Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
MN-Agri Machinery-Strip-Head

Kubota ชูนวัตกรรม "เกษตรอัจฉริยะ" สร้างแบรนด์สู่ระดับโลก

“บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด” ลุยลงทุนต่อเนื่องปี 2563 ชูโครงการ “เกษตรอัจฉริยะและเกษตรอัตโนมัติ” นำนวัตกรรมล้ำสมัยหนุนอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและผลกำไร มุ่งมั่นดันแบรนด์ “Kubota” สู่ผู้นำด้านเครื่องจักรกลการเกษตรคุณภาพระดับโลก “Global Major Brand (GMB)” 

นายทาคาโนบุ อาซึมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ทางบริษัทคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ญี่ปุ่น ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อช่วยบริหารจัดการฟาร์ม เพิ่มคุณภาพผลผลิตและลดต้นทุน ให้การทำการเกษตรง่ายขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการเกษตรทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่อง “เกษตรอัจฉริยะและเกษตรอัตโนมัติ” คูโบต้าจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้รองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีผลประกอบการกว่า 54,000 ล้านบาท และในปี 2563 นี้ บริษัทฯคาดว่าจะเติบโตขึ้นอีก 10% โดยมุ่งมั่นให้ “คูโบต้า” เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและอะกริโซลูชั่น ด้วยการพัฒนาภาคเกตษรและภาคอุตสาหกรรมด้วยความรับผิดชอบก่อนส่งมอบถึงมือลูกค้า จึงมั่นใจในศักยภาพของผลิตภัณฑ์ “คูโบต้า” ว่าเป็นผู้นำนวัตกรรมการเกษตรระดับภูมิภาคอาเซียน

นโยบายของ คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น มุ่งมั่นเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้แบรนด์ "คูโบต้า" เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก หรือ “Global Major Brand (GMB)” ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและอะกริโซลูชั่นให้กับลูกค้าที่มีทั่วโลก พร้อมเป็นองค์กรที่ตอบแทนสังคม

"ไม่เพียงแต่จะมุ่งพัฒนาภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของไทยและอาเซียน แต่ยังคำนึงถึงความรับผิดชอบที่จะส่งมอบสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรของอาเซียนอย่างแท้จริง” นายทาคาโนบุ กล่าว

ล่าสุด บริษัทฯ ได้เพิ่มงบฯลงทุน เพื่อพัฒนานวัตกรรม 300 ล้านบาท แบ่งเป็นพัฒนาคูโบต้าฟาร์ม (KUBOTA Farm) โรงงานนวนคร และอมตะซิตี้ โดยมุ่งเน้นปรับเทคโนโลยีให้สอดรับกับกลุ่มพืชไร่ 150 ล้านบาท และอีกส่วนจะใช้พัฒนาคูโบต้าฟาร์มที่ จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่ 220 ไร่ ทั้งหมด 9 โซน เพื่อเป็นฐานการเรียนรู้เกษตรกรครบวงจรของไทยและอาเซียน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ปี 2563 นี้

โดยจากที่สยามคูโบต้ามุ่งวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยที่เริ่มขาดแคลนแรงงาน ส่งให้ปีที่ผ่านมามียอดขาย 54,000 ล้านบาท ขยายตัว 10% จากปีก่อน ซึ่งเป็นตลาดในประเทศ 60% มูลค่า 33,000 ล้านบาท และตลาดส่งออก 40% ไปยังตลาดหลักคือ อาเซียน อินเดีย และออสเตรเลีย มูลค่า 21,000 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มในปี 2563 นี้ บริษัทฯ มองว่าเกษตรกรทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่อง เกษตรอัจฉริยะและเกษตรอัตโนมัติ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จึงได้นวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยบริหารจัดการฟาร์ม เพิ่มคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุน ทำให้คูโบต้าคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขาย “รถแทรกเตอร์” จาก 35,000 คัน เป็น 38,000 คันได้ ซึ่งจะทำให้ภาพรวม รายได้ขยายตัว 5-10% จากภาพตลาดรวมเครื่องจักรการเกษตรมูลค่ารวม 60,000-70,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะเน้นเพิ่มสัดส่วนการส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดในประเทศ ส่วนสถานการณ์ปัญหาการระบาดของโควิด19 ในตอนนี้ ในตลาดจีนและอื่นๆ ยังไม่ส่งผลกระทบ ต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากเกษตรกรยังใช้เครื่องจักรกลอยู่ต่อเนื่อง

“แม้ว่าปีที่ผ่านมาสงครามทางการค้าส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ราคาสินค้าเกษตรและราคาผลผลิตลดลง ส่งผลให้ภาพรวมของภาคการเกษตรของไทยมีการผันผวน แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร (GDP ภาคเกษตร) ยังเติบโตขึ้น 0.5% โดยมีพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ที่สำคัญคูโบต้าได้ร่วมกับภาครัฐแก้ไขปัญหาโดยการออกนโยบายด้านสินเชื่อ มาตรการประกันรายได้และให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในการซื้อเครื่องจักรเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนทำให้เป็นอีกปัจจัยบวกช่วยปั๊มรายได้ของเรา” นายทาคาโนบุ กล่าว

ด้าน นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาหลายอย่างที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง แต่จีดีพีภาคเกษตรเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 0.5% จากพืชเศรษฐกิจหลัก อาทิ ข้าวและข้าวโพด และภาครัฐได้มีการออกนโยบายด้านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อประกันรายได้ สำหรับการซื้อเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวเพื่อแก้ใขปัญหาแรงงานขาดแคลน ทำให้แนวโน้มตลาด “เกษตรอัจฉริยะ” เติบโตขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ทางบริษัทฯ จึงได้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนภาคเกษตร อาทิ เทคโนโลยี IoT เซ็นเซอร์, นวัตกรรมการถ่ายภาพสำหรับเกษตรกรแบบ Real Time เพื่อให้ติดตามผลของพืชที่ปลูก หากเกิดปัญหาจะได้แก้ใขสถานการณ์ได้ และระบบบริหารจัดการเครื่องจักร เช่น ระบบ Kubota Intelligence Solutions (KIS) ที่นำจีพีเอสมาช่วยบริหารจัดการเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ รวมถึงนำโดรนมาใช้ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ทางการเกษตรแทนแรงงานคน และยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรจัดโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมเกษตรกรระดับนานาชาติ (Global Ag Tech Acceleration Program) อีกด้วย

“เราได้เดินหน้าจัดทำโครงการเกษตรปลอดการเผา ที่ร่วมมือกับภาครัฐลดปัญหาที่เกิดจากการเผาของภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการเกษตรปลอดนาหว่าน เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรนาแปลงใหญ่ทำเกษตรทำนาด้วยวิธีประณีตด้วยการหยอดเมล็ดข้าว ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ด้วยการเปิดโครงการ “KUBOTA Farm” เต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการเกษตรกรรมครบวงจร เพื่อเป็นฟาร์มสร้างเกษตรสมัยใหม่ เพื่อการแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถในระดับภูมิภาคอาเซียนให้เติบโตอย่างยั่งยืน”

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไปสายงานขายการตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า กลยุทธ์การตลาดของบริษัทฯ ในปี 2563 นี้ คูโบต้าจะมุ่งเน้นให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการด้วยการมองผ่านมุมมองของลูกค้า และใช้ Big Data สร้างเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายและศูนย์บริการกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้รู้สึกว่าคูโบต้าเสมือนเพื่อที่คอยเคียงข้าง (On Your Side) สร้างความแข็งแกร่งและเคียงคู่เกษตรกรไทย

บริษัทได้นำแนวคิด Ommi Channel มาใช้ในระบบการจัดจำหน่ายเพื่อเชื่อมโยงลูกค้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยการเชื่อมโยงสื่อออนไลน์เข้ากับออฟไลน์ เน้น Digital Marketing และช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ตลอดจนพันาแอปพลิเคชั่นเวอร์ชั่นใหม่ อาทิ คูโบต้า สมาร์ท แอบพลิเคชั่น ให้สามารถเข้าดูข้อมูลสินค้าและกิจกรรมโปรโมชั่นต่างๆ และมี KAS Crop Calender ปฎิทินเพาะปลูกที่ครอบคลุม ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ที่สามารถสั่งซื้ออะไหล่ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซด์ของบริษัทฯ ได้เลย

รถดำนาคูโบต้า ติดตั้งระบบ GPS

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้นำข้อมูลต่างๆ มาต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริหาร ให้แม่นยำและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ด้วยการนำเสนอนวัตกรรมเกษตรใหม่ๆ ที่ครอบคลุมการทำเกษตรในกลุ่มพืชที่หลากหลายมากขึ้น ให้เกษตรกรสามารถเพิ่มรายได้มากกว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยว รวมถึงมีการออกแคมเปญการตลาด “Best Companinon” เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของเกษตรกรอีกด้วย

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Sunday, 21 March 2021 01:18
บัญชา สมพงษ์สวรรค์

Author : เกาะติดเรื่องราวต่างประเทศ, การท่องเที่ยวต่างแดน, ข่าวในญี่ปุ่น, ข่าวในเกาหลี, สายการบิน, ศิลปะวัฒนธรรม, Likestyle, ไอเดียใหม่, เทคโนโลยีและสินค้าใหม่ๆ, ต่างชาติมองไทย ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM