IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง ชี้แจงว่า การยางแห่งประเทศไทย ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงการคลังในโครงการ ช้อปช่วยชาติ
ซึ่งผู้ซื้อยางสามารถนำหลักฐานการซื้อยางล้อดังกล่าวและคูปองที่ทางร้านมอบให้ไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ในวงเงิน 15,000 บาท กยท.
จึงได้เชิญชวนให้ผู้ผลิตยางล้อที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยทุกรายเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม2561 -15 ม.ค. 2562 เพื่อเป็นการสนองนโยบายการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศของรัฐบาล ภายใต้เงื่อนไขให้บริษัทผู้ผลิตยางล้อที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางหรือ กยท.โดยตรง กยท.จะออกหลักฐานเป็นคูปองให้บริษัทนั้นๆ เพื่อมอบให้ผู้ซื้อยางในโครงการช้อปยางล้อช่วยชาติของกระทรวงการคลัง
นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากเปิดโครงการแล้ว ได้มีบริษัทยางล้อบางบริษัทได้แจ้งว่าไม่สามารถทำตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ เพราะการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบคือยางพาราต้องส่งตัวอย่างไปให้บริษัทแม่ที่อยู่ต่างประเทศตรวจสอบและรับรองก่อนซึ่งจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน จึงเลยช่วงเวลาของโครงการช้อปช่วยชาติ ประกอบกับกังวลว่าสถาบันเกษตรกร หรือ กยท. อาจส่งมอบวัตถุดิบไม่ตรงตามกำหนดเวลาจึงยื่นเรื่องขอซื้อยางพาราจากบริษัทเอกชนคู่ค้าประจำที่มีสัญญาซื้อขายกันอยู่และบริษัทคู่ค้าดังกล่าวได้รับการรับรองคุณภาพจากบริษัทแม่ในต่างประเทศแล้ว
"กยท.ได้นำเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา ซึ่งต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งว่า หากอนุมัติให้บริษัทที่ไม่ได้ซื้อยางพาราโดยตรงจากสถาบันเกษตรกรหรือ กยท. จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ซื้อยางพาราโดยตรงจากเกษตรกร ประกอบกับหากบริษัทที่ขายยางพาราให้กับบริษัทผลิตยางล้อ นำยางเก่าในโกดังของบริษัทที่ซื้อเก็บไว้มาขายต่อ จะไม่เป็นการดูดซับยางออกจากตลาด ซึ่งจะทำให้ไม่มีผลต่อการรักษาเสถียรภาพราคายางตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย"
ขณะนี้มีบริษัทยางล้อได้เข้าร่วมโครงการ แล้ว 7 บริษัท ประกอบด้วย IRC, Maxxis, N.D Rubber, Deestone, OTANI, Zhongce rubber และ V-Rubber ซึ่งมียอดสั่งซื้อวัตถุดิบยางประมาณ 3,000 ตัน โดยมีการจับมือกับภาคสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางไปแล้ว อาทิ สหกรณ์กองทุนสวนยางเขาซก จำกัด สหกรณ์กองทุนสวนยางบ่อทอง จำกัด สหกรณ์กองทุนส่วนยางคลองปราง จำกัด สหกรณ์กองทุนส่วนยางหนองบัว จำกัด และสหกรณ์กองทุนสวนยางปฏิรูปที่ดินท่าแซะ จำกัด เป็นต้น
รองผู้ว่าการฯ กยท. กล่าวย้ำว่า "เงื่อนไขที่กำหนดให้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการช้อปยางช่วยชาติดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่ข้อจำกัดในการล๊อคสเปคหรือกีดกันบริษัทใดบริษัทหนึ่งในการเข้าร่วมโครงการ ช้อปช่วยชาติแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเป็นเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นมาตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราโดยตรง ในการแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำอย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปซื้อยางพาราในราคานำตลาดมาเก็บรักษาไว้ในให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการเก็บรักษาด้วย"
คาดว่าโครงการนี้ จะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศโดยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพารา เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางมีโอกาส ได้จำหน่ายผลผลิตยางพาราให้กับผู้ผลิตยางล้อโดยตรง และยังส่งเสริม สนับสนุนโครงการของรัฐบาลในมาตรการใช้จ่ายในประเทศ และช่วยเหลือประชาชนในการลดหย่อนภาษีควบคู่ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค