December 18, 2024

สปสช. และเครือข่ายคลินิกโรคหืด มุ่งเน้นสร้างเครือข่ายรักษา

สปสช. และเครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายการรักษาที่ได้มาตรฐาน ไปสู่สถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วยโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ – กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy Asthma and COPD Clinic: EACC) นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่าย EACC เข้าร่วมประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 15 เครือข่ายคลินิกโรคหืดฯสานต่อปณิธานที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ในการทำให้ผู้ป่วยโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทยสามารถเข้าถึงบริการการรักษาโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่สถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จนถึงโรงพยาบาลศูนย์

โดยมุ่งเน้นความสำคัญในการรักษาแบบองค์รวมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น และด้วยสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยิ่งได้รับผลกระทบ ดังนั้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขระดับประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ปี 2563 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 ของประชากรโลก 

นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดในงานประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 15 ว่า แผน 20 ปีกระทรวงสาธารณสุข องค์กรแห่งความเป็นเลิศ 4 ด้าน คือ เป็นเลิศด้านสุขภาพดี (P&P Excellence) เป็นเลิศด้านบริการดี (Service Excellence) เป็นเลิศด้านคนดี (People Excellence) และเป็นเลิศด้านบริหารดี (Governance Excellence) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ทั้งนี้กระทรวงฯ เล็งเห็นว่า โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD & Asthma) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCD จากข้อมูลของ WHO หรือ องค์การอนามัยโลก พบว่า ในประเทศไทยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 6% มากกว่าโรคเบาหวานที่มีอัตราการเสียชีวิต 4% ซึ่งกระทรวงฯ  มีแผนการจัดบริการความเป็นเลิศด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Service Excellence NCDs) โดยมุ่งเน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวมในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพ 

ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้สนับสนุนให้มีการขยายจำนวนเครือข่ายการดำเนินงานของคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย ในโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีสถานบริการสาธารณสุขโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังทั้งในระดับโรงพยาบาลศูนย์ฯ, โรงพยาบาลทั่วไป จนถึงโรงพยาบาลชุมชน ทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยในปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยโรงพยาบาลใหญ่ ไม่มีเจ้าภาพดูแลแบบองค์รวม เปรียบดังสามเหลี่ยมหัวกลับที่ตั้งอยู่บนยอดสามเหลี่ยม ขาดความมั่นคงในระบบ ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่ได้มารับบริการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมโรคทำให้อัตราการกำเริบเฉียบพลันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพนี้ ก็มีการแบ่งกันทำงานในหลายภาคส่วน ทั้งในส่วน การส่งเสริม ป้องกัน และรักษาโรค รวมถึงช่วยกันขยายรูปแบบและแนวทางการรักษา การส่งต่อผู้ป่วยที่คุมอาการได้แล้วไปสู่ระบบบริการระดับปฐมภูมิ หรือ PCC (Primary Care Custer)

เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาที่ใกล้บ้านมากยิ่งขึ้น สะดวกขึ้น คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นไปด้วย สมดังคำที่ว่า “Zero OPD walk in ในโรงพยาบาลศูนย์

 

รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy Asthma and COPD Clinic Networkกล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมา มีผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังที่สามารถเข้าถึงการรักษาที่ได้มาตรฐาน ได้เพียง 30เท่านั้น จึงเป็นความท้าทายของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ ที่จะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยในสัดส่วนที่เหลืออีก 70เข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ง่ายต่อการประเมิน และการรักษา แม้ว่าสถานบริการสาธารณสุขนั้น ๆ จะไม่มีแพทย์เฉพาะทาง แต่ก็ยังสามารถรักษาผู้ป่วยได้โดยแพทย์ทั่วไป เพราะแนวทางการรักษาแบบเครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ มีแนวทางที่ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ และได้มาตรฐานการรักษาที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข

สำหรับการประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 15 นี้ มีจุดประสงค์ เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ใหม่ ๆ ตามแนวทางการรักษาระดับสากลที่มีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขหรือสมาชิกเครือข่ายฯ ที่ทำคลินิกได้มาตรฐานอยู่แล้ว ช่วยกันขยายรูปแบบ และแนวทางการรักษาแบบเดียวกันกับที่ดำเนินการอยู่ ไปสู่ระบบบริการปฐมภูมิ เข้าถึงผู้ป่วยส่วนที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษา รวมถึงสร้างเครือข่ายในการส่งต่อผู้ป่วยที่สามารถควบคุมอาการกำเริบของโรคได้แล้ว ไปยังสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านผู้ป่วย อาทิ คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และร้านขายยาคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสะดวกต่อการได้รับการรักษามากยิ่งขึ้น ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมถึงโรงพยาบาลศูนย์ฯ เอง ก็จะไม่แออัด สามารถรองรับผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ได้มากขึ้น

ทั้งนี้ จากสถิติ-สาธารณสุข ปี 2558 มีผู้ป่วยโรคหืดนอนรักษาในโรงพยาบาล 115,577 คน และมีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 249,742 คน โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหืดประมาณร้อยละ ของประชากร และพบผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอีกจำนวน 1.5 ล้านคน คาดว่าผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ประมาณร้อยละ 5ป่วยเป็นโรคนี้ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2020 หรือ พ.ศ. 2563 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ของประชากรโลก

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 16 May 2019 06:34
อาริตา ลาญวิชัย

Author : กำลังเรียนพยาบาล สนใจและเกาะติดข่าวเกี่ยวกับโรงพยาบาล การแพทย์ การดูแลสุขภาพ เครื่องมือและนวัตกรรมทางการแพทย์ ยาและเภสัชกรรม อาหารชีวจิต โยคะ และการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM