December 22, 2024

Hutchison Ports ยกระดับท่าเทียบสู่ระดับแฟลกชิป

ศูนย์บริการผู้เยี่ยมชมแห่งใหม่ ยกระดับท่าเทียบเรือชุด สู่ท่าเทียบเรือระดับแฟลกชิปของ ฮัทชิสัน พอร์ท ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • เทคโนโลยีของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ช่วยยกระดับท่าเรือแหลมฉบังสู่ ท่าเรืออัจฉริยะ’ (Smart Port) ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0

  • ศูนย์บริการผู้เยี่ยมชมแห่งใหม่ แสดงศักยภาพของเทคโนโลยีการควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลระดับโลกของฮัทชิสัน พอร์ท ณ ท่าเทียบเรือชุด D 

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทย เปิดศูนย์บริหารผู้เยี่ยมชมแห่งใหม่ (Visitors Centre) ในท่าเรือแหลมฉบัง ตอกย้ำสถานะการเป็นท่าเรือเกต์เวย์หลักของประเทศไทย ที่กำลังเติบโตสู่ศูนย์กลางด้านการขนส่งของโลก พร้อมช่วยยกระดับท่าเทียบเรือชุด สู่ท่าเทียบเรือระดับแฟลกชิป (Flagship) ของฮัทชิสัน พอร์ท ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยศูนย์บริการผู้เยี่ยมชมแห่งใหม่นี้ จะสาธิตศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีระดับโลกของฮัทชิสัน พอร์ท ท่ามกลางพื้นที่การปฏิบัติงานจริง ณ บริเวณท่าเทียบเรือชุด D

ท่าเทียบเรือชุด ณ ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเทียบเรือระดับแฟลกชิป (Flagship) ทางด้านเทคโนโลยีท่าเรือของ  ฮัทชิสัน พอร์ท ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากปัจจัยเชิงบวกด้านสถานที่ตั้งที่อยู่ใจกลางภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก และประเทศอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบังยังนับเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศผ่านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง 

มร. สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ศูนย์บริการผู้เยี่ยมชมแห่งใหม่ที่ท่าเทียบเรือชุด แสดงให้เห็นการลงทุนครั้งสำคัญของฮัทชิสัน ในการพัฒนาและติดตั้งเทคโนโลยีล้ำสมัย ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ยกระดับให้ท่าเทียบเรือชุด กลายเป็นหนึ่งในท่าบริการตู้สินค้าที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ที่มีศักยภาพรองรับบรรดาเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันได้ นอกจากนี้ ศูนย์แห่งนี้ยังสาธิตกระบวนการทำงานของเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control Technology) ระดับโลกภายในท่า รวมถึงแสดงบริการติดตามสถานะตู้สินค้าแบบออนไลน์ และแอพพลิเคชั่น ubi บนสมาร์ทโฟนสำหรับลูกค้าและผู้ใช้งานท่าเทียบเรือ

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย กำลังวางแผนนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่ท่าเทียบเรือชุด อันได้แก่ โครงการเครือข่ายการขนส่งระดับโลก (Global Shipping Business Network หรือ GSBN) โดยนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)มาเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างสายเดินเรือต่างๆ และผู้ใช้งานท่าเรือ เทคโนโลยีรถบรรทุกไร้คนขับ (Autonomous Truck) ที่จะทำมาใช้ทั้งบริเวณหน้าท่าและลานในท่า และเทคโนโลยีประตูอัตโนมัติ (Gate Automation) ที่ประตูทางเข้า  และออกท่า เพื่อระบุตัวตนของรถได้จากระยะไกล

มร. แอชเวิร์ธ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เทคโนโลยีของเราสอดคล้องกับแผนของการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็น ท่าเรืออัจฉริยะ’ หรือ Smart Port 

เราภูมิใจที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง  ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดสู่การพัฒนาอนาคตเศรษฐกิจของประเทศไทย

 ศูนย์บริการผู้เยี่ยมชมแห่งใหม่ ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเทียบเรือชุด D โดยจะสาธิตการทำงานของเทคโนโลยีอัจฉริยะทั้งหมด และศูนย์แห่งนี้จะยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการฝึกพนักงานของฮัทชิสัน พอร์ทจากทั่วโลกอีกด้วย

 

การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของท่าเรือชุด D ดำเนินไปตามแผนงานอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับมอบรถหัวลาก (terminal tractor head) พร้อมหาง จำนวน 20 คัน ณ ท่าเทียบเรือ ชุด ดี ท่าเรือแหลมฉบัง โดยรถหัวลากนี้ มีทัศนวิสัยในการใช้งานที่ดี และเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในท่าเทียบเรือตู้สินค้า

โดยการลงทุนของ HPT ในการพิจารณานำรถหัวลากมาใช้งานในท่าเทียบเรือชุด ดี นั้น สะท้อนถึงความเอาใจใส่ต่อผู้ปฏิบัติงานขององค์กร ให้ทำงานด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมแก่การใช้งาน นอกจากนี้ HPT ยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตภายในองค์กร รวมถึงกลุ่มลูกค้าในประเทศไทย

 

ท่าเทียบเรือชุด D เสร็จสมบูรณ์แล้วราว 50 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความยาวหน้าท่า 1,000 เมตร ประกอบด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน คัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง จำนวน 20 คัน ทั้งหมดติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลอย่างเต็มรูปแบบ ท่าเทียบเรือแห่งนี้สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าระวางความจุเกินกว่า 14,000 ทีอียู (หน่วยนับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุตซึ่งมีน้ำหนักรวมได้มากถึง 150,000 ตัน และมีความยาวของเรือกว่า 360 เมตร เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือชุด จะมีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร ประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า จำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางจำนวน 43 คัน โดยจะเพิ่มความสามารถรองรับตู้สินค้าของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย และท่าเรือแหลมฉบังได้อีก 3.5 ล้านทีอียู

 

ทั้งนี้ ท่าเรือชุด D ประสบความความสำเร็จอย่างสูงในการขนถ่ายสินค้า เช่นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ท่าเทียบเรือชุด ดี บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้ทำการขนถ่ายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจำนวนสามตู้ ลงจากเรือ M.V. BASLE EXPRESS ด้วยเครนยกขนสินค้าหน้าท่า โดยวิธีการพิเศษ ซึ่งปลอดภัยและรวดเร็ว ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ท่าเทียบเรือชุด ดี ได้ทำการขนถ่ายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแล้ว เป็นจำนวนทั้งสิ้น 84 ตู้

 

 

เกี่ยวกับฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย 

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (Hutchison Ports Thailand HPT) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจขนส่งตู้สินค้าของประเทศไทย บริษัทฯ ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนชายฝั่งของจังหวัดชลบุรีที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ลงมาเพียง 130 กิโลเมตร ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ให้บริการอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ รวมถึง บริการสถานีขนถ่ายสินค้า ระบบรถไฟขนส่งรางคู่และมีเส้นทางเชื่อมต่อที่ดีกว่าสู่ทางหลวงสายหลักเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางในที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีจุดให้บริการในแหลมฉบังอยู่ที่ ท่าเทียบเรือ A2 A3 C1 C2 D1 D2 และ D3

 

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นสมาชิกของกลุ่มฮัทชิสัน พอร์ท ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของบริษัท ซีเค ฮัทชิสัน โฮลดิ้งส์ จำกัด (CK Hutchison Holdings Limited) ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านท่าเทียบเรือและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ฮัทชิสัน พอร์ท เป็นผู้ลงทุน พัฒนาและดำเนินกิจการด้านท่าเทียบเรือชั้นนำของโลก มีเครือข่ายท่าเทียบเรือถึง 52 แห่ง กระจายอยู่ใน 27 ประเทศทั่วโลก ทั้งใน เอเซีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ขยายกิจการครอบคลุมไปถึงธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ท่าเทียบเรือโดยสาร บริการท่าอากาศยาน ศูนย์กระจายสินค้า บริการขนส่งด้วยระบบรางและอู่ซ่อมเรือ

 

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Monday, 06 January 2020 10:44
อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

Author : เกาะติดข่าวในอุตสาหกรรมยานยนต์ Automotive อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์

รวมถึงเทคโนโลยีในด้านนั้นๆ

Latest from อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM