IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE เปิดเผยว่า สำหรับแผนการดำเนินงานนับจากนี้บริษัทฯได้ปรับสัดส่วนรายได้กลุ่มสินค้ามันสำปะหลัง และอาหารเพิ่มขึ้นเป้น 50% ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่คือ “แป้งฟลาวมันสำปะหลัง” เน้นตลาดคนรักสุขภาพเพื่อเสริมรายได้กลุ่มแป้งมัน และอาหารแตะระดับ 70% ในอนาคต จากรายได้หลักที่มาจากธุรกิจเอทานอล รองลงมาคือกลุ่มสินค้าแป้งมันสำปะหลัง แต่ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังที่ผ่านมา กลุ่มสินค้ามันสำปะหลังและเกษตรออร์แกนิคกลับเป็นสินค้าที่เติบโตด้านรายได้ขึ้นมาอย่างโดดเด่น โดยได้ตั้งเป้ารายได้ไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท
ฟลาวมันสำปะหลัง ตรา Tasuko และ Savvy ผลิตจากหัวมันสำปะหลังออร์แกนิค 100% ผ่านการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดี โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ฟลาวมันสำปะหลังปราศจากกลูเตน (Gluten Free) สามารถใช้ประกอบอาหาร และผลิตภัณฑ์เบเกอรีได้หลายชนิดเช่นเดียวกับแป้งสาลี
ทั้งนี้บริษัทเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคที่มีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี และจากความได้เปรียบในการเป็นเจ้าตลาดแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค ทำให้บริษัทฯได้ต่อยอดพัฒนาสินค้าออกมาเพื่อเจาะตลาดอาหารสุขภาพ ซึ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19ที่ผ่านมา ทำให้ทิศทางของผู้บริโภคหันมาสนใจดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเทรนด์กระแสสุขภาพที่มาแรงมาก ผลักดันให้มูลค่าตลาดออร์แกนิคในปัจจุบันอยู่ในระดับหลักแสนล้านบาท และเติบโตในตัวเลข 2 หลักตลอดทุกปี จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่บริษัทหันมาเน้น และให้ความสนใจที่จะนำกลุ่มสินค้าออร์แกนิคเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
แต่ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังที่ผ่านมา กลุ่มสินค้ามันสำปะหลังและเกษตรออร์แกนิคกลับเป็นสินค้าที่เติบโตด้านรายได้ขึ้นมาอย่างโดดเด่น โดยได้ตั้งเป้ารายได้ไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมาบริษัทฯได้เริ่มทำตลาดและได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้าฝั่งตะวันตกเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้ทางบริษัทเตรียมแผนที่จะนำสินค้าตัวนี้เจาะตลาดอาหารสุขภาพโลก เนื่องจากบริษัทฯมีตลาด-ลูกค้าที่รองรับอยู่ทั่วโลก สะท้อนผ่านจากสัดส่วนมาร์เก็ตแชร์ในตลาดแป้งออร์แกนิคเป็นอันดับ 1 ของโลกถึง 60% และในอนาคตทางบริษัทฯได้เตรียมเดินหน้ารุกธุรกิจเกษตรอินทรีย์ชนิดอื่นๆ ล่าสุดได้เริ่มปลูกกาแฟในพื้นที่สปป.ลาว 700 ไร่ โดยวางเป้าอนาคตอาจจะไปถึงระดับ 1 หมื่นไร่ รวมถึงกำลังศึกษาการปลูกข้าวอินทรีย์อีกด้วย หลังจากที่ได้ระดมทุนในตลาดหุ้น บริษัทเตรียมนำเงินระดมทุนส่วนใหญ่ จะนำมาใช้ในกลุ่มธุรกิจเกษตร และอาหารเป็นสำคัญ
โดยเตรียมงบการลงทุนเพิ่มประมาณ 800 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตแป้งฟลาวมันสำปะหลังเป็น 300 ตันต่อวัน นอกจากนี้ยังได้เพิ่มสายการผลิต ผลิตภัณฑ์สารให้ความหวาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปมันสำปะหลังออร์แกนิคที่มีมูลค่าสูง โดยกำลังผลิต 300 ตันต่อวัน รวมถึงปรับปรุงกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการผลิต อีกทั้งเตรียมก่อสร้างโรงสีเชอร์รี กาแฟออร์แกนิคในแขวงสาละวัน สปป.ลาว ซึ่งสามารถรองรับวัตถุดิบเชอร์รีกาแฟได้ 200 ตันต่อวัน และมีแผนก่อสร้างโรงคั่วกาแฟออร์แกนิค โดยโครงการดังกล่าว ภายในปี 2565-2566 ทั้งนี้แม้ธุรกิจในอนาคตทางบริษัทฯจะวางแป้งฟลาวเป็นเรือธงใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อยู่ดีว่าเรือธงปัจจุบันอย่างเอทานอลก็ยังคงเป็นรายได้หลัก โดยเอทานอลในเกรดอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สัดส่วนมาร์จินของเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมล่าสุดพุ่งขึ้นและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้บริหารจัดการของเสียครบวงจร โดยนำของเสียจากกระบวนการผลิตของ 2 โรงงาน ได้แก่ บริษัท อุบล ซันฟลาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง และของบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตเอทานอลเกรดเชื้อเพลิง 99.8% และเกรดอุตสาหกรรมสำหรับทำความสะอาดมือ 70 % โดยน้ำเสียและกากมันจากโรงงานผลิตแป้งมัน จะถูกลำเลียงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ ในถังซีเมนต์แบบไร้อากาศขนาดใหญ่ ส่วนกากมันถูกส่งบ่อหมักแบบ CLBR (Covered Lagoon Bio Reactor)ซึ่งเป็นระบบบ่อหมักกาก จำนวน 3 บ่อ ขนาดบ่อละ 43,000 ลบ.ม. สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 168,000 ลบ.ม./วัน สามารถนำไปเป็นเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 7.5 เมกกะวัตต์ ทดแทนการใช้น้ำมันเตาในการอบแป้งให้แห้ง ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 514,012 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ลดต้นทุนพลังงานคิดเป็นมูลค่า 81 ล้านบาทต่อปี
โดยน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ป้อนโครงการปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อเป็นอาหารสัตว์ และพลังงาน บนที่ดินของบริษัทฯ จำนวน 1,200 ไร่ และก่อสร้างท่อส่งน้ำบำบัดเพื่อการเกษตร มีเกษตรกรเข้าเป็นสมาชิก โดยผ่านการขออนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว 463 ครัวเรือน 2 อำเภอคือ ได้แก่ อำเภอนาเยีย และสว่างวีระวงศ์ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ รวมมูลค่าโครงการกว่า 500 ล้านบาท
ด้านนางสาวสุรียส โควสุรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล หรือ UBE ผู้ผลิตและแปรรูปมันสำปะหลังแบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยว่า UBA ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ได้เข้าซื้อกิจการ บจก.อุบลแสงอาทิตย์ ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จากบริษัท เบย์วา อาร์.อี. โซล่าร์ พีทีอี แอลทีดี ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ โดยมีมูลค่าการซื้อขาย จำนวน 82.41 ล้านบาท โดยกลุ่มบริษัท UBE มีเป้าหมายที่จะสร้างพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้เองภายในกลุ่มบริษัททั้งหมดครบ 100% เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและลดการพึ่งพิงพลังงานจากภายนอก รวมถึงเป็นการสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการดำเนินงานตามกรอบธุรกิจแบบ ESG ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) ในการมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า มีประสิทธิภาพ และรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท UBE ยังประกอบธุรกิจผลิตก๊าซชีวภาพและไฟฟ้า โดยใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเอทานอลและแป้งมันสำปะหลัง ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยลดอัตราการใช้พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยปัจจุบัน มีโรงผลิตก๊าซชีวภาพ 3 โรง ได้แก่ โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ MUR (Methane Upflow Reactor) ดำเนินการโดย UBE โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket) ผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 1.9 เมกะวัตต์ และโรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ CLBR (Covered Lagoon Bio-Reactor) ผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 5.6 เมกะวัตต์ ดำเนินการโดย บจ. อุบลซันฟลาวเวอร์ (UBS) ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มบริษัทอีกทางหนึ่ง ตลอดจนช่วยยกระดับความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของประเทศ และเป็นการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
“ความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการ บจ.อุบลแสงอาทิตย์ นับเป็นการต่อจิ๊กซอว์อีกชิ้นที่สำคัญในด้านการสร้างความมั่นคงทางพลังงานแบบหมุนเวียนครบวงจรเพิ่มเติมจากหลายโครงการที่กลุ่มบริษัท UBE ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการนำของเสียจากกระบวนการผลิตมาสร้างเป็นพลังงานหมุนเวียน โดยครั้งนี้เป็นการสร้างสรรค์พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ใช้พื้นที่ภายในให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ สามารถช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตได้ประมาณ 9 ล้านบาทต่อปี การเข้าซื้อกิจการดังกล่าว จะเสริมศักยภาพให้กลุ่มบริษัท UBE สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 10 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง จากพลังงานทดแทน ให้เป็นไปตามเป้าหมายจะใช้พลังงานสะอาด 100%” นางสาวสุรียส กล่าวทิ้งท้าย