January 21, 2025

กรมเจ้าท่า ผนึก รฟม. เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม

กรมเจ้าท่า ผนึกกำลัง รฟม. เชื่อมเส้นทางเรือและรถไฟฟ้า เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม นำร่อง 5 ท่า ผสาน ระบบล้อ ราง เรือ แบบไร้รอยต่อ ดันไทยสู่ศูนย์กลางการขนส่งยุคเศรษฐกิจ 4.0

นายสมศักดิ์ ห่มม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า ทางกรมฯ ได้ดำเนินร่วมมือกับทาง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือ รฟม. เพื่อพัฒนาพื้นที่หลังท่าเรือและดำเนินการเชื่อมต่อ ล้อ ราง เรือ แบบไร้รอต่อตั้งแต่การเดินทางเรือไปยังรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชน  โดยนำร่อง 5 ท่า ได้แก่ 1. ท่าเรือพระนั่งเกล้า (ฝั่งพระนคร) กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง 2. ท่าเรือพระราม 7 (ฝั่งตะวันตก) กับรถไฟฟ้าสายสีแดง 3. ท่าเรือบางโพ กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 4. ท่าเรือราชินี กับรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงิน และ 5. ท่าเรือสาทร กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งขณะนี้ปรับปรุงโครงสร้างท่าเรือเสร็จแล้ว 3 ท่า เหลือแค่ท่าเรือพระนั่งเกล้า และท่าเรือบางโพ

สำหรับงบประมาณ ปี 2562 ทางกรมฯ ยังได้จัดสรรงบประมาณ 40 ล้านบาท เพื่อเตรียมปรับปรุง และพัฒนาท่าเรือโดยสาร เช่น ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ อัตลักษณ์ พื้นที่ทางลาด เป็นต้น

เพื่อยกระดับการให้บริการขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา จํานวน 8 ท่า ประกอบด้วย ท่าเรือสาทร ท่าโอเรียลเต็ล ท่าสี่พระยา ท่าเรือราชวงศ์ ท่าเรือดินแดง ท่าเรือราชินี ท่าเรือเทเวศร์ และท่าเรือท่านํ้านนทบุรี คาดดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมให้บริการประชายชนภายในต้นปี 2563

 

นอกจากนี้ ยังมีโครงการยกระดับท่าเรือโดยสารให้เป็นสถานีเรือ และปรับปรุงรูปแบบโป๊ะเทียบเรือให้มีความปลอดภัย และทันสมัย เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้เป็นสากล อํานวยความสะดวกสบายให้ประชาชน พร้อมรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุมากขึ้น จํานวน 19 ท่า ดังนี้ 1. ท่าเรือปากเกร็ด 2. ท่าเรือพระนั่งเกล้า 3. ท่าเรือนนทบุรี 4. ท่าเรือพระรามห้า 5. ท่าเรือพระรามเจ็ด 6. ท่าเรือบางโพ 7. ท่าเรือเกียกกาย 8. ท่าเรือพายัพ 9. ท่าเรือสะพานกรุงธน 10. ท่าเรือเทเวศน์ 11. ท่าพระอาทิตย์ 12. ท่าเรือพระปิ่นเกล้า 13. ท่าเรือพรานนก 14. ท่าเรือท่าช้าง 15. ท่าเรือท่าเตียน 16. ท่าเรือราชินี 17. ท่าเรือราชวงศ์ 18. ท่าเรือสี่พระยา และ 19. ท่าเรือสาทร

 

โดยการพัฒนาครั้งนี้ ทางกรมได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการบริการ เช่น เคาน์เตอร์ซื้อ-ขายตั๋ว ติดตั้งกล้องวงจรปิดในเรือ ติดตั้งเทคโนโลยีอํานวยความสะดวกให้ผู้โดยสารจัดช่องทางขึ้น-ลงท่าเรือ เตรียมพื้นที่พักคอยผู้โดยสาร ระบบเสียงประกาศ ระบบควบคุมความปลอดภัย ส่วนโป๊ะเทียบเรือจะปรับจากโครงสร้างเหล็กให้เป็นโครงสร้างโป๊ะ คอนกรีตกําลังอัดสูงที่สามารถรับแรงกระแทกจากเรือและลอยตัวด้วยโฟมชนิดพิเศษ พร้อมปรับระบบกันกระแทกจากเดิมแบบยางรถยนต์เป็นยางกันกระแทก (Rubber Fender) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนอีกด้วย

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 24 September 2020 07:19
สุเทพ ชื่นนาทกุล

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM