January 26, 2025

ITD สร้าง 'อุโมงค์รัชโยธิน' เสร็จเร็วก่อนกำหนดใน 31 ต.ค.นี้ ด้วยเทคโนโลยี CCSP ส่วนสะพานข้ามแยกเกษตรคาดสิ้น ธ.ค.เปิดใช้

อุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธินเร่งเสร็จเร็วกว่ากำหนดภายใน 31 ตุลาคมนี้เปิดใช้บริการ ส่วนสะพานข้ามแยกรัชโยธินและแยกเกษตรคาดไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคมนี้ และเตรียมสร้างอุโมงค์ลอดถนนรัชดา-ราชพฤกษ์ใช้งบ 1 พันล้านบาท

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธินมีความก้าวหน้ารวม 83.33% ซึ่งผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาสัญญาที่ 1 คือ  บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม็นต์ หรือ ITD ได้ดำเนินการขุดดินภายในอุโมงค์ให้ทะลุถึงกัน พร้อมทั้งดำเนินการก่อสร้างพื้นถนน กำแพงป้องกัน รวมถึงเตรียมดำเนินการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ จะเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการภายในเดือนตุลาคม 2561 รวมใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 21 เดือน ซึ่งเร็วกว่าแผนงาน 3 เดือน

แนวโน้มน่าจะสร้างเสร็จก่อนกำหนด

เพราะอิตาเลียนไทยฯได้นำเทคนิคการก่อสร้างรูปแบบใหม่เรียกว่าเทคโนโลยี CCSP หรือแผงคอนกรีตอัดแรง และกำแพงกันดินแบบหล่อสำเร็จ มาใช้ในงานก่อสร้างให้รวดเร็วขึ้น เดือน จากเดิม 30.5 เดือน เหลือ 24 เดือน

สำหรับงานก่อสร้างจุดอื่น คือ งานก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามแยกรัชโยธิน ในแนวถนนพหลโยธิน มีความก้าวหน้า 74.58% งานก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตรศาสตร์ มีความก้าวหน้า 79.79%

คาดว่างานก่อสร้างทั้ง 2 สะพานให้แล้วเสร็จเพื่อสามารถเปิดใช้งานได้ประมาณเดือนธันวาคม 2561

งานก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามแยกเสนานิคม มีความก้าวหน้า 56.79% โดยจะเร่งรัดงานก่อสร้างเพื่อเปิดใช้งานได้ประมาณเดือนเมษายน 2562 และงานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าข้ามทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ บริเวณห้าแยกลาดพร้าว มีความก้าวหน้า 89.18%

ส่วนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต มีความก้าวหน้า 77.21% แบ่งเป็นความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 1 ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ 71.50% สัญญาที่ 2 ช่วงสะพานใหม่ – คูคต 87.04% สัญญาที่ 3 ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 84.59% และ สัญญาที่ 4 งานระบบราง 74.31%

ทั้งนี้ โครงการฯ มีกำหนดก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จภายในปี 2562 และ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ดำเนินการติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2563

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Saturday, 01 December 2018 07:36
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM