November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

โพลสำรวจ "สถานภาพผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์รับจ้าง"

ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจพี่วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างแบกภาระเหนื่อย SME D Bank ประสานพันธมิตรดันนวัตกรรม EV ยกระดับอาชีพรถขนส่งสาธารณะ

ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจสถานภาพผู้ประกอบอาชีพขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทำงานหนักหารายได้ 25 วันต่อเดือน ต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่า 1 หมื่นบาทต่อเดือน เหลือรายได้ 12,736.61 บาท แต่ต้องดูแลสมาชิกครอบครัวเฉลี่ยถึง 4 คน เกิดภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง แถมไม่มีสวัสดิการรองรับ ด้าน SME D Bank รับปากหาแนวทางช่วยเหลือ ประสานพลังงานหน่วยงานพันธมิตร นำนวัตกรรม EV ยกระดับอาชีพบริการรถขนส่งสาธารณะ ลดต้นทุน ลดมลภาวะ เติมคุณภาพชีวิตที่ดี

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในการแถลงผลการสำรวจ "สถานภาพผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์รับจ้าง" ว่า ข้อมูลของกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก ระบุจำนวนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตทั่วประเทศมี 185,303 ราย ส่วนปัญหาที่ผู้ใช้บริการพบมาก ได้แก่ การทะเลาะวิวาท แย่งลูกค้าระหว่างวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างกับ Grab bike ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน บอกค่าโดยสารเกินควร วินรถเถื่อนไม่มีใบอนุญาต บริการไม่สุภาพ และจอดรถบนทางเท้ากีดขวางทางจราจร 

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,243 รายพบว่า 70.06% ได้จดทะเบียนถูกต้องแล้ว และมีรถเป็นของตัวเอง อายุเฉลี่ยของผู้ประกอบอาชีพนี้อยู่ที่ 39 ปี ทำอาชีพนี้มาแล้วเฉลี่ย 8 ปี ในแต่ละเดือนต้องขี่รถเพื่อหารายได้ถึง 25วัน เฉลี่ยวันละ 41 เที่ยว เฉลี่ย 9 ชั่วโมงต่อวัน โดย 79.57% ยึดการขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นอาชีพหลัก เพียงอาชีพเดียว โดยมีรายได้เฉลี่ย 974.81 บาทต่อวัน หรือ 24,370.25 บาทเดือน ขณะเดียวกัน รายได้ดังกล่าวต้องนำไปดูแลสมาชิกครอบครัวเฉลี่ย 4 คน และเกือบทั้งหมดไม่มีขึ้นทะเบียนเข้ารับระบบสวัสดิการจากภาครัฐ 

นอกจากนั้น 37.88% บอกว่าไม่มีการวางแผนการออม ขณะที่ 69.40% บอกว่าในปัจจุบันมีภาระหนี้ ประมาณ 185,858 บาท อัตราการผ่อนเฉลี่ย 5,266.30 บาทต่อเดือน ส่วนทัศนะเกี่ยวการกู้เงินในอนาคต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 26.92 อยากกู้ในระบบเพื่อซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่ 

เมื่อถามถึงความต้องการกู้ภายใน 1 ปี นับจากปัจจุบัน จำนวน 31.66% มีความต้องการจะกู้ เพื่อไปชำระหนี้เก่า ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเสริมสภาพคล่อง แทบทั้งหมดต้องการกู้ในระบบ วงเงินเฉลี่ย 230,889.49 บาท อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ต้องการกู้ 53.02% ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้ ด้วยเหตุผล ขาดหลักประกัน ไม่มีประวัติเคลื่อนไหวทางการเงิน และไม่รู้จะติดต่อธนาคารอย่างไร เป็นต้น

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบอาชีพรถจักรยานยนต์รับจ้าง มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 11,633.64 บาทต่อเดือน โดย 3 อันดับแรก คือ ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนรถจักรยานยนต์ และค่าเช่าเสื้อ ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว ถือเป็นภาระหนักระดับปานกลางถึงหนักมาก รวมกันถึง 90.29% 

กลุ่มตัวอย่าง 64.20% เผยด้วยว่า ยังไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันเพื่อบริการรับส่งผู้โดยสาร เนื่องจากมีขั้นตอนและระเบียบยุ่งยาก ใช้แอปพลิเคชันไม่เป็น และมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งการไม่ใช้แอปพลิเคชัน ส่งผลกระทบลูกค้าไม่เดินมาที่วิน และจำนวนลูกค้าลดลง ส่วนกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคชันบริการลูกค้า บอกว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น 1,741.95 บาทต่อเดือน 

เมื่อถามว่า หากประสบอุบัติเหตุ หรือมีเหตุจำเป็นไม่สามารถขี่รถจักรยานยนต์ได้ชั่วคราว กลุ่มตัวอย่างถึง 68.87% บอกว่า จะกระทบปัญหาการเงิน ในจำนวนดังกล่าวถึง 40.05% บอกว่ากระทบในระดับมาก ส่วนปัญหาการหารายได้ในปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างถึง 73.21% ระบุมาจากต้นทุนน้ำมันสูง ส่วนเงินทุนที่ต้องการใช้ซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่เฉลี่ย 61,817.03 บาท

กรณีหากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีโครงการค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เพื่อซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่ กลุ่มตัวอย่าง 27.49% ระบุเข้าร่วม เพราะเห็นว่า เป็นโครงการของภาครัฐที่น่าสนใจ ดอกเบี้ยถูก ลดค่าใช้จ่าย ได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยสามารถผ่อนได้สูงสุด 151.12 บาทต่อวัน 

สำหรับข้อเสนอแนะและสิ่งที่ต้องการได้รับจากภาครัฐนั้น ได้แก่ 1.ควบคุมราคาสินค้า เช่น ค่าน้ำมัน ค่าเช่าเสื้อวิน ค่าสินค้าทั่วไป เป็นต้น 2.ปรับราคาค่าโดยสาร 3.จัดระเบียบและบทลงโทษให้เคร่งครัด และ 4.สนับสนุนให้มีโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและเข้าถึงง่าย ขณะที่ข้อเสนอและสิ่งที่ต้องการได้รับจากธนาคารรัฐ ได้แก่ 1.ปล่อยกู้โดยไม่เสียดอกเบี้ย หรือลดอัตราดอกเบี้ย 2.เพิ่มสินเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักประกัน และ 3.อำนวยความสะดวกในขั้นตอนดำเนินการให้ง่ายขึ้น

ด้าน นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ SME D Bank กล่าวว่า จากจำนวนผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ประมาณ 1.8 แสนราย รวมถึงเกี่ยวข้องไปถึงผู้โดยสารอีกจำนวนมาก ดังนั้น อาชีพขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างจึงมีความสำคัญ และควรยกระดับมาตรฐาน ทั้งด้านคุณภาพรถ บริการ และความปลอดภัย 

"ผู้ประกอบอาชีพรถจักรยานยนต์รับจ้าง ควรได้รับการดูแล เนื่องจากต้องทำงานหนัก เฉลี่ยขี่รถกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน และไม่มีสวัสดิการจากภาครัฐรองรับ เหลือรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการประกอบอาชีพเพียง 12,736.61 บาทต่อเดือน แต่มีภาระดูแลสมาชิกครอบครัวเฉลี่ยถึง 4 คน นำไปสู่ปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง ดังนั้น ธนาคารจะนำผลสำรวจ และข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง ไปพัฒนามาตรการช่วยเหลือ เช่น ส่งเสริมความรู้ให้นำแอปพลิเคชันมาเพิ่มลูกค้า รวมถึง ช่วยผู้ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างลดต้นทุนค่าใช้จ่าย" นายมงคล กล่าว

นอกจากนั้น SME D Bank และพันธมิตร ได้แก่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมสนับสนุนการใช้นวัตกรรมยานยนต์ (EV : Electric Vehicle) หรือพาหนะไฟฟ้า ยกระดับปรับเปลี่ยนรถ สำหรับผู้ประกอบอาชีพให้บริการรถขนส่งสาธารณะต่างๆ สร้างประโยชน์ช่วยลดต้นทุนค่าพลังงาน ในขณะเดียวกัน สร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะทางอากาศ และทางเสียง สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี 

นายมงคล กล่าวต่อว่า หน่วยงานพันธมิตรจะร่วมกันมอบ "3 เติม" ผลักดันผู้ประกอบการด้านขนส่งสาธารณะใช้นวัตกรรม EV ยกระดับอาชีพ ได้แก่ "เติมทักษะ" ผ่านการอบรมความรู้ต่างๆ "เติมทุน" ผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี บุคคลธรรมดา อัตราดอกเบี้ย 3ปีแรกเพียง 0.42% ต่อเดือน ปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 2 ล้านบาทต่อราย และหากยกระดับเป็นนิติบุคคล อัตราดอกเบี้ยจะถูกลงไปอีก โดย 3 ปีแรกเหลือเพียง 0.25% ต่อเดือนเท่านั้น ส่วนปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย สามารถใช้เป็นทุนหมุนเวียน ลงทุนนวัตกรรม และปรับปรุงธุรกิจให้มีความทันสมัย 

เมื่อได้รับการ "เติมทักษะ" และ "เติมทุน" จะนำไปสู่การ "เติมคุณภาพชีวิต" ช่วยให้ผู้ประกอบการอาชีพบริการรถขนส่งสาธารณะ รวมถึงครอบครัว อยู่ดี กินดี มีสวัสดิการในชีวิตมั่นคง คุณภาพชีวิตดีขึ้น ประโยชน์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ยังส่งผลดีไปในด้านสังคมอีกด้วย

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Monday, 11 March 2019 11:49
บุษบากร เลิศปกรณ์โยธา

Author : เกาะติดข่าวโรงงาน, ข่าวธุรกิจรักษาความปลอดภัย, ธุรกิจบัญชีและการตรอบสอบต่างๆ, ข่าวจากภาครัฐ, สัตว์เลี้ยง, อาหารสัตว์, เทคโนโลยีการเกษตร, ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM