IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
โดยสาระสำคัญในประกาศดังกล่าว เป็นไปตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2530 ที่ประกาศใช้เมื่อ 30 ธ.ค.2559 ที่กำหนดว่า การตั้งโรงงานในพื้นที่เขต Free Zone จะได้สิทธิลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศ เมื่อตั้งในเขต Free Zone มีเงื่อนไขว่าจะต้องจำหน่ายเพื่อการส่งออก ในกรณีที่ผลิตขอจำหน่ายในประเทศ จะต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) 40% เป็นตัวประกอบของตัวรถยนต์และ สศอ. ได้มอบให้ สถาบันยานยนต์ ทำหน้าที่ตรวจสอบผู้ผลิตชิ้นส่วน (Supplier) ว่าได้ดำเนินตามที่ประกาศกำหนดไว้หรือไม่ เพราะได้สิทธิประโยชน์จากการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ด้วย
ทั้งนี้ เมื่อประกาศใหม่บังคับใช้จะยังคงเงื่อนไขและสิทธิด้านภาษีอากรทั้งหมดไว้ แต่เพิ่มมาตรการ “การตรวจสอบกระบวนการผลิตของค่ายรถยนต์ทุกราย” ที่มีการลงทุนผลิตประกอบรถยนต์ทุกประเภท รวมถึงตรวจสอบ Supplier ด้วย ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ทุกรายที่ลงทุนผลิตประกอบรถยนต์ทั้งหมดที่จะถูกตรวจสอบเริ่มตื่นตัวเกรงจะผิดเงื่อนไข
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โดยเฉพาะค่ายรถยนต์จากฝั่งยุโรปที่ตั้งฐานการผลิตในไทยมาตั้งแต่ปี 2554 เริ่มแสดงความกังวล เนื่องจากตามเงื่อนไขการลงทุน ระบุไว้ว่าบริษัทขอลงทุนประกอบรถยนต์สำเร็จรูป แต่ไม่ได้ประกอบตัวถังและทำสีเอง และระยะเวลาต่อมาพบว่าค่ายรถยนต์ดังกล่าวนำเข้าตัวถังสำเร็จรูป ซึ่งถือเป็นรถยนต์สำเร็จรูปเข้ามา โดยได้รับการลดหย่อนภาษีอากรนำเข้า 80% และอยู่ระหว่างหารือหน่วยงานรัฐทั้งระดับกระทรวง ระดับประเทศ และต่างประเทศให้ สศอ. กลับไปใช้ประกาศเดิม ที่จะตรวจสอบเฉพาะ Supplier เท่านั้น ข้อมูลล่าสุดพบว่า ค่ายรถยนต์รายดังกล่าวมียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายประมาณ 10,000 คัน ราคาขายคันละประมาณ 2 ล้านบาท เท่ากับรัฐสูญเสียอากรที่ต้องจัดเก็บจากการนำเข้ากว่า 20,000 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวสอบถามกรณีดังกล่าวไปยัง นายกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย หนึ่งในนักลงทุนค่ายรถรายใหญ่จากยุโรป ได้รับการยืนยัน ว่าบริษัทดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนอย่างถูกต้องชัดเจน และยังไม่ทราบเรื่องนี้
ที่มา : prachachat.net