IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
เซินเจิ้น, จีน : การประชุม 2019 Shenzhen Smart City Forum with International Friendship Cities ได้เปิดฉากขึ้นเมื่อวานนี้ในหัวข้อ “กรุยทางสู่อนาคตอันสดใสสำหรับเมืองอัจฉริยะ” โดยเจ้าหน้าที่เมืองเชินเจิ้น ผู้บริหารจากหัวเว่ย ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจาก UN-Habitat คณะผู้แทนจากเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะ ตลอดจนองค์กรไฮเทคอื่น ๆ ต่างมารวมตัวกันในการประชุมนี้ เพื่อแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติใหม่ล่าสุด การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความร่วมมือในการสร้างเมืองดิจิทัลอัจฉริยะ
Ai Xuefeng
ผู้นำเมืองใหญ่ทั่วโลกรวมตัวกันที่เซินเจิ้น เพื่อร่วมสำรวจอนาคตไปด้วยกัน
Ai Xuefeng รองนายกเทศมนตรีเมืองเซินเจิ้น ได้เป็นเจ้าภาพพิธีเปิดการประชุมร่วมกับ Wang Weizhong เลขาธิการคณะกรรมการเทศบาลเซินเจิ้นแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน พร้อมด้วย Xie Yuan รองประธานสมาคม Chinese People's Association for Friendship with Foreign Countries และ Frank Ross ในฐานะลอร์ดโพรโวสต์แห่งเอดินบะระ ซึ่งได้ขึ้นแถลงระหว่างเปิดการประชุม สำหรับวิทยากรรับเชิญ ได้แก่ Guo Ping ประธานหมุนเวียนของหัวเว่ย Ugo Valenti ซีอีโอของ Smart City Expo World Congress และ Rui Costa dos Santos ผู้ว่าการรัฐบาเฮีย ประเทศบราซิล
Wang Weizhong (แฟ้มภาพ)
Wang Weizhong เลขาธิการคณะกรรมการเทศบาลเซินเจิ้นแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับผู้ร่วมการประชุมว่า “ปีนี้เป็นปีที่70 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และยังครบรอบ 40 ปีของการก่อตั้งเมืองเซินเจิ้นด้วย เซินเจิ้นเป็นเมืองที่สะท้อนความสำเร็จทางประวัติศาสตร์ของจีน โดยทำหน้าที่เป็นหน้าต่างให้ทั่วโลกมองเห็นจีนได้
เราขอใช้โอกาสนี้ในการกระชับมิตรกับเพื่อนใหม่ด้วยใจเปิดกว้าง และร่วมกันแบ่งปันสติปัญญาและพละกำลังเพื่อประชาคมโลกต่อไป
Guo Ping, presidente rotativo da Huawei Rotating Chairman
Guo Ping ประธานหมุนเวียนของหัวเว่ย Ugo Valenti ซีอีโอของ Smart City Expo World Congress กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ ‘สร้างโมเดลมาสโลว์เพื่อเมืองอัจฉริยะ’ ('Building a Maslow Model for Smart Cities) กล่าวว่า “เราขอใช้โอกาสนี้ในการกระชับมิตรกับเพื่อนใหม่ด้วยใจเปิดกว้าง และร่วมกันแบ่งปันสติปัญญาและพละกำลังเพื่อประชาคมโลกต่อไป หัวเว่ยอุทิศตนต่อการวางรากฐานดิจิทัลเพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะ ที่เปิดโอกาสสู่การบูรณาการ สำรวจ วิเคราะห์ และแบ่งปันข้อมูล โดยอาศัยการเชื่อมต่อที่ครอบคลุมทุกหนแห่ง แพลตฟอร์มดิจิทัล และเทคโนโลยีอัจฉริยะแบบแพร่หลาย”
ที่สำคัญไปกว่านั้น เราได้พัฒนาสมองดิจิทัลสำหรับเมืองต่าง ๆ ร่วมกับพันธมิตรแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างระบบนิเวศรวมที่ให้ผลประโยชน์ร่วมกัน สมองที่ว่านี้จะนำเสนอแนวทางที่เหนือกว่า
“เพื่อช่วยให้เมืองทั้งหลายตัดสินใจอย่างมีข้อมูลรองรับ ทั้งยังจะเปิดโอกาสให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ การขนส่ง และการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยสามารถเดินหน้ายกระดับสู่ดิจิทัล โดยเราหวังที่จะสร้างเมืองอัจฉริยะ ที่มาพร้อมกับการบริหารจัดการที่ล้ำสมัย ให้คุณประโยชน์มากขึ้นแก่ผู้อยู่อาศัย และพัฒนาอุตสาหกรรมให้รุ่งเรือง”
Ugo Valenti
ขณะที่ Ugo Valenti กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ ‘โลกใบใหม่ของเมืองอัจฉริยะ’ (A New World of Smart Cities) โดยระบุว่า “นวัตกรรมเทคโนโลยี เช่น 5G, IoT, AI และคลาวด์ กำลังเข้ามาพลิกโฉมการปกครองและควบคุมดูแลเมือง การอาศัยโมเดลความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (Public-Private-People Partnerships) นั้น จะทำให้เมืองอัจฉริยะมีกระบวนการตัดสินใจที่เปิดกว้างโปร่งใส และก่อให้เกิดโลกใบใหม่ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง”
การอภิปรายระดับสูงว่าด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งยกระดับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยการออกแบบขั้นสูง
ไฮไลต์ของพิธีเปิดงานคือ การอภิปรายระดับสูง ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานรัฐบาล องค์กรธุรกิจ และแวดวงวิชาการ ที่มาร่วมกันสำรวจเทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมหารือถึงวิธีการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ICT ของเมืองโดยใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสาธารณะ ตลอดจนแนวทางในการยกระดับการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่ สวัสดิการสาธารณะ และเศรษฐกิจด้วยการใช้บริการต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อนำไปสู่การยกระดับเมืองอัจฉริยะด้วยเศรษฐกิจอัจฉริยะ
Yan Lida
Yan Lida ประธานกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ (Huawei Enterprise BG) กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นหนึ่งในบรรทัดฐานสำหรับการเข้าถึงระดับความเป็นอัจฉริยะของเมือง โดยเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตจะต้องประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐาน 5 แพลตฟอร์มด้วยกัน คือ คลาวด์, IoT, คลังข้อมูลขนาดใหญ่ (data lake), AI และเครือข่ายกล้องวงจรปิด แพลตฟอร์มทั้งห้านี้จะวางพื้นฐานให้กับเราในการบรรลุเป้าหมายการเชื่อมต่อที่ครอบคลุมทุกหนแห่ง เทคโนโลยีอัจฉริยะแบบแพร่หลาย และระบบ ICT ที่ผสานเป็นหนึ่งเดียว หัวเว่ยใช้คลาวด์เป็นพื้นฐานในการผนวกรวมเทคโนโลยี ICT รูปแบบใหม่ ๆ อาทิ AI, IoT, บิ๊กดาต้า, การสื่อสารแบบผสมผสาน (converged communications), วิดีโอ และ GIS เพื่อสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ครบวงจร"
"แพลตฟอร์มนี้จะมอบการสนับสนุนทางเทคนิคให้แก่ลูกค้าทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรธุรกิจ โดยช่วยให้ลูกค้าจัดการกับปัญหาทางเทคนิคที่ซับซ้อนได้ง่าย นอกจากนี้ หัวเว่ยได้สร้าง OpenLabs จำนวน 12 แห่งทั่วโลก เพื่อคิดค้นนวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรโดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก การสร้างเมืองอัจฉริยะเป็นกระบวนการที่ยาวนานและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แพลตฟอร์มดิจิทัลของหัวเว่ยจะทำให้เมืองต่าง ๆ มีชีวิต ทั้งยังจะก่อให้เกิดแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ซึ่งจะเติบโตขึ้นผ่านทางการทำซ้ำ และนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในท้ายที่สุด" Yan Lida กล่าวเพิ่มเติม
Atsushi Koresawa ผู้อำนวยการสำนักงาน UN-Habitat ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "หนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ปี2030 ของสหประชาชาติ คือเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน เราหวังว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย SGD ผ่านทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เราจะเผชิญหน้ากับความท้าทายจากการสร้างเมืองอัจฉริยะด้วยความมั่นใจ และขณะเดียวกันก็จะเปิดรับศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัด จากมุมมองของ UN นั้น ความร่วมมือระหว่างประเทศมีความสำคัญ และงานในวันนี้ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ดีมาก ๆ ที่เมืองต่าง ๆ จะได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน"
รัฐบาลเมืองเซินเจิ้นเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ขึ้น และสำนักงานกิจการต่างประเทศเซินเจิ้นเป็นผู้จัดงานร่วมกับ หัวเว่ย ในฐานะผู้จัดหาโซลูชั่นSmart City and Safe City ชั้นนำระดับโลก