December 22, 2024

Tetra Pak เปิดโครงการ “เก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก” ตั้งเป้าสร้างบ้านจากผลิตภัณฑ์รีไซเคิลเพื่อผู้ประสบภัย

เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำด้านโซลูชันการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจเพื่อเปิดตัวโครงการ “เก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก” ซึ่งต่อยอดจากโครงการหลังคาเขียวฯ ที่สิ้นสุดวาระดำเนินการในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

โครงการเก็บกล่องสร้างบ้านฯ ได้วางเป้าหมายจัดเก็บและรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วเพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในหมวดวัสดุก่อสร้างสำหรับสร้าง “บ้าน” ให้กับผู้ประสบภัย โดยยังคงร่วมกับพันธมิตรหลักอย่างมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กลุ่มบริษัท บีเจซี บิ๊กซี บริษัท 360 องศา เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (รายการทีวี 360 องศา) และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยพันธมิตรรายใหม่ ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)   และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่จะมาร่วมสนับสนุนการขยายช่องทางการรับกล่องเครื่องดื่ม ซึ่งจะมีการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้ประสบภัย ผ่านทางการทำงานร่วมกับสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โดยมีบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) (สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3) เข้าร่วมในการสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการฯ ไปยังประชาชนทั่วประเทศ

“The Green Shelter project คือโครงการนต่อความสำเร็จของโครงการหลังคาเขียวฯ ที่นำกล่อง UHT มารีไซเคิลเป็นวัสดุก่อสร้างที่มากกว่า "แผ่นหลังคา" อาทิ ไม้เทียมสังเคาะห์อีโค่ อีโค่บริด วงกบประตู เพื่อช่วยสร้าง "บ้าน" เพื่อมอบให้ประชาชนที่ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยจากภัยธรรมชาติ หีอกรณีต่างๆ ในนามของโครงการ

ตลอดระยะเวลา 12 ปี กับความสำเร็จของโครงการหลังคาเขียวฯ ที่รวบรวมกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วได้มากกว่า 2,500 ตัน และนำไปผลิตเป็นแผ่นหลังคา เพื่อมอบให้กับผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติและชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 68,000 แผ่นไปแล้วนั้น ในวันนี้ โครงการเก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก หรือ “The Green Shelter project for Friends in Need (of “Pa”) Volunteers Foundation”  จะเริ่มสานต่อความสำเร็จดังกล่าว พร้อมเปิดรับพันธมิตรที่จะมาสนับสนุนโครงการให้สามารถขยายช่องทางการรับกล่องเครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มปริมาณการรวบรวมกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วจากอาสาเก็บกล่องทั่วประเทศ กลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในหมวดวัสดุก่อสร้าง อาทิ แผ่นหลังคา ไม้เทียมสังเคราะห์อีโค่ อีโค่บริค วงกบประตู และอื่น ๆ ที่สามารถนำมาสร้าง “บ้าน” เพื่อมอบให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยจากภัยธรรมชาติ หรือกรณีต่างๆ ในนามของโครงการฯ

คุณฐิติวัฒน์ ว่องวรรณกุล กรรมการและผู้จัดการ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย

นายฐิติวัฒน์ ว่องวรรณกุล กรรมการและผู้จัดการ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กล่าวว่า “มูลนิธิฯ ของเรานั้น มีภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ การทำงานร่วมกับภาคเอกชนทำให้เราสามารถสนับสนุนภารกิจสำคัญนี้ได้มากยิ่งขี้น โดยโครงการหลังคาเขียวฯ ที่ผ่านมา ได้ช่วยผู้ที่เดือดร้อนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย และเมื่อสามารถเพิ่มการช่วยเหลือจากหลังคามาเป็นวัสดุจำเป็นอื่นๆ ของบ้าน กับโครงการใหม่ “เก็บกล่องสร้างบ้านฯ” จะทำให้เรามีศักยภาพในการช่วยพี่น้องไทยของเราให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความทุกข์นี้ได้ มูลนิธิฯ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สานต่อความมุ่งมั่นนี้ร่วมกันกับเต็ดตรา แพ้ค และได้เห็นความร่วมมือของเราขยายไปสู่พันธมิตรรายอื่นๆ ที่เข้ามาช่วยกันมากขึ้น แสดงถึงความสามัคคีของพวกเราประกอบกับความพยายามร่วมกันของผู้คนในสังคมที่เข้าร่วมกับโครงการนี้ ด้วยในการเก็บกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วเพื่อนำไปรีไซเคิล”

กับโครงการใหม่ “เก็บกล่องสร้างบ้านฯ” จะทำให้เรามีศักยภาพในการช่วยพี่น้องไทยของเราให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความทุกข์นี้ได้ มูลนิธิฯ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สานต่อความมุ่งมั่นนี้ร่วมกันกับเต็ดตรา แพ้ค

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของเต็ดตรา แพ้ค เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำ ซึ่งการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้นขึ้นอยู่กับห่วงโซ่คุณค่าการรีไซเคิลที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการวางแผนงานและกิจกรรมที่ทำให้กล่องเครื่องดื่มใช้แล้วได้รับการรวบรวม คัดแยก และนำไปรีไซเคิลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเราได้ริเริ่มโครงการเพื่อรณรงค์จัดเก็บและรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มในหลากหลายรูปแบบและพื้นที่ในประเทศไทย

นางสาวรัตนศิริ ติลกสกุลชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด

“เราตระหนักดีว่าความสำเร็จของการทำงานในโครงการต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย สำหรับโครงการเก็บกล่องสร้างบ้านฯ เราหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกภาคส่วนเหมือนเช่นเคย โดยเฉพาะกลุ่มพลังอาสาเก็บกล่องจากทั่วประเทศที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของโครงการฯ และขอขอบคุณพันธมิตรองค์กรต่าง ๆ ทุก ๆ ท่านเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมกับเราในครั้งนี้” นางสาวรัตนศิริ ติลกสกุลชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว  “นอกไปจากกลุ่มพันธมิตรหลัก ด้วยความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจรีไซเคิลอย่าง บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด บริษัท รีไซโคเอ็กซ์ จำกัด บริษัท แอดวานซ์ แมท จำกัด และบริษัท เอ็ม.บี.เจ.เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ทำให้เราสามารถนำกล่องเครื่องใช้แล้วกลับมารีไซเคิลให้เป็นวัสดุก่อสร้างที่หลากหลายและมีคุณภาพ สามารถใช้งานได้จริง เพื่อส่งต่อผลิตภัณฑ์เพื่อบ้านใหม่ของพี่น้องคนไทยด้วยกัน”

การร่วมกันของพันธมิตรหลัก  และผู้สนับสนุน รวมทั้งสิ้น 14 ราย ในโครงการ “เก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก” จะมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ไปจนถึง 31 สิงหาคม 2568 โดยผู้สนใจสามารถร่วมบริจาคกล่องเครื่องดื่มใช้แล้ว ให้กับโครงการเก็บกล่องสร้างบ้านฯ ได้ที่จุดรับกล่องในห้างค้าปลีกบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์สาขาใหญ่ทุกสาขาทั่วประเทศ ห้างมินิบิ๊กซี 10 สาขานำร่องในสถานีบริการน้ำมันบางจากในกรุงเทพมหานคร  รวมไปถึงศูนย์การค้าเซ็นทรัลและอาคารสำนักงานในเครือทั่วประเทศ โดยจะเริ่มนำร่อง 18 แห่ง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

ดูรายละเอียดที่ www.Facebook.com/Thaigreenshelter  เพื่อสมัครเป็นอาสาเก็บกล่อง โดยสอบถามและติดต่อโครงการได้ที่ 02 -747 8881 อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Tuesday, 30 August 2022 08:35
ปรียานุช ทองไธสง

Author : เกาะติดข่าวการเงิน การธนาคาร หนี้ กองทุน พันธบัตร ตราสาร ทองคำ การประกันชวิต การประกันภัย การลงทุน อัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย ภาษี การบริหารการเงินและการลงทุน ฯลฯ

MNr-วิถีพอเพียง-Sidebar1
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM