IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าสภาพแวดล้อมในการขับขี่จะเป็นเช่นไร แผนที่ที่แม่นยำก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ โดยที่ผ่านมา สหรัฐฯ มองว่า Dynamic map เป็นเรื่องที่ล้าหลัง แต่ในอีกด้านหนึ่ง สิ่งนี้ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ
รับมือด้วยเทคโนโลยี
Mr. Yoshiaki Tsuda หัวหน้าวิศวกร Mitsubishi ให้ความเห็นว่า “ข้อแนะนำด้านความปลอดภัยของ NTSB ไม่ใช่เบรก แต่เป็นโอกาสสำหรับเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติ จึงอยากใช้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในการรับมือ” ซึ่ง Mitsubishi ได้ทำการพัฒนาระบบ Dynamic map ขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ” ภายใต้โครงการ “Cross-ministerial Strategic Innovation Promotion Program (SIP)” ที่สำนักงานคณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุน มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
ผลลัพธ์จากโครงการ SIP คือ การก่อตั้งบริษัท Dynamic Map Platform (แขวงมินาโตะ กรุงโตเกียว) โดยมีผู้ร่วมทุนคือ Mitsubishi, Zenrin, และผู้ผลิตยานยนต์รายอื่น ๆ รวม 10 แห่ง มีแผนจัดทำ Dynamic map ของทางหลวงและมอเตอร์เวย์ในประเทศญี่ปุ่น มีระยะทางร่วม 30,000 กม. ให้แล้วเสร็จภายในปี 2018
รอสหรัฐฯ กลับคำ
ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ มีแนวคิดที่ตรงกันข้าม โดยมองว่า Dynamic map เป็นการพัฒนาถอยหลัง ด้วยเหตุที่สหรัฐฯ มีพื้นที่กว้างจนไม่สามารถจัดทำแผนที่ดิจิตอลได้ทั้งหมด และไม่มีสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่รอบทางหลวง ทำให้ผลที่ได้ไม่คุ้มค่าในการลงทุน และมองว่าการลงทุนกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์นั้น คุ้มค่ากว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการจราจร
อย่างไรก็ตาม ข้อแนะนำด้านความปลอดภัยโดย NTSB ของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เช่น ระบบ GPS ไม่สามารถจำแนกทางหลวงที่สร้างไว้เหนือถนนได้ หรือระบบดาวเทียมที่ตรวจสอบทางใต้ดินและทางยกระดับในเขตตัวเมืองจะลดความแม่นยำลงในพื้นที่ที่มีตึกสูง แต่สำหรับ Dynamic map แล้ว นอกจากการจำแนกถนนต่างระดับได้ ยังสามารถตรวจสอบช่องจราจรเมื่อรถวิ่งบนไฮเวย์ โดย Mr. Yoichi Tsugimoto นักวิจัยอาวุโสจาก Honda R&D ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการย่อยของ SIP ได้ให้ความเห็นว่า “เทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 จะสามารถใช้งานจริงก่อนที่ข้อแนะนำด้านความปลอดภัยของ NTSB จะถูกบังคับใช้ในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า”
แสดงคุณค่าสู่ตลาด
การบังคับใช้ข้อแนะนำด้านความปลอดภัยของ NTSB คือ สิ่งที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองว่าอุตสาหกรรมญี่ปุ่นจะสามารถแซงหน้ากระบวนการบังคับใช้นี้ไปได้หรือไม่ ในขณะที่ SIP นั้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบ Dynamic map เพื่อนำไปใช้งานจริง รวมไปถึงบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยและภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ไม่ได้เข้าร่วมในการพัฒนาครั้งนี้
Mr. Seiko Kuzumaki ผู้อำนวยการ SIP และกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยี Toyota กล่าวว่า “ทาง SIP สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น และสมาคมเทคโนโลยียานยนต์ มีความมั่นใจในการแนะนำเทคโนโลยีนี้ออกสู่ตลาดโลก”
ปัจจุบัน Dynamic map อยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อรับรองมาตรฐานไอเอสโอ และเตรียมแนะนำเทคโนโลยีนี้ในระดับนานาชาติ และ Dynamic Map Platform กำลังพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้รองรับการใช้ในงานตรวจสอบและป้องกันภัยพิบัติอีกด้วย ซึ่งหากพิจารณาถึงประโยชน์ Dynamic Map ให้ตลาดเห็นได้ก็จะเป็นการส่งเสริมการลงทุน เปลี่ยนข้อแนะนำด้านความปลอดภัยให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ
ที่มา: Nikkan Kogyo Shimbun