IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายณพ ณรงค์เดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) เปิดเผยว่า นางนวลศรี ม่วงศิริ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ทำหน้าที่แทนผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ทำหนังสือเลขที่ S62300/107967 เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา แจ้งอนุมัติการเริ่มต้นกระบวนการซื้อขายไฟฟ้า (COD) พลังงานลม ของบริษัท เทพารักษ์ วินด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH หนึ่งในผู้นำธุรกิจพลังงานลมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว
โดยบริษัท เทพารักษ์ วินด์ฯ ตั้งโรงไฟฟ้าพลังลมโครงการ T1 อยู่ในพื้นที่ อ.เทพารักษ์ จ.นครราชสีมา
ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าพลังลมกับ กฟผ. ปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญา 90 เมกะวัตต์ เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าระดับแรงดัน 115 กิโลโวลต์ ผ่านระบบจำหน่ายของการไฟฟ่าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เข้ากับสถานีไฟฟ้าแรงสูงสีคิ้ว 3 ของ กฟผ.
ล่าสุด ผลทดสอบการปลดการเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพบว่าในขณะทดลองจ่ายโหลดนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายไฟฟ้าของ กฟภ. และผลการประเมินระดับคุณภาพของบริษัทฯ พบว่าค่าแรงดันไฟฟ้า, ค่าความถี่ไฟฟ้า, ค่าฮาร์มอนิก, ค่าแรงดันกระเพื่อม และค่าตัวประกอบกำลัง ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหมด
"กฟผ. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัท เทพารักษ์ วินด์ จำกัด ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าก่อนการซื้อขายไฟฟ้าครบถ้วน และผ่านเกณฑ์การขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว จึงเห็นชอบให้บริษัทฯ เริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (COD) ในวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561
นายณพ กล่าวอีกว่า บริษัทฯ มีความภาคภูมิใจที่โครงการวินด์ฟาร์ม หรือ ทุ่งกังหันลมต่างๆ คืบหน้าไปด้วยดีตามแผนงาน โดยปัจจุบัน COD ไปแล้ว 537 เมกะวัตต์ และเมื่อทุกโครงการเสร็จสมบูรณ์ภายในช่วงต้นปี 2562 ทาง WEH จะมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากทุ่งกังหันลมในไทย รวมทั้งสิ้นจำนวน 717 เมกะวัตต์ ขึ้นมาเป็นผู้พัฒนาและดำเนินงานด้านกระแสไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น ยังมีแผนขยายธุรกิจพลังงานทดแทนสู่ตลาดต่างประเทศด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลายมากขึ้น