IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีแพนเนล จำกัด (มหาชน) หรือ CPanel ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พรีคาสท์ด้วยระบบอัตโนมัติ (Fully Automated Precast) ที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปี 2565 นี้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น จากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ทำให้ลูกค้าต้องการสินค้าเร็วขึ้น เนื่องจากพรีแคสต์ที่ตอบโจทย์ตลาดบ้านระดับบนและล่าง โดยตอนนี้อยู่ระหว่างการเจรจาลูกค้ารายใหม่เพิ่มอีก 7 ราย จึงมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตรองรับรายได้ครึ่งปีหลังคาดโตทะลุ 50% รวมถึงเตรียมเพิ่มศักยภาพการผลิตโรงงานที่ 2
บริษัทยังมีมุมมองเชิงบวกต่อภาพธุรกิจในปี 2565 แม้จะยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศ แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่กลับไปใช้นโยบายล็อกดาวน์เหมือนปีก่อนที่ผ่านมา
รวมถึงยังมีปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ การปลดล็อกมาตรการกำหนดอัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน (มาตรการ LTV) และสิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมถึงการบริโภคภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้บริษัท เชื่อว่าเทรนด์ปีนี้จะเป็นปีที่ดีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งจะส่งผลบวกต่อเนื่องมายัง CPanel อีกด้วย
โดย CPanel เพิ่งโชว์รายได้ปีบัญชี 2564 ที่ทำรายได้สูงถึง 312.44 ล้านบาท โตทะลุเป้าหมาย 40% กำไรสุทธิ 31.80 ล้านบาท กำไรโต 142% ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีงานในมือ (Backlog) อยู่ที่ 1,250 ล้านบาท และได้เซ็นสัญญารับงานใหม่ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา อยู่ระหว่างการทยอยส่งมอบ และได้ทยอยรับรู้รายได้ไปแล้วบางส่วน รวมถึงมีลูกค้าอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สัดส่วนประมาณ 10-15% ที่เหลือเป็นลูกค้าเขตรอบๆและเขตกรุงเทพฯปริมณฑล โดยกำลังการผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 60% คาดครึ่งปีหลังนี้จะเพิ่มอีกประมาณ 60 จากออเดอร์กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น
สำหรับการลงทุนในปี 2565 นี้ บริษัทฯตั้งงบลงทุนราว 30-40 ล้านบาท เพื่อใช้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยหลักเป็นการลงทุนทั้งในซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อลดการพึ่งพากำลังคน นอกจากนี้ บริษัทยังวางงบลงทุนราว 100-150 ล้านบาทเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 2 โดยความคืบหน้าการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตโรงงานเดิมคาดว่าจะติดตั้งในช่วงไตรมาส 2/2565 นี้ โดยบริษัทฯเป็นรายแรกที่นำเทคโนโลยีสำหรับผลิตพรีคาสให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและจะสามารถขยายกำลังการผลิตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนการลงทุนเครื่องจักรผลิตพรีแคสต์ สำหรับโรงงานแห่งที่ 2 อยู่ระหว่างการสรุปสั่งซื้อหลังจากเดินทางไปดูเครื่องจักรที่ประเทศเยอรมนี คาดว่าจะเริ่มเข้ามาติดต้งได้ในช่วงไตรมาส2 ของปีนี้ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้อย่างเร็วในช่วงปลายปี 2566 หรืออย่างช้าในช่วงต้นปี 2566
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามจากภาวะเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นสูง แม้บริษัทจะสามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาขายได้ ซึ่งในระยะสั้นลูกค้ายังมีกำลังซื้อคอนกรีตสำเร็จรูปที่ถูกปรับราคาขึ้นบ้าง แต่ประเมินว่าในระยะยาวความสามารถในการซื้ออาจปรับตัวลดลง จากปัจจัยเสี่ยงที่ยังกดดันส่งผลให้ CPanel คงเป้าหมายการเติบโตของรายได้ปีนี้ที่ 25% หรือประมาณ 400 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 312.44 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประเมินภาพธุรกิจในระดับ B ถึง B+ เท่านั้น หากปัจจัยเสี่ยงสามารถคลี่คลายลง เชื่อว่ารายได้รวมปี 2565 จะมีโอกาสเติบโตมากกว่าที่ประเมินเอาไว้ โดยปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ราว 1,280 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้ในช่วง 3 ปีนี้ (2565-2567)
“มองไปข้างหน้าในอีก 3-5 ปี เชื่อว่าธุรกิจ Precast จะยังเติบโตได้อีกมาก และเชื่อว่าจะเติบโตได้มากกว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต จากปัจจุบันที่ธุรกิจนี้ยังมีมูลค่าตลาดเพียง 3-5% ของมูลค่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ประกอบกับบริษัท สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดี และมีราคาขายที่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นแรงหนุนต่อธุรกิจในอนาค”
ปัจจุบัน CPanel มีฐานลูกค้าอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นหลัก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้าน คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ และโรงแรม แต่ในปี 2565 บริษัทมีแผนขยายฐานลูกค้าในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยหลักจะขยายไปยังพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งได้อานิสงส์จากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐ
ส่วนแผนการขยายฐานลูกค้า บริษัทฯยังคงรักษาฐานลูกค้าเดิมและเดินหน้าทำตลาดแนะนำผลิตภัณฑ์กับลูกค้ารายใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นกลุ่มผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มขยายโครงการทั้งแนวราบและแนวดิ่ง โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการประสานงานกับลูกค้า การบริหารจัดการภายใน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้สามารถทกำไรได้มากขึ้น
โดยภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณที่ดี เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัว กำลังซื้อผู้บริโภคกลับมาในหลายพื้นที่ รวมถึงภาครัฐมีการปลดล็อกมาตรการแอลทีวี ส่งผลให้โครงการบ้านยังเป็นที่ต้องการ โดยเฉพาะระดับกลาง-บน ซึ่งเป็นฐานลูกค้าของบริษัทฯ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ จึงวางแผนการลงทุนโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปมากขึ้น
“แนวโน้มการฟื้นตัวของอสังหาฯ คาดว่าการแข่งขันของผู้ประกอบการจะยิ่งสูงขึ้น โดยต้องการความรวดเร็วในการส่งมอบงานได้ทันเวลา ลดต้นทุนการก่อสร้าง ลดจำนวนแรงงาน รวมถึงสามารถรักษาเงินทุนหมุนเวียน (Working Cap) ในการดำเนินงานได้ ซึ่งแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ดี เนื่องจากเทคโนโลยีกระบวนการผลิตที่สั้น ตั้งแต่ออกแบบจนถึงส่งมอบบ้านหลังแรกได้ภายใน 15 วันและหลังถัดไปได้ประมาณ 7 วันนับจากวันที่ลูกค้ายืนยันแบบของบริษัทฯ จึงได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าจะสร้างการเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้” นายชาคริต กล่าวทิ้งท้าย