January 22, 2025

กระทรวงพลังงานมั่นใจ “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี เอเชีย” ขับเคลื่อนอนาคตไทยสู่ “พลังงาน 4.0” เน้นความยั่งยืนด้านพลังงานและการสร้างโอกาสใหม่ๆ เป็นสำคัญ

ด้วยเป้าหมายที่ท้าทายในการก้าวเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานยั่งยืนของเอเชีย ประเทศไทยคาดหวังว่างานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมด้านพลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย หรือ Future Energy Asia Exhibition & Conference (FEA) 2018 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคมนี้

จะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงาน 4.0 และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ value-based economy หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม"

FEA 2018 จัดขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงพลังงานของไทย เพื่อเป็นเวทีพบปะและแลกเปลี่ยนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในแวดวงพลังงานทั้ง energy value chain จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งรวมถึงผู้นำจากภาครัฐ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานครบวงจร ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสะอาด ผู้ประกอบการ และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งพร้อมจะรวมพลังเพื่อกำหนดกลยุทธ์สำหรับภูมิภาคเอเชียและตอบสนองความต้องการด้านพลังงานในอนาคต

คาดว่าจะมีตัวแทนภาคธุรกิจเข้าร่วมงานกว่า 8,000 คน ตลอดจน ผู้เข้าร่วมงานประชุมกว่า 1,000 ราย ผู้เชี่ยวชาญเชิงกลยุทธ์และด้านเทคนิคร่วมบรรยายกว่า 300 คน และบริษัทชั้นนำที่จะนำสินค้าและนวัตกรรมมาร่วมแสดงอีกกว่า 200 บริษัท

โดยงานครั้งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดการหารือจากผู้บริหารระดับสูง สร้างความร่วมมือใหม่ๆ สร้างโอกาสทางธุรกิจ และร่วมกันหาข้อสรุปในการส่งเสริมให้เกิดทางเลือกด้านพลังงานแบบผสมผสานจากทั่วเอเชียที่มีความปลอดภัย คาร์บอนต่ำ และราคาที่ไม่สูงมากนัก

งานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด The Future Energy Mix to 2030 โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนระดับรัฐมนตรีของรัฐบาลประเทศต่างๆ และผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจตัดสินใจ มาร่วมพูดคุย ถกเถียง และกำหนดทิศทางและแนวโน้มในอนาคตสำหรับเชื้อเพลิงแบบผสมผสานและเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็น โดยมุ่งความสนใจไปที่น้ำมันและก๊าซ เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพ และรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (lower-carbon economy)

คณะกรรมการจัดงาน Future Energy Asia ประกอบด้วยผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมพลังงานที่มาร่วมหารือเพื่อสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าและการประชุม Future Energy Asia ประเด็นสำคัญในการอภิปราย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสู่ยุคดิจิตอล ปัจจัยขับเคลื่อนความต้องการพลังงานในอนาคต การพัฒนาโครงการก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย และผู้ผลิต LNG ที่กำลังเติบโตและเป็นที่รู้จักจากทั่วโลก

"จากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีจำกัด คาดว่าปริมาณการนำเข้า LNG จะเพิ่มขึ้นเป็น 34.4 ล้านตันในปี 2579 กระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติให้เอื้อต่อการเข้าถึงของผู้ประกอบการเพื่อลดปริมาณการนำเข้า LNG และให้เกิดการลงทุนในประเทศ เรากำลังศึกษาตัวเลือกต่างๆ ในแผนการเปิดเสรีเพื่อหาผู้เล่นรายใหม่ๆ มาลงทุนในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติของประเทศ ทั้งส่วนที่จะเป็นผู้ส่งออกรายใหม่ และกำลังมองหาพันธมิตรทางธุรกิจและโอกาสใหม่ๆ ด้วย" ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมจัดงาน FEA 2018

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า "ประเทศไทยพยายามอย่างเต็มที่ในการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 ซึ่งเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนและการพัฒนาพลังงานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและพลังงานทดแทนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ทั้งสามวันของการจัดงานครั้งนี้จะเป็นเวทีที่เหมาะสำหรับบรรดา บริษัทน้ำมันแห่งชาติ (NOCs) และ บริษัทน้ำมันข้ามชาติ (IOCs) ตลอดจนบริษัทด้านสาธารณูปโภคระดับชาติ และ ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสสระ (IPP) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสะอาด ผู้รับเหมาด้านวิศวกรรม และผู้จัดหาเงินทุน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของประเทศจากผู้จัดหาเชื้อเพลิงแบบเดิมๆ ไปเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานแบบครบวงจร นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยในการส่งเสริมโครงการด้านพลังงานใหม่ๆ ดึงดูดการลงทุนในภาคพลังงาน และการเป็นศูนย์กลางการสื่อสารกับนักลงทุนต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสร้างโอกาสการลงทุน"

นอกจากนี้ งาน FEA 2018 จะจัดการประชุมยุทธศาสตร์ (Strategic Conference) เป็นเวลา 3 วัน ซึ่งถือเป็นเวทีแรกของเอเชีย ซึ่งเป็นเวทีพบปะและแลกเปลี่ยนของผู้ที่มีอิทธิพล ความรู้ และประสบการณ์มากที่สุดในแวดวงอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซ และพลังงาน เพื่อแสวงหาความร่วมมือ ทำธุรกิจ และริเริ่มประเด็นการหารือ อันจะส่งผลต่อการตัดสินใจและกำหนดนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและนวัตกรรมทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าด้านพลังงาน

ในส่วนของนิทรรศการจะมีกิจกรรมที่เรียกว่า Centers of Technical Excellence (COTES) ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานประชุมด้านเทคนิคนี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อการประชุมกว่า 45 หัวข้อตลอดช่วง 3 วันของการจัดงาน และจะผลักดันให้มีการอภิปรายอย่างเข้มข้นเกี่ยวกับนวัตกรรมทางด้านเทคนิค ซึ่งจะมีบรรดาวิศวกร ช่างเทคนิค ผู้รับเหมา และหัวหน้าแผนก มาร่วมจำนวนมาก โดยทั้งหมดพร้อมจะเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีล่าสุดที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรม ทั้งยังเพิ่มโอกาสในการแสวงหาผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ จาก บริษัทที่เข้าร่วมแสดงงานอีกด้วย

เจ้าภาพร่วมจัดงาน Future Energy Asia 2018 ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมหรือลงทะเบียน กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ที่ www.futureenergyasia.com หรือติดต่อ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 20 November 2018 11:56
วาสนา วัฒนทรงธรรม

Author : เกาะติดข่าวสารวงการพลังงานในทุกมิติ ทั้งไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด พลังงานสีเขียว รวมถึงข่าวอื่นๆ ทั้งเรื่องของนวัตการรม การลงทุน หรือมาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาครัฐ ฯลฯ

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM