IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากการขยายตัวด้านรายได้และจำนวนชนชั้นกลางในจีน ความนิยมใช้บริการสปาไทยของนักท่องเที่ยวและวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้นในยุคดิจิทัล
นอกจากธุรกิจสปาในประเทศจะขยายตัวจากการปรับรูปแบบการให้บริการและการขยายสาขาแล้ว ยังสามารถคว้าโอกาสจากจุดแข็งของผู้ประกอบการไทยด้านคุณภาพการบริการ รูปแบบการทำสปาที่มีเอกลักษณ์ รวมถึงองค์ความรู้ด้านสมุนไพร โดยหลายประเทศในอาเซียนถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ ในการเลือกประเทศที่จะเข้าลงทุน อีไอซีแนะนำให้ผู้ประกอบการพิจารณาอัตราการเติบโตของรายได้ต่อหัวประชากรควบคู่กับการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาลูกค้ากลุ่มเดียวมากเกินไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ผันผวนตามฤดูกาลและอ่อนไหวต่อเหตุการณ์ทางลบ เช่น เหตุการณ์ทางการเมือง โรคระบาด หรืออุทกภัยมากกว่าคนท้องถิ่น
อีไอซีมองว่ากัมพูชาและเวียดนามเหมาะกับการเข้าไปลงทุนธุรกิจสปา โดย IMF คาดการณ์ว่ารายได้ต่อหัวของประชากรกัมพูชาจะขยายตัวเฉลี่ย 7.5% ต่อปี ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ขยายตัวเฉลี่ย 29% ต่อปี ในช่วงปี 2013-2017 แตะระดับ 1.2 ล้านคน และมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2018 ทั้งนี้ เมืองที่น่าลงทุนคือพนมเปญและเสียมราฐ ซึ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของกัมพูชา นอกจากนี้ ในเดือน ส.ค.2017 รัฐบาลกัมพูชาได้อนุมัติข้อเสนอการลงทุนจากบริษัทเอกชนของจีนเพื่อก่อสร้างสนามบินในเสียมราฐ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวของกัมพูชาในอนาคต
ในขณะที่เวียดนามมีจุดที่น่าสนใจคือภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตรุดหน้ากว่าประเทศอื่นในกลุ่ม CLMV จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ขยายตัวเฉลี่ย 23% ต่อปี ระหว่างปี 2013-2017 จนแตะระดับ 4 ล้านคน ในขณะที่จำนวนชนชั้นกลางก็คาดว่าจะขยายตัวจนมีจำนวน 33 ล้านคน ในปี 2020 จากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตในระดับสูง ส่งผลให้เวียดนามมีฐานลูกค้าคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวจีนที่ใหญ่กว่าประเทศอื่น การลงทุนในเมืองใหญ่อย่างดานัง ฮานอย และโฮจิมินห์จึงมีความน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีรูปแบบการทำสปาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งอาจส่งผลให้รูปแบบการทำสปาจากต่างประเทศไม่ได้รับความนิยมมากนักจากคนท้องถิ่น ผู้ประกอบการอาจต้องปรับรูปแบบการทำสปาแบบสากลให้เหมาะสมกับคนท้องถิ่นเพื่อให้ตัดสินใจใช้บริการได้ง่ายขึ้น
ในปัจจุบัน พบว่าเริ่มมีการลงทุนจากกลุ่มธุรกิจสปาต่างประเทศในกัมพูชาและเวียดนามแล้ว โดยในกัมพูชาส่วนใหญ่เป็น Hotel spa ที่บริหารโดยโรงแรมระดับสากล เช่น Le Méridien Spa หรือ So SPA by Sofitel แต่ยังไม่มี Day spa ที่มีมาตรฐานสากลเปิดให้บริการมากนัก ขณะที่ในเวียดนามพบว่ามีการลงทุนจากกลุ่มธุรกิจสปาขนาดใหญ่อย่าง Six Senses รวมถึง Le SPA ที่บริหารโดย AccorHotels ก็เริ่มเปิดให้บริการในโรงแรมหลายแห่งเช่นกัน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสปาจากไทยอาจสร้างความแตกต่างโดยใช้จุดเด่นด้านรูปแบบการทำสปาที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย เช่น การนวดแผนไทย การนวดประคบ การใช้สมุนไพรไทย รวมถึงการสร้างแบรนด์โดยอิงกับเอกลักษณ์ความเป็นไทย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญของการขยายธุรกิจสปาในกัมพูชาและเวียดนามคือการเปลี่ยนงานของแรงงานท้องถิ่นในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการสาขา ผู้จัดการฝ่าย/แผนก ซึ่งมักจะเปลี่ยนงานบ่อยครั้งเมื่อมีโอกาสได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น เนื่องจากกฎหมายของทั้งสองประเทศกำหนดสัดส่วนการจ้างงานแรงงานท้องถิ่นของบริษัทต่างชาติ แต่จำนวนแรงงานท้องถิ่นที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางในทั้งสองประเทศยังมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจสปาที่เติบโตโดยการขยายสาขา ผู้ประกอบการจึงควรหาวิธีแก้ไขปัญหานี้หากต้องการรุกตลาดในทั้งสองประเทศ
โดย ปุลวัชร ปิติไกรศร
ที่มา : https://www.posttoday.com/aec/news/566459