นักลงทุนใน-นอก รุมจีบ “สยามพิวรรธน์” ร่วมทุน ผุดเอาต์เลตแรกใกล้สุวรรณภูมิ

นายชลชาติ เมฆสุภะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและการลงทุน บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าบริษัทฯร่วมทุนกับ ไซม่อนกรุ๊ป

โดยไซม่อนกรุ๊ป บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก จากสหรัฐฯ ขณะเยี่ยมชม Woodbury Premium Outlets ซึ่งเป็นเอาต์เลตสาขาหนึ่งของไซม่อนกรุ๊ป ว่า ปลายเดือนพฤศจิกายน จะเปิดเผยชื่อและรายละเอียดของโครงการความร่วมมือ บนแนวคิดคอมเพล็กซ์ พื้นที่ประมาณ 150 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณติดไฮเวย์ ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิไม่มาก ประกอบด้วย เอาต์เลต เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ และหมู่บ้านที่พักอาศัย โดยในส่วนของเอาต์เลต แบ่งเป็น 3 เฟส

เฟสแรกพื้นที่ขายประมาณ 3 หมื่นตารางเมตร เริ่มก่อสร้างเดือนตุลาคมนี้ และใช้เวลาก่อสร้างและตกแต่งประมาณ 9 เดือน ก่อนเปิดให้บริการในไตรมาส 4 ปี2562

จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างด้านเอ็นเตอร์เทนต์เม้น และพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อเปิดบริการในปี 2563-64 พร้อมกับพัฒนาเอาท์เลตเฟส2-3 ภายใน 2-3 ปี ซึ่งในส่วนเอาท์เลตจะใช้งบประมาณ 4,000 ล้านบาท ส่วนรูปแบบนั้นอยู่ระหว่างการดำเนินการเช่นกัน เน้นดีไซต์ที่แปลกใหม่ ทั้งนี้ในความร่วมมือกับไซม่อนกรุ๊ป จะร่วมพัฒนาเอาต์เลต 3 แห่งใน 5 ปี คือ ที่กรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคใต้ เน้นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวและใกล้สนามบิน รวมลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท

“ในการสร้างโครงการที่เป็นจุดหมายปลายทางด้านช้อปปิ้ง กินดื่ม บันเทิง และมิกซ์ยูส สร้างลักชัวรี่พรีเมี่ยมเอาท์เล็ตในประเทศไทย รองรับตลาดนักท่องเที่ยวและคนไทยที่นิยมการเดินทางซื้อสินค้าลักชัวร์รี่แบรนด์ระดับโลก ซึ่งหลังจากบริษัทฯได้ประกาศความร่วมมือกับไซม่อน พบว่าได้รับความสนใจจากเจ้าของแฟชั่นแบรนด์ดัง และบางแบรนด์จะมาเปิดเอาต์เลตเอ็กคลูทีฟเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น จึงมั่นใจว่าจะมีกำลังซื้อสูงกว่ามาเลเซียซึ่งเป็นหนึ่งประเทศที่้่ร่วมกับไซม่อน ประมาณ 20% หรือผู้เข้าใช้บริการ 1.3-1.5 หมื่นคนต่อวัน สัดส่วนเป็นคนไทย 60% และต่างชาติ 40% เช่นเดียวกับผู้พัฒนาหมู่บ้านสนใจเข้าร่วมโครงการสร้างหมู่บ้านแล้ว 2-3 ราย บนพื้นที่กว่า 50 ไร่ เริ่มราคาต่อยูนิต 7-8 ล้านบาท” นายชลชาติ กล่าว

นายชลชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับการขยายธุรกิจในต่างประเทศ นั้น ขณะนี้ได้มีนักลงทุนหลายรายโดยเฉพาะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน พม่า เวียดนาม และมาเลเซีย ติดต่อให้บริษัทฯเข้าไปร่วมทุนและร่วมพัฒนาศูนย์การค้าและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้เกิดการร่วมทุนคือผู้ร่วมทุนและทำเลที่ตั้งว่ามีศักยภาพเหมาะสมที่สุด ไม่มีปัจจัยเรื่องการเมืองและภาวะเศรษฐกิจผันผวน โดยที่มีโอกาสมากสุดคือเวียดนาม และน่าจะมีความชัดเจนภายใน 3 ปีจากนี้ นอกจากนี้ บริษัทกำลังอยู่ระหว่างเจรจาซื้อธุรกิจหรือโครงการในไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีก เพื่อแตกไลน์สู่ธุรกิจใหม่ๆ โดยที่ซื้อมาแล้ว อาทิ ธุรกิจแฟชั่น เครื่องสำอางค์ F&B และ AUDIROTIUM เป็นต้น

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 15:09
บุญส่ง พัฒนรัตนาภพ

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้างและอุตสากรรมหนัก Discover Megadyne Industries, ข่าวเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ก่อสร้าง, ตลอดจนเรื่องราวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นการขุดอุโมงค์, การปล่อยของเสีย, สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

Tweet Feed

Post Gallery

"เทระวัตต์ เอนเนอร์จี" ผนึก 4 พันธมิตรชูบริการ "ONE STOP SERVICE" จากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก เปิดตัว ‘SigenStor’ All-in-One โซลูชันระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมแบตเตอรี่ และ AI อัจฉริยะ เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก SIGENERGY ครั้งแรกในประเทศไทย

อร่อยกับ “มาม่า” แล้วไปสนุกจัดเต็มกับคอนเสิร์ตออร์เคสตราสุดยิ่งใหญ่  “Bodyslam Power of The B-Side Concert ความฝันกับจักรวาล”

แกร็บ ผนึก กทม. หนุนนโยบายสร้างเมืองปลอดภัย  ดึง บุ๋ม ปนัดดา ปลุกพลังคนขับป้องกันภัยคุกคามทางเพศ

กลุ่มธุรกิจ TCP ผสานพลัง บีไอจี นำไนโตรเจนคาร์บอนต่ำใช้ในกระบวนการผลิตมุ่งสู่ Net Zero

finbiz by ttb แนะธุรกิจ SME นำ AI เทคโนโลยีอัจฉริยะ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เผยความต้องการซื้อรถยนต์มือสองตลาดภูมิภาคมีแนวโน้มเติบโต AUCT จับมือไฟแนนซ์เปิดประมูลขายทั่วประเทศไม่มีวันหยุด

N Health Novogene จับมือ ศิริราชพยาบาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ เท็นกุ (Xcoo) บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น พัฒนาแพลตฟอร์มแปลผลการกลายพันธุ์ของยีนมะเร็ง โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลจากโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย

โฟร์ ฟูดส์ เปิดบ้านนำทีมเสือร้องไห้ บุกโรงงานผลิตผงปรุงรสแบบใกล้ชิดทุกขั้นตอนการผลิต

“แอลเลอร์แกน เอสเธติกส์” ฉลองความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่  ยกระดับมาตรฐานจริยธรรมในวงการความงามไทยให้เติบโตอย่างยั่นยืน  พร้อมเปิดตัว ฮาร์โมนิก้า เทรนด์ความงามล่าสุดบุกตลาดอัปผิวแน่

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM