IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ข้อกำหนด 5G เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดีอย่างไร เตรียมล้ำไปกับโลกดิจิทัลได้เลย
- 5G คือเทคโนโลยีใหม่ และจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ใหม่ที่มีขนาดแบนด์วิธกว้างมาก (เทียบได้กับถนนขนาดใหญ่) ซึ่งมีการมองไว้ 3 ย่าน คือ ต่ำกว่า 1GHz, 1-6GHz และ สูงกว่า 6GHz ขึ้นไป
- สำหรับประเทศที่มีการทดลองใช้งาน 5G แล้ว ได้แก่ เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และจีน โดยทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ระบุว่าจะเริ่มต้นใช้งาน 5G อย่างเป็นทางการในปี 2020 หรืออีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า
เราเชื่อว่าหลายคนมีคำถามว่า ทุกวันนี้เราได้ใช้ 4G เพียงพอแล้วหรือยัง ความเร็วที่ได้ใช้ทันใจไหม แล้ว Wi-fi ยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในชั่วโมงนี้หรือเปล่า แม้ว่าการใช้ 4G ในบ้านเราจะดูเห็นประสิทธิผลได้น้อยกว่าระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตชนิดอื่น แต่ชั่วโมงนี้คุณอาจต้องเก็บข้อสงสัยนี้ไว้ก่อน เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G กำลังจะเกิดขึ่นจริงแล้วเร็วๆ นี้ เพื่อรองรับอนาคตในยุค IoT (Internet of Things) อุปกรณ์ต่างๆ นับชิ้นไม่ถ้วนสามารถทำงานเชื่อมโยงผ่านการสื่อสารไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พกพาประจำตัวของแต่ละคน ยานพาหนะตั้งแต่รถยนต์จนถึงรถจักรยาน หรือแม้แต่ระบบตรวจวัดต่างๆ เช่น อุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพประจำตัว ระบบสัญญาณไฟจราจร เราจึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และขณะนี้อุตสาหกรรมการสื่อสารกำลังมุ่งมั่นพัฒนาอย่างจริงจังเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 5G อย่างเต็มตัว
หลังจาก 3GPP เป็นหน่วยงานตามข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนารายละเอียดด้านมาตรฐานทางเทคนิค ได้มีการลงนามข้อตกลงครั้งแรกสำหรับเครือข่าย 5G ในที่ประชุม Lisbon ที่โปรตุเกส โดยมีมาตรฐานตามที่ตกลงกันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับสิ่งที่เครือข่าย 5G จะต้องผ่านกระบวนการสำหรับเปิดการใช้งานเชิงพาณิชย์ พร้อมครอบคลุมคลื่นความถี่กว้างตั้งแต่ 600 และ 700 MHz ไปจนถึงคลื่นความถี่ระดับมิลลิเมตรที่ 50 GHz อย่างไรก็ตามคาดว่าน่าจะได้ใช้จริงในปี 2019 ตอนนี้เรามารู้จักกับมันกันก่อนครับ
เข้าใจและเตรียมพร้อมสำหรับ 5G
ใครที่ใช้งาน 3G และ 4G มาแล้ว คงจะรู้ว่ามันคือการขยายช่องสัญญาณให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตไร้สายสามารถรองรับปริมาณข้อมูลได้มากๆ หรือ “เร็วขึ้น” นั่นเอง โดย 4G นั้นหากไม่มีการแชร์ใช้งาน อาจวิ่งด้วยความเร็วได้สูงหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที
แต่สำหรับ 5G คือความเร็วที่ระดับ 1กิกะบิตต่อวินาที (1Gbps) และมีความเสถียรอย่างมาก เพื่อให้สามารถใช้งานใน IoTs ได้ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยความแม่นยำ และการไปถึงจุดหมายปลายทาง รวมถึงการใช้งาน IoTs อื่นๆ ในอนาคตที่ต้องการการทำงานแบบอัตโนมัติ แต่การใช้งานโดยรวมแล้ว ยังไงก็ต้องผสานรวมกับ 4G เพื่อช่วยให้การเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพสูงสุด ถือว่า 5G จะมาเปลี่ยนรูปแบบของอุตสาหกรรมจากเดิม
ในปี 2012 มีการใช้งาน IoTs ทั่วโลก 142 ล้านการเชื่อมต่อ แต่ในปี 2020 จะมีเพิ่มเป็น 975 ล้านการเชื่อมต่อ ที่สำคัญการเชื่อมต่อจะใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ขณะที่การใช้งานข้อมูลผ่านโมบายทั่วโลกเมื่อปี 2014 อยู่ที่ 2.6EB ต่อเดือน (EB คือ Exabyte = ประมาณพันล้านกิกะไบต์) และจะเพิ่มเป็น 15.9EB ต่อเดือนในปี 2018
5G กับความเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่เกิดในต่างประเทศ
หากเป็นไปตามแผน 5G จะสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 5 ด้านสำคัญ คือ สร้างการเชื่อมต่อที่ไม่จำกัด, สร้างสรรค์นวัตกรรมทางเศรษฐกิจ, ขยายพลังอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง, สร้าง IoTs และปฏิรูปอุตสาหกรรมทั้งทางกว้างและทางลึก
ในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย มีแผนคลื่นความถี่สำหรับ 5 ปี และมีการรีวิวเพื่อจัดพิมพ์ใหม่ทุกปี เพื่อดูว่ามีความต้องการใช้งานคลื่นความถี่ในด้านใดบ้าง เช่นเดียวกับ นิวซีแลนด์ ที่มีการทำแผน 5ปี และมีการรีวิวเป็นประจำทุกปี มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นแผนที่ทำมีประสิทธิภาพในการใช้งาน