายที่จะมีผลในวันอาทิตย์ที่ 4 พ.ย. นี้ ล่าสุดอิหร่านเริ่มขายน้ำมันดิบในรูปแบบหุ้นให้บริษัทเอกชนเพื่อทำการส่งออกแทนบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ก่อนหน้านี้บริษัทเอกชนมีสิทธิ์ที่จะซื้อน้ำมันดิบจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติอิหร่านเพื่อเข้ากลั่นเท่านั้น โดยตั้งแต่เดือน ก.ค. 61 มีผู้ซื้อคิดเป็นปริมาณ 280,000 บาร์เรล จากที่ขายอยู่ในตลาดหุ้นปริมาณ 1.0 ล้านบาร์เรล ซึ่งอิหร่านกล่าวว่าจะเป็นมาตรการตอบโต้การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงมองว่าปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในเดือน พ.ย. 61 ทางด้านเทคนิคสัปดาห์นี้คาดว่า ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 76.0 –81.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 66.0 - 71.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 74.0-79.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงโดย Platts รายงานตลาดน้ำมันเบนซินในเอเชียถูกกดดันจากสภาวะอุปทานล้นตลาด ขณะที่ความต้องการทรงตัว (ล่าสุดบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย Pertamina ออกประมูลซื้อ น้ำมันเบนซินปริมาณ 10-11 ล้านบาร์เรล ในเดือน พ.ย. 61 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ 11 ล้านบาร์เรล) ซึ่งตลาดคาดว่ายังไม่เพียงพอที่จะดูดซับอุปทานส่วนเกิน ประกอบกับโรงกลั่น Persian Gulf Star ระยะที่ 3 ของอิหร่าน (กำลังการกลั่น 120,000 บาร์เรลต่อวัน) เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 61 โดยเบื้องต้นมีแผนเร่งปริมาณการผลิตน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 12 ล้านลิตรต่อวัน (ประมาณ 75,000 บาร์เรลต่อวัน)และโรงกลั่น Yanbu ในซาอุฯ (กำลังการกลั่น 400,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท Yanbu Aramco Sinopec Refining Co. กลับมาเดินเครื่องหน่วย Continuous Catalytic Reformer (CCR: กำลังการผลิต 85,000 บาร์เรลต่อวัน) หลังหยุดดำเนินการเพราะเหตุขัดข้องทางเทคนิค ตั้งแต่เดือน ส.ค. 61 ด้านปริมาณสำรองน้ำมัน International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 980,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 12.1 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบกว่า 1 เดือน อย่างไรก็ตามหน่วยงานศุลกากรของจีน (General Administration of Customs: GAC) รายงานปริมาณส่งออกน้ำมันเบนซินเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 206,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 60 ขณะที่ EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ต.ค. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 4.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 229.3 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบกว่า 10 เดือน ด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 79.0-84.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลง เนื่องจาก บริษัท Nayara Energy ของอินเดียออกประมูลขายน้ำมันดีเซล (กำมะถัน 0.05%) ปริมาณรวม 500,000 บาร์เรล ส่งมอบวันที่ 10-14 พ.ย และ 14-18 พ.ย. 61 และ บริษัท CPC ของไต้หวันออกประมูลขายดีเซล (กำมะถัน 0.001%) ปริมาณ 300,000 บาร์เรล ส่งมอบวันที่ 6-24 พ.ย. 61 ประกอบกับ Platts รายงานเกาหลีใต้ส่งออกน้ำมันดีเซลเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 564,000 บาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17.3 % ) อย่างไรก็ตามหน่วยงานศุลกากรจีนรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดีเซล เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ 257,000 บาร์เรลต่อวัน (ลดลงจากเดือนก่อน 13 %) ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน ด้านปริมาณสำรองEIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ต.ค. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 130.4 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน และ IES รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ต.ค. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 530,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 8.66 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 92.0-97.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล