IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
ชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากยกเลิกการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากร (Change in Tariff Classification : CTC) ว่าด้วยการลดภาษีลงมาเป็นศูนย์ (Zero-Tariff Barriers) ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไข
โดยชิ้นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิก CTC มี 5 ประเภท คือ
- เพลา (Axle) และ เพลาขับ (Drive Shaft)
- ตัวถัง และแชสซี
- ระบบบังคับเลี้ยว (Steering)
- ระบบกันสะเทือน (Suspension)
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
โดยชิ้นส่วนทั้ง 5 ประเภทนี้ จำเป็นต้องผลิตขึ้นจากวัสดุจากประเทศสมาชิก NAFTA มากกว่า 75% จึงจะได้รับการรับรองให้สามารถวางจำหน่ายโดยไม่เสียภาษีได้
หากต้องการให้ชิ้นส่วนยานยนต์ทั้ง 5 ประเภทนี้ได้รับการรับรอง มี 2 ทางเลือก
- ใช้วัสดุจากในภูมิภาคมากกว่า 60%
- หากผลิตจากวัสดุในภูมิภาคอื่น สามารถรับการรับรองได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรในระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading: CTH)
อย่างไรก็ตาม เม็กซิโกมีผู้ผลิตวัตถุดิบอยู่น้อยราย ซึ่ง Mr. Daisuke Shiga จาก Japan External Trade Organization (JETRO) ได้ชี้แจงว่า “ที่ผ่านมา ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นปฏิบัติตามมาตรฐาน “CTC” โดยนำเข้าวัสดุจากญี่ปุ่นแล้วทำการผลิตในเม็กซิโก ทำให้ได้เป็นซัพพลายเชนที่สามารถส่งสินค้าเข้าขายในสหรัฐฯ ได้โดยไม่เสียภาษี Mr. Makoto Ono หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Mizuho Research Institute กล่าวว่า “หลังจากนี้ ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนไปใช้วัสดุจากประเทศใน NAFTA แทน” ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการผลิตเปลี่ยนไปจากเดิม และแน่นอนว่าจะส่งกระทบไปถึงอุตสาหกรรม Machine Tools ด้วย
นอกจากมาตรฐาน CTC แล้ว NAFTA ยังระบุถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการใช้วัสดุในภูมิภาค ซึ่งจากเดิมอยู่ที่ 62.5% เพิ่มเป็น 75% และต้องผลิตโดยคนงานที่ต้องได้ค่าจ้างมากกว่าชั่วโมงละ 16 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะส่งผลให้ผู้ผลิตยานยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องปรับตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้
ที่มา : M Report