December 18, 2024

กนอ.นำคณะผปก.ญี่ปุ่น ชมศักยภาพพื้นที่อีอีซี – เอสอีแซด ชี้ 4 แลนด์มาร์คอุตสาหกรรมที่นักลงทุนสนใจ พร้อมเตรียมพื้นที่กว่า 9.5 พันไร่ รับการลงทุน

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำคณะผู้ประกอบการและนักลงทุน ภายใต้ความร่วมมือของ Japan Industrial Location Center: (JILC) จากประเทศญี่ปุ่นร่วมชมนิคมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ)

เผยนักลงทุนและผู้ประกอบการในกลุ่มดังกล่าวให้ความสนใจในการเข้าร่วมลงทุนนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค และโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ในจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว และนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ในจังหวัดสงขลา เนื่องจากมีจุดยุทธศาสตร์และมีศักยภาพในการรองรับการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรมได้อย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตามขณะนี้ กนอ.ได้เตรียมความพร้อมพัฒนาพื้นที่ EEC และ SEZ ให้เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุนกว่า 9,500 ไร่ พร้อมด้วยบริการด้านสาธาณูปโภค สิทธิประโยชน์ทางภาษี สิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ เพื่อช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้กับนักลงทุนจากญี่ปุ่นต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น

นายจักรรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานบริการและลูกค้าสัมพันธ์เปิดเผยความคืบหน้าหลังจากที่กนอ. ได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับ Japan Industrial Location Center: (JILC) เพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านการลงทุนของนักธุรกิจ และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนระหว่างสองหน่วยงานในโครงการต่าง ๆ อาทิ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โครงการในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) และนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่อื่นๆ เพื่อขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีความจริงจังและเป็นไปได้มากขึ้น

กนอ.จึงได้นำคณะนักลงทุนและผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่เป็นสมาชิกของ JILC เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ EEC และ SEZ เพื่อให้ได้รับทราบถึงรายละเอียดและข้อมูลเชิงลึกของนิคมอุตสาหกรรม

เช่น สิทธิประโยชน์ โปรโมชั่น ความคืบหน้า การอำนวยความสะดวกและความเป็นไปได้ต่างๆ ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดความสนใจในการลงทุนบนพื้นที่ดังกล่าวต่อไป

นายจักรรัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ตลอดสัปดาห์ได้นำคณะผู้ประกอบการและนักลงทุนญี่ปุ่นกว่าเข้าชมนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC และ SEZ ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดสงขลา โดย กนอ.ได้นำเสนอพื้นที่นิคมฯ ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการรองรับการลงทุนทั้งอุตสาหกรรมเดิม และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งผลจากการดำเนินกิจกรรมพบว่า ในพื้นที่ EEC โครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค และโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ในจังหวัดระยอง เป็นพื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมที่นักลงทุนให้ความสนใจในการเข้าร่วมลงทุนมากที่สุด ส่วนพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน SEZ นิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว และนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ในจังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่ได้รับความสนใจในการประกอบกิจการเช่นเดียวกัน เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านของไทย มีจุดยุทธศาสตร์ที่ดีเยี่ยมทางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคอย่างดีเยี่ยม

สำหรับ คณะนักลงทุนและผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นที่เดินทางมาครั้งนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นนักลงทุนในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ต้องการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับ กนอ. และหน่วยงานส่งเสริมอุตสาหกรรมของไทยในการพบปะหารือและเจรจาธุรกิจ พร้อมนำไปสู่การเป็นพันธมิตรทางการส่งเสริมการลงทุนร่วมกันในอนาคต อย่างไรก็ตาม กนอ.ได้เตรียมความพร้อมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพให้เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุนในพื้นที่ EEC และ SEZ เพื่อรองรับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวกว่า 9,500 ไร่ รองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมด้วยบริการด้านสาธาณูปโภค สิทธิประโยชน์ทางภาษี และสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบริการด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้นักลงทุนญี่ปุ่นได้มีความมั่นในการขยายกิจการในประเทศไทย นายจักรรัฐ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองประชาสัมพันธ์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถนนนิคมมักกะสัน กรุงเทพฯ โทร. 02 2530561 หรืออีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Friday, 22 March 2019 05:10
ชัยวัฒน์ ชัยอนันต์

Author : เกาะติดข่าวแอฟริกา ลาติน

Latest from ชัยวัฒน์ ชัยอนันต์

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM