IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
กฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรจะมองข้ามในการต่อเติมบ้าน หากเราทำการต่อเติมไปแล้วผิดกฎหมายก็จะเดือดร้อนต้องมาทุบทิ้งกัน หรืออาจจะเกิดการร้องเรียนขึ้นทำให้เป็นปัญหาใหญ่ตามมา ทำให้เราเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านนั้นหลักๆแล้วก็จะมีเรื่องระยะต่างๆรอบตัวบ้าน ดังนี้
1. ระยะห่างระหว่างอาคาร
การต่อเติมอาคารชั้นเดียว หรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่นการต่อเติมพื้นที่ครัวด้านหลังบ้าน , ต่อเติมห้องด้านข้างรวมถึงลานจอดรถนั้น จะมีข้อกำหนดเรื่องระยะห่างของผนังและที่ดินบ้านข้างเคียง ดังนี้
- ผนังที่มีช่องเปิด ( เช่น หน้าต่าง, ช่องลมระบายอากาศ, ช่องแสง หรือบล็อคแก้ว) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
- ผนังทึบ (ไม่มีช่องแสง) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
สำหรับหมู่บ้านจัดสรรโดยทั่วไปแล้ว เราสามารถเจรจากับเพื่อนบ้านด้านข้างฝั่งที่เราต่อเติม ถ้าเพื่อนบ้านยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร เราก็สามารถสร้างชิดแนวเขตที่ดินได้ครับ
ผนังของอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ หรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคารต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินอาคารที่มีความสูง >หรือเท่ากับ 9ม. < 23ม. ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดิน > หรือเท่ากับ 3ม.
2. ระยะชายคา, กันสาด
การต่อเติมชายคา (ที่พื้นที่ด้านบนไม่สามารถขึ้นไปใช้งานได้) จะต้องเว้นระยะจากชายคา จนถึงแนวเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เช่นเดียวกันกับการต่อเติมผนังทึบครับ
3. ระยะระเบียงชั้นบน
การต่อเติมระเบียงชั้นบน หรือหลังคาที่สามารถขึ้นไปใช้งานด้านบนได้ จะต้องเว้นระยะจากระเบียง จนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เช่นเดียวกับการต่อเติมผนังที่มีช่องเปิดครับ
4. ระยะห่างจากถนนสาธารณะ
สำหรับใครที่อยากจะต่อเติมบ้านออกมาทางด้านหน้าจะเป็นห้องอเนกประสงค์หรือห้องอื่นๆก็ดี จะต้องคำนึงถึงกฎหมายดังนี้ อาคารพักอาศัยที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 10 เมตร และพื้นที่รวมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร จะมีกฏหมายบังคับเกี่ยวกับแนวร่นอาคารจาก ทางสาธารณะ ดังนี้
- ถ้าถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6.00 เมตร ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลาง ถนนสาธารณะ อย่างน้อย 3.00 เมตร
- ถ้าถนนสาธารณะกว้างมากกว่าง 6.00 เมตร ริมแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะ
- อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 0.50 เมตร
- อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่เกิน 300 ตารางเมตร ร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 1.00 เมตร
5. ความสูงของอาคาร
ความสูงอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด
6. ระยะร่นห่างแหล่งน้ำสาธารณะ
อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คู คลอง ลำราง หรือ ลำกระโดง ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่ง น้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องร่น แนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตร
สำหรับอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร
ทั้งนี้ เว้นแต่ สะพาน เขื่อน รั้ว ท่อระบายน้ำ ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ หรือที่ว่างที่ใช้เป็นที่จอดรถ ไม่ต้องร่นแนวอาคาร
7. อาคารอยู่อาศัยรวม
- อาคารอยู่อาศัยรวมหรืออาคารชุดที่มีพื้นที่ห้องชุดแต่ละห้อง 60 ตร.ม ขึ้นไปต้องมีที่จอดรถ ที่กลับรถและทางเข้าออกรถ
- อาคารอยู่อาศัยรวมหรืออาคารชุด ให้มีที่จอดรถ 1คันต่อ 1ห้องชุด
- จอดรถตั้งฉากกับแนวเดินรถ ความกว้าง >2.40ม. ความยาว >5ม.
- ทางเข้าออกต้องมีความกว้าง >หรือเท่ากับ 6ม. เว้นแต่เดินรถทางเดียวต้องกว้าง <หรือเท่ากับ 3.5ม.
- จอดรถทำมุมเกิน 60องศาทางวิ่งต้อง >หรือเท่ากับ 6ม.
- แนวศูนย์กลางทางเข้ารถ ต้องห่างจากขอบทางแยกสาธารณะ >หรือเท่ากับ 20ม.
สนใจปรึกษาปัญหาการต่อเติมบ้าน อาคาร โรงงาน ทั้งงานก่อสร้าง งานรีโนเวท โปรดติดต่อ
บริษัท โอภาส การก่อสร้าง และ ผลิตภัณฑ์ จำกัด
OPAS CONSTRUCTION AND PRODUCT CO.,LTD.
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
line ID : natdanai 1966
Call : 099-465-1693