Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ภัยพิบัติกระตุ้น ญี่ปุ่นรุดวางโครงสร้างชาร์จไฟด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผู้ผลิตระบบชาร์จไฟยานยนต์ต่างทุ่มเทให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีการนำไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถปลั๊กอินไฮบริด (PHV) มาใช้ในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ภัยพิบัติในช่วงเดือนที่แล้ว ทั้งพายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างมาก ได้ทำให้ผู้ผลิตต่างตื่นตัวและเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และ PHV เป็นแหล่งพลังงานยามฉุกเฉินได้โดยง่าย

หัวหน้าแผนกเทคโนโลยีจากบริษัท DAIHEN Corporation ผู้ซัพพลายอุปกรณ์ด้านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กล่าวว่า เราจะทำตลาดด้วยระบบการแปลงพลังงานงานจากรถยนต์ไฟฟ้า และ PHV ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการกำเนิดพลังงานให้กับอาคารอำนวยความสะดวก 

ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ชาร์จไฟฉุกเฉิน แบตเตอรี่สำรอง และเครื่องปรับกำลังไฟ ซึ่งในยามปกติ จะใช้เป็นแท่นชาร์จไฟยานยนต์ และสามารถแปลงไฟฟ้าจากยานยนต์กลับเข้าใช้ในอาคารสำนักงานหรือศูนย์การค้าได้

นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกใช้วิธีการเติมน้ำมันให้กับ PHV เพื่อใช้ในการปั่นไฟให้กับอาคารได้อีกด้วย และคาดการณ์ว่า จะมีออเดอร์จากผู้ให้ความสนใจเข้ามาจำนวนมากในช่วงไตรมาสแรกปี 2019

อีกรายหนึ่งคือ Nichicon ซึ่งเมื่อครั้งพายุเข้า ได้นำ “Power Mover” ที่อยู่ระหว่างการพัฒนามาให้ภาครัฐยืมใช้ ซึ่งมีคุณสมบัติในการแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากยานยนต์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับครัวเรือนได้

ก่อนหน้านี้ Nichihon ได้เข้าสู่ตลาดระบบพลังงานเนื่องจากภัยพิบัติครั้งใหญ่เมื่อปี 2011 โดยมุ่งไปที่การพัฒนาระบบแบตเตอรี่สำรอง เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ และระบบ V2H (Vehicle to Home) รวมถึงเปิดตัว “Tribrid Energy Storage System” เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ส่วนอีกรายคือ Tsubakimoto Chain ซึ่งมี “Tsubaki eLINK” ระบบสนับสนุนด้านพลังงานด้วยรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานตามโรงงาน แมนชั่น และอาคารสาธารณะกว่า 100 แห่ง ทางบริษัทคาดการณ์ว่า ความต้องการระบบเช่นนี้จะมีเพิ่มขึ้นหลังจากการตื่นตัวในครั้งนี้ และมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเปิดตัวในช่วงไตรมาสแรกของปี 2019

ที่แล้วมา แม้นานาประเทศจะมีความตื่นตัวในเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงการผลักดันจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้นยังคงมีปัญหาจากความไม่เพียบพร้อม ซึ่งคาดการณ์ว่า ในประเทศที่มีภัยพิบัติบ่อยครั้งจะเกิดการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จไฟควบคู่ไปกับระบบไฟฉุกเฉินเช่นนี้อย่างแน่นอน

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Friday, 09 September 2022 09:27
จิราพร เดชปัญญา

Author : เกาะติดและเขียนข่าวเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร ต่างประเทศ สุขภาพ เครื่องสำอาง แฟชั่น เครื่องประดับ จิวเวลรี่ สินค้าและอุปกรณ์ประเภทของใช้ในครัวเรือน ฯลฯ

Latest from จิราพร เดชปัญญา

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM