IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
ซึ่งได้มีการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยแก่โครงการวิจัย เรื่อง เครื่องปลูกข้าวแบบใช้ต้นกล้านาโยน ของ นายสมพร หงษ์กง และนายตะวัน ตั้งโกศล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
การทำนาโยน เป็นวิธีการทำนาแบบใหม่ คือการโยนต้นกล้า ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของเกษตรกร เนื่องจากเป็นนวัตกรรมการทำนาที่ช่วยป้องกันปัญหาการเกิดข้าววัชพืช และการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องใช้สารเคมีทุกชนิด ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น นับว่าเป็นทางเลือกใหม่ของการทำนาแบบยั่งยืนและทำให้อาชีพชาวนาเกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น ภูมิปัญญาการทำนาโยนมีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่นและจีน และเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่นาน แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อดีของการทำนาโยนต้นกล้า ซึ่งแตกต่างจากการทำนาดำ หรือนาหว่านน้ำตมที่นิยมกันทั่วไป ทั้งนี้การทำนาโยนทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานต่อโรคพืชและแมลงศัตรูพืชระบาด โดยอาศัยเทคนิคการเพาะปลูกระบบชีวภาพ เน้นปรับปรุงบำรุงดินให้มีคุณภาพมากขึ้น ปรับสภาพแปลงนาข้าวให้โปร่งโล่งแสงแดดส่องถึงผิวดินและน้ำ เพื่อทำให้ระบบนิเวศในนาข้าวอุดมสมบูรณ์
ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องปลูกข้าวแบบใช้ต้นกล้านาโยนแบบที่ปลูกได้ 6 แถว ที่ใช้พ่วงกับรถแทรคเตอร์ สามารถถอนต้นกล้าออกจากถาดและปักดำลงในแปลงได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปลูกข้าวนาโยนได้เป็นแถวและกอ ซึ่งจากเดิมจะใช้วิธีการโยนกล้าขึ้นแล้วให้ต้นกล้าตกลงแปลง ตามแรงโน้นถ่วง ต้นกล้าจะตกกระจัดกระจายตามแปลงนา ซึ่งไม่เป็นแถว บางจุดอาจจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี เพราะมีกอต้นข้าวหนาแน่นจนเกินไป โดยการพัฒนาเทคโนโลยีในงานวิจัยนี้จะประกอบด้วย 1.ระบบการถอนต้นกล้าจากต้นกล้าที่อยู่ในถาดเพาะกล้าแบบถาดหลุม ซึ่งจะมีการถอนต้นกล้าลงไปปักดำในแปลง 2. ระบบเลื่อนตำแหน่งของถาดเพาะกล้าในลักษณะเลื่อนถาดลงเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งแถวและเลื่อนถาดด้านข้างสำหรับเปลี่ยนกลุมที่อยู่ในแถวเดียวกัน เพื่อให้ระบบจับถอนต้นกล้าทำงานในตำแหน่งหลุมของต้นกล้าซึ่งจะทำให้การจับต้นกล้าได้อย่างแม่นยำ 3. ระบบต้นกำลังของรถขับเคลื่อนที่ประกอบไปด้วย ระบบนิวแมติกส์ ระบบไฮดรอลิกส์ ระบบไฟฟ้า และเพลาส่งกำลังซึ่งต้นกำลังนี้จะสามารถทำงานขณะเครื่องขับเคลื่อนบนแปลงนาที่มีสภาพเป็นตม
เครื่องปลูกข้าวแบบใช้ต้นกล้านาโยนที่พัฒนาขึ้นมานี้ สามารถตอบสนองกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เปลี่ยนจากการดำนาเป็นนาโยนซึ่งจะสามารถปลูกข้าวได้เป็นแถว เหมือนนาดำสามารถกำจัดวัชพืชได้ง่าย รวมถึงสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการเกิดโรคระบาดที่เกิดขึ้นในแปลงนา ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรไทยที่จะส่งผลต่อผลผลิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยีสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต