January 23, 2025

UOB จับมือ สหพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ ช่วยบริษัทสิงคโปร์เข้าถึงอาเซียน

ยูโอบี จับมือ สหพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ ช่วยบริษัทสิงคโปร์เข้าถึงเศรษฐกิจมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ของอาเซียน พร้อมคว้าโอกาสที่เปิดกว้างในภูมิภาค

ธนาคารยูโอบี (UOB) ช่วยให้บริษัทจากสิงคโปร์เข้าถึงโอกาสทางธุรกิจข้ามพรมแดนในเศรษฐกิจมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ของอาเซียน[1] โดยทางธนาคารได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับสหพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ (Singapore Business Federation: SBF) เพื่อเป็นพันธมิตรทางการเงินของโครงการ GlobalConnect@SBF Strategic Partnerships[2]

ความร่วมมือดังกล่าวเป็นการรวมจุดแข็งของธนาคารยูโอบีและ SBF ในการเชื่อมโยงธุรกิจของสิงคโปร์ ซึ่งรวมถึงสมาชิกของ SBF มากกว่า 27,000 ราย ให้เข้าถึงโอกาสที่เปิดกว้างทั่วอาเซียน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม เนื่องจากภูมิภาคนี้นำเสนอข้อเสนอที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาโอกาสในการเติบโต โดยคาดว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสี่ของโลกภายในปี 2593[3] นอกจากนี้ คาดว่าข้อตกลงการค้าต่าง  เช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน

นายวี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารยูโอบี กล่าวว่า "หลังจากยืนหยัดจนผ่านพ้นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาได้ บัดนี้ บริษัทต่าง  เริ่มมองหาโอกาสที่จะเติบโตและขยายธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในโอกาสที่น่าสนใจที่สุดคืออาเซียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยูโอบีมีการดำเนินงานแข็งแกร่งที่สุด และเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพมากมาย พวกเราที่ยูโอบีตระหนักมานานแล้วถึงจุดแข็งในระยะยาว ตลอดจนเอกลักษณ์ในการมีภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่หลากหลายของอาเซียน เรามีหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ Foreign Direct Investment (FDI) Advisory Unit ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2554 และได้ช่วยให้บริษัทต่าง  ขยายการดำเนินงานไปทั่วภูมิภาคแล้วมากกว่า 3,500 บริษัท"

บัดนี้ ด้วยความพยายามร่วมกันกับ SBF เราจะสามารถช่วยสร้างภาคธุรกิจที่มีพลวัตและเชื่อมโยงถึงกัน ซึ่งจะทำให้มีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่ประสบความสำเร็จและเติบโต

นายดาเรียส ลิม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SBF กล่าวว่า "เครือข่ายที่กว้างขวางและการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธนาคารยูโอบีในอาเซียนจะช่วยเสริมโครงการ GlobalConnect@SBF ของเราให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจในสิงคโปร์ในการรุกเข้าสู่ภูมิภาค ทั้งนี้ ด้วยการสนับสนุนจากธนาคารที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ของสิงคโปร์ บริษัทต่าง  จะสามารถดำเนินธุรกิจในตลาดแต่ละแห่งได้ดีขึ้น ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายในท้องถิ่น และเข้าถึงโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่มากขึ้น"

FDI Advisory Unit ของยูโอบีช่วยบริษัทต่าง  ในการเข้าสู่ตลาด ด้วยการให้บริการข้อมูลตลาดในเชิงลึกและการเข้าถึงระบบนิเวศพันธมิตรของธนาคาร ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ สมาคมการค้าและธุรกิจระดับภูมิภาค ข้อมูลเชิงลึกและการเข้าถึงระบบนิเวศพันธมิตรดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบริษัทที่หาทางขยายธุรกิจไปต่างประเทศ ซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวนี้ได้รับการยืนยันในรายงานผลการศึกษาล่าสุดของยูโอบี โดยรายงาน UOB SME Outlook 2021 Study[4] เผยว่า การขาดความรู้เกี่ยวกับตลาดท้องถิ่น และความยากลำบากในการหาคู่ค้าที่เหมาะสม คืออุปสรรคสำคัญสองประการแรกที่บริษัทสิงคโปร์ต้องเผชิญเมื่อไปลงทุนในต่างประเทศ

บริษัทต่าง  จะได้รับประโยชน์จากการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ของทั้งสององค์กร ผ่านทาง FDI Centre ของยูโอบี[5] ที่ตั้งอยู่ทั่วภูมิภาค และผ่านทาง Singapore Enterprise Centre ของ SBF นอกจากนี้ ยูโอบียังจะให้การสนับสนุนทางการเงินและช่วยเหลือธุรกิจบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล โดยเร่งผลักดันการนำเทคโนโลยีมาใช้ด้วยการให้บริการชุดโซลูชันดิจิทัลอย่างครอบคลุม

นอกจากนี้ ทั้งสององค์กรจะแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรกับบริษัทสิงคโปร์ผ่านช่องทางต่าง  เช่น การสัมมนาออนไลน์ที่ให้บริการฟรีสำหรับสมาชิก SBF เพื่อช่วยให้บริษัทสิงคโปร์ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายของอาเซียน และเพื่อค้นพบโอกาสทางธุรกิจ

บริษัทหนึ่งที่ธนาคารยูโอบีให้การสนับสนุนในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศคือ Dou Yee Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการผลิตที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ และทำธุรกิจใน 26 ตลาด เช่น จีน ฮ่องกง มาเลเซีย และเวียดนาม Dou Yee อาศัยความรู้เชิงลึกของยูโอบีเกี่ยวกับตลาดท้องถิ่น รวมทั้งใช้โซลูชันทางการเงินของยูโอบีที่สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของบริษัทเพื่อขยายการผลิตในประเทศเวียดนาม โดยยูโอบีจะยังคงให้การสนับสนุน Dou Yee ต่อไป ด้วยการเชื่อมโยงบริษัทเข้ากับผู้ซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้จัดจำหน่ายที่มีศักยภาพตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนเชื่อมโยงบริษัทกับโอกาสต่าง  ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนความยั่งยืนของอาเซียน

ยูโอบีช่วยให้บริษัทต่าง  เข้าใจว่าบริษัทสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับประโยชน์จากการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการที่ธนาคารนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งรวมถึงการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนผ่านกรอบแนวคิดด้านต่าง  เช่น กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อเมืองอัจฉริยะของยูโอบี (UOB Smart City Sustainable Finance Framework)[6], กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของยูโอบี (UOB Real Estate Sustainable Finance Framework)[7] และกรอบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวของยูโอบี (UOB Green Circular Economy Framework)[8] กรอบแนวคิดเหล่านี้ช่วยให้บริษัทต่าง  สามารถขอสินเชื่อที่เกี่ยวโยงกับความยั่งยืนหรือสินเชื่อสีเขียวเพื่อพัฒนาธุรกิจของตนอย่างมีความรับผิดชอบ

[1] ที่มา: "ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียนระหว่างปี 2553 ถึง 2563" ("Gross domestic product of the ASEAN countries from 2010 to 2020") โดย H. Plecher, Statista, 26 มกราคม 2564

[2] โครงการ GlobalConnect@SBF Strategic Partnerships ก่อตั้งขึ้นโดย SBF ในปี 2562 ด้วยความร่วมมือกับ Enterprise Singapore เพื่อช่วยบริษัทในสิงคโปร์ขยายธุรกิจไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://globalconnect.sbf.org.sg/

[3] คาดว่าเศรษฐกิจของอาเซียนจะเติบโตมากกว่าร้อยละ 5.5 ต่อปี และจะกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกภายในปี 2593 ที่มา: สภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียนhttps://www.usasean.org/why-asean/growth

[4] รายงาน UOB SME Outlook Study ประจำปี 2564 จัดทำขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงต้นเดือนธันวาคม 2563 โดยสำรวจผู้ประกอบการ SME ท้องถิ่น 782 รายที่มีรายได้น้อยกว่า 100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาค (โดยเฉพาะโควิด-19) การคาดการณ์แนวโน้ม และความคาดหวังที่สำคัญของ SME ในสิงคโปร์

[5] ยูโอบีมี FDI Centre 10 แห่งทั่วเอเชีย โดย 6 แห่งอยู่ในอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

[6] กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อเมืองอัจฉริยะของยูโอบี (UOB Smart City Sustainable Finance Framework) เป็นกรอบแนวคิดเพื่อการเข้าถึงเงินทุนแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งยูโอบีถือเป็นธนาคารแห่งแรกในเอเชียที่กำหนดกรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนในลักษณะนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทที่สนับสนุนการสร้างเมืองอัจฉริยะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืนได้มากขึ้น อ้างถึงข่าวประชาสัมพันธ์ของยูโอบี: UOB launches its Smart City Sustainable Finance Framework, the first by a bank in Asia to help more companies advance responsibly วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563

[7] กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของยูโอบี (UOB Real Estate Sustainable Finance Framework) ถือเป็นกรอบแนวคิดที่มีจุดประสงค์เพื่อการกู้ยืมสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกโดยธนาคารสิงคโปร์ และพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะสำหรับบริษัทที่เป็นเจ้าของหรือบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เช่น ศูนย์ข้อมูล โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย สำนักงาน ร้านอาหาร และพื้นที่ค้าปลีก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากข่าวประชาสัมพันธ์: UOB extends first three green loans to SMEs under its new Real Estate Sustainable Finance Framework วันที่ 31 ตุลาคม 2562

[8] กรอบแนวคิดเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวของยูโอบี (UOB Green Circular Economy Framework) ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้บริษัทที่มีส่วนร่วมในธุรกิจ '3R' (Reduce, Reuse, Recycle) การรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ และบริษัทที่อยู่ในระบบนิเวศของผู้รีไซเคิลพลาสติก สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืนได้มากขึ้น

เกี่ยวกับยูโอบี

ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จำกัด (ยูโอบี) คือธนาคารชั้นนำในเอเชียที่มีเครือข่ายสำนักงานกว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและดินแดน ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2478 ยูโอบีได้สร้างการเติบโตจากภายในองค์กรเองและผ่านการเข้าซื้อกิจการเชิงกลยุทธ์มาอย่างต่อเนื่อง ยูโอบีได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในธนาคารชั้นนำของโลก โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ Aa1 โดยมูดีส์ และระดับ AA- โดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และฟิทช์ เรทติงส์ สำหรับในเอเชีย ยูโอบีดำเนินกิจการผ่านสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ และสำนักงานสาขาในจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม ตลอดจนสาขาธนาคารและสำนักงานตัวแทนทั่วภูมิภาค

ตลอดระยะเวลากว่า 8 ทศวรรษที่ผ่านมา พนักงานของยูโอบีจากรุ่นสู่รุ่นต่างมุ่งมั่นทำงานด้วยจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าในระยะยาวและยึดมั่นต่อพันธกิจในการทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงานของเรา

เราเชื่อในการเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่มีความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนที่เราดำเนินกิจการอยู่ทุกแห่ง ควบคู่ไปกับการทุ่มเทช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถบริหารการเงินของตนเองอย่างชาญฉลาดและผลักดันให้ธุรกิจเติบโต ตลอดจนยึดมั่นในการสนับสนุนการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะในด้านศิลปะ เยาวชน และการศึกษา



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Saturday, 13 March 2021 05:49
อารีย์ ศิริวราพร

Author : จบวารสารศาสตร์ เป็นนักนักหนังสือพิมพ์ ประจำสายข่าวการเงิน หุ้น การลทุน ธนาคาร พันธบัตร และข่าวสายเศรษฐกิจเป็นหลัก บนเส้นทางงานข่าวให้สิ่งดีๆ กับชีวิตเสมอ

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM