IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
โดยตัว MOSFET นี้ (Metal–Oxide–Semiconductor Field-Effect Transistor / ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าแบบใช้ออกไซด์โลหะ) ใช้แผ่นทองแดงแบบบางเป็นขั้วต่อขา ทำให้สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 140 แอมป์ด้วยขนาดเพียง 5*6 มม. จึงสามารถนำไปใช้ในการลดน้ำหนักรถยนต์และลดพื้นที่ในการติดตั้งชิ้นส่วน โดยตั้งเป้าว่าหลังจากปี 2020 จะมียอดการผลิตถึง 10 ล้านหน่วยต่อเดือน เพื่อรองรับการนำไปใช้ในเครื่องจักรต่างๆ ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน
โดย MOSFET ที่จะเริ่มผลิตในปี 2018 นี้ เป็น MOSFET สำหรับรถยนต์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการทำหน้าที่เป็นรีเลย์เพื่อป้องกันการรั่วไหล สลับแรงดัน และตัดวงจรของกระแสไฟฟ้าให้แก่พวงมาลัยไฟฟ้า(EPS) ปั๊มน้ำ วงจรมอเตอร์ และกล่อง ECU
หากเทียบ “Copper Clip” ขั้วต่อขาแบบทองแดงที่ใช้ใน MOSFET ตัวใหม่นี้ กับขั้วต่อขาแบบลวดอลูมิเนียมในแบบเดิม จะพบว่าด้วยการขยายพื้นที่ในการกระจายกระแสไฟฟ้าที่มากขึ้น ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ดีขึ้น ซึ่ง MOSFET ขนาด 5*6 มม.ในแบบเดิมสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้เพียง 80 แอมป์เท่านั้น อีกทั้ง MOSFET ตัวใหม่นี้ ยังมีความหนาอยู่ที่ 1 มม. ซึ่งเป็นเพียง 1 ใน 4 ของความหนาเดิมเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนาและผลิตขั้วต่อแผ่นทองแดงแบบเดียวกันในขนาด 10*15 มม. ที่รองรับกระแสไฟฟ้าได้ 200 แอมป์ในปีถัดไป และมีแผนจะนำเสนอให้กับผู้ผลิตนำไปใช้ในระบบจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในเดือนตุลาคมนี้
Shindengen ได้พัฒนา “Copper Clip” นี้เพื่อใช้กับไดโอดหลัก สำหรับ MOSFET ในอุตสาหกรรมยานยนต์ จะถูกนำมาทดแทนรีเลย์แบบดั้งเดิมและรองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต อีกทั้งยังมีแผนพัฒนาต่อยอดสำหรับใช้ในการผลิตหุ่นยนต์ เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรม และเครื่องใชไฟฟ้าในครัวเรือนอีกด้วย ซึ่งนอกจากบริษัท Shindengen แล้ว บริษัทอื่นๆ อย่าง Infineon Technologies, Renesas Electronics, และ Toshiba เอง ก็ได้เข้าแข่งขันในตลาดนี้เช่นกัน
ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun