November 22, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

สภาทองคำโลกเผย ความต้องการทองเพิ่มขึ้น 7%

สภาทองคำโลกเผย ธนาคารกลางและ ETFs หนุนความต้องการทองคำปรับตัวขึ้นในไตรมาส

ลอนดอน, ความต้องการทองคำทั่วโลกขยายตัวสู่ระดับ 1,053.3 ตันในไตรมาสแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้น7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จากการเปิดเผยของสภาทองคำโลก (World Gold Council) ในรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ (Gold Demand Trends) ฉบับล่าสุด สำหรับปัจจัยที่ทำให้ความต้องการทองคำเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากการที่ธนาคารกลางยังคงเพิ่มการซื้อทองคำอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้แรงหนุนจากกองทุนรวม ETFs ที่อ้างอิงดัชนีราคาทองคำ

 

ธนาคารกลางซื้อทองคำ 145.5 ตันในไตรมาส เพิ่มขึ้น 68% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 และถือเป็นการเริ่มต้นปีที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 การกระจายการลงทุนและความต้องการสินทรัพย์สภาพคล่องที่ปลอดภัยยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แบงก์ชาติเข้าซื้อทองคำ หากรวมสี่ไตรมาส การซื้อทองคำทำสถิติสูงสุดที่ 715.7 ตัน

ความต้องการทองรูปพรรณในไตรมาส แตะที่ 530.3 ตัน ขยายตัว 1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยได้แรงหนุนจากอินเดีย

ราคาทองในสกุลเงินรูปีที่ถูกลงในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งตรงกับเทศกาลแต่งงานที่ชาวอินเดียนิยมซื้อทองรูปพรรณเป็นสิดสอดหรือของขวัญ ได้หนุนให้ความต้องการทองรูปพรรณในประเทศปรับตัวขึ้นเป็น 125.4 ตัน เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเป็นระดับสูงที่สุดสำหรับไตรมาส นับตั้งแต่ปี 2558

 

ETFs และผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีลักษณะคล้ายกัน เพิ่มการซื้อทองคำ 40.3 ตันในไตรมาส สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว49% โดยกองทุนจดทะเบียนในตลาดสหรัฐและยุโรปได้ประโยชน์จากกระแสเงินทุนไหลเข้าสูงสุด อย่างไรก็ดี กองทุนในสหรัฐมีปัจจัยการซื้อไม่แน่นอน ขณะที่กองทุนในยุโรปได้แรงหนุนจากความไม่แน่นอนทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงดำเนินอยู่

 

การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญอ่อนลงเล็กน้อย โดยลดลง 1% มาอยู่ที่ระดับ 257.8 ตัน การปรับตัวลงนี้มีสาเหตุมาจากความต้องการทองคำแท่งลดลงเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการซื้อเหรียญทองยังขยายตัวได้ 12% สู่ระดับ 56.1 ตัน จีนและญี่ปุ่นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การลงทุนดังกล่าวลดลง โดยในญี่ปุ่น การลงทุนสุทธิพลิกติดลบจากแรงขายทำกำไร หลังจากที่ราคาทองในประเทศพุ่งทะยานขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์

 

การใช้ทองคำเป็นส่วนประกอบ เช่น ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไร้สาย และไฟ LED ปรับตัวลดลง 3% แตะที่ 79.3ตัน เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้า ยอดขายที่ซบเซาของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และความท้าทายทางเศรษฐกิจทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

 

Alistair Hewitt Head of Market Intelligence ประจำสภาทองคำโลก กล่าวว่า:

"ความเชื่อมั่นของนักลงทุนฟื้นตัวขึ้นอย่างมากในช่วงต้นปี 2562 ทั้งในตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ แต่ถึงกระนั้นความต้องการทองคำก็ยังคงแข็งแกร่ง โดยในไตรมาส ปีนี้ ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เพิ่มการถือครองทองคำอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับกองทุน ETFs ที่เพิ่มการลงทุนในทองคำเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2561 การลงทุนในกองทุน ETFs ยุโรปทำสถิติสูงสุด และสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยการลงทุน ซึ่งได้แก่ อัตราผลตอบแทนติดลบของพันธบัตรรัฐบาลยูโรโซน ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ และความผันผวนของตลาดการเงิน จะยังคงสนับสนุนความต้องการลงทุนต่อไป นอกจากนี้ ธนาคารกลางจากทั้งสองฟากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ชะลอการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด และมีความเป็นไปได้ที่จะผ่อนคลายนโยบาย ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนทองคำ"

 

สำหรับอุปทานทองคำทั่วโลกส่วนใหญ่แล้วไม่เปลี่ยนแปลงในไตรมาส โดยอยู่ที่ระดับ 1,150 ตัน การทำเหมืองแร่ทองคำและการรีไซเคิลทองที่เติบโตขึ้นเล็กน้อย ถูกหักลบด้วยการป้องกันความเสี่ยงสุทธิที่ปรับตัวลดลง การทำเหมืองแร่ทองคำและการรีไซเคิลทองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส ปี 2561 โดยเพิ่มขึ้นแตะ 852.4 ตัน และ 287.6 ตัน ตามลำดับ

ข้อมูลสำคัญที่รวมอยู่ในรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำประจำไตรมาส ปี 2562 

  • ความต้องการโดยรวม อยู่ที่ 1,053.3 ตัน เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับระดับ 984.2 ตันในไตรมาส ปี 2561
  • ความต้องการบริโภคโดยรวม ทรงตัวที่ 788.1 ตัน เทียบกับระดับ 788.6 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
  • ความต้องการลงทุนโดยรวม เพิ่มขึ้น 3% แตะที่ 298.1 ตัน เทียบกับระดับ 288.4 ตันในไตรมาส ปี 2561
  • ความต้องการทองรูปพรรณทั่วโลก ขยายตัว 1% แตะที่ 530.3 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 527.3 ตันในช่วงเดียวกันของปี 2561
  • ความต้องการจากธนาคารกลาง เพิ่มขึ้น 68% สู่ระดับ 145.5 ตัน เทียบกับระดับ 86.7 ตันในไตรมาส ปี 2561
  • ความต้องการในภาคเทคโนโลยี ลดลง 3% มาอยู่ที่ 79.3 ตัน เทียบกับ 81.8 ตันในไตรมาส ปี 2561
  • อุปทานรวมแทบไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับ 1,150 ตัน ขยับลงเล็กน้อยจาก 1,153.1 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
  • การรีไซเคิล เพิ่มขึ้น 5% ที่ระดับ 287.6 ตัน เทียบกับ 274.6 ตันในไตรมาส ปี 2561

สามารถรับชมรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำประจำไตรมาส ปี 2562 ซึ่งรวมข้อมูลจาก Metals Focus ไว้อย่างครอบคลุม โดยเข้าไปที่ http://www.gold.org/research/gold-demand-trends หรือบนแอป iOS และ Android นอกจากนี้ยังสามารถสำรวจข้อมูลแนวโน้มความต้องการทองคำโดยใช้เครื่องมือสร้างแผนภูมิแบบอินเทอร์แอคทีฟของเราได้ที่ http://www.gold.org/data/gold-supply-and-demand/gold-market-chart

สามารถติดตาม World Gold Council บน Twitter ที่ @goldcouncil  และกดไลก์บน Facebook 

 

 

สภาทองคำโลก

สภาทองคำโลก เป็นองค์กรพัฒนาตลาดสำหรับอุตสาหกรรมทองคำ วัตถุประสงค์ของเราคือการกระตุ้นและรักษาอุปสงค์ทองคำให้มีความยั่งยืน ตลอดจนเป็นผู้นำอุตสาหกรรมและผู้มีอำนาจระดับโลกในตลาดทองคำ

 

เราพัฒนาโซลูชั่น บริการ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับทองคำ โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจตลาดในเชิงลึก เราทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายเพื่อทำให้แนวความคิดของเราเป็นการปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ เราได้สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสำหรับอุปสงค์ทองคำในทั่วทุกภาคส่วนของตลาดที่สำคัญๆ เราจัดหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดทองคำระหว่างประเทศ ช่วยให้ผู้คนเข้าใจเรื่องคุณภาพในการรักษาระดับความมั่งคั่งของทองคำ และบทบาทของทองคำที่สอดคล้องกับความต้องการทางสังคมและสภาพแวดล้อม

สมาชิกของสภาทองคำโลกประกอบไปด้วยบริษัทเหมืองทองคำชั้นนำระดับโลกที่มีวิสัยทัศน์และมองการณ์ไกล

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 09 May 2019 08:17
เรวัต วรเกียรติ์สกุล

Author : เกาะติดข่าวเกี่ยวกับ Thailand Medical Hub News สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการสุขภาพ นวัตกรรม การเจรจาการค้าการลงทุน อุตสาหกรรมทางการแพทย์

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM