IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
โรงงานอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบการ ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น สำหรับก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปรสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ หรือพลังลม แก๊ส ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความถึง เครื่องอุปกรณ์ ไฟลวีล ปุลเล่ สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กันและรวมถึงเครื่องมือกลด้วย โดยเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงาน สามารถจำแนกประเภทของเครื่องจักรออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
- เครื่องต้นกำลัง เป็นเครื่องจักรที่ใช้ผลิตหรือเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ใช้สำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล นอกจากนั้น ก็ยังมีเครื่องต้นกำลังอื่นๆ เช่น หม้อไอน้ำ เครื่องยนต์ เป็นต้น
- เครื่องส่งกำลัง คือ อุปกรณ์ที่ใช้ส่งผ่านกำลังจากเครื่องต้นกำลังไปใช้งานอื่นต่อไป เช่น เพลา สายพาน โซ่ เฟือง ท่อลมอัดต่างๆ เป็นต้น
- เครื่องจักรทำการผลิต เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตต่างๆ ประกอบด้วยเครื่องจักรที่แยกทำงานเฉพาะในแต่ละเครื่อง เช่น เครื่องเจาะ เครื่องอัด เครื่องตัด เครื่องกลึง เครื่องไส เป็นต้น และเครื่องจักรที่ออกแบบพิเศษเป็นลักษณะสายการผลิตที่ทำงานต่อเนื่อง เช่น เครื่องรีดโลหะ เครื่องผลิตท่อน้ำ เครื่องผลิตขวดแก้ว เครื่องผลิตภาชนะพลาสติก เครื่องบรรจุอาหาร เป็นต้น เครื่องจักรเหล่านี้ ล้วนทำการผลิตต่างๆ จากวัตถุดิบหรือชิ้นงานให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์
เครื่องจักรส่วนใหญ่มักมีการใช้พลังงานในการขับเคลื่อน มีทั้งพลังงานความร้อน และพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติงานของพนักงานในฝ่ายการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ เป็นปัจจัยสำคัญ 1 ใน 4 อย่าง (4M ซึ่งประกอบด้วย คน เครื่องจักร วัตถุดิบ และวิธีการ) ของการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาดีตามความต้องการ
ดังนั้น สมรรถนะความพร้อมในการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร จึงมีความจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเครื่องมือบกพร่องหรือใช้ไม่ได้ นั่นก็คือ องค์ประกอบในการทำงานไม่สมบูรณ์หรือไม่ครบ ผลผลิตก็จะไม่สามารถผลิตออกมาได้หรือได้ก็ไม่ดี นอกเหนือจากนั้นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานของระบบการผลิตขาดประสิทธิภาพ ทำให้ต้องพบกับความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอย่างสม่ำเสมอ เป็นผลทำให้เกิดการสูญเสียต้นทุนทางธุรกิจอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าไม่มีการแก้ไขจะส่งผลกระทบกับทางธุรกิจเป็นอย่างแน่แท้ อุตสาหกรรมการผลิตในอดีตได้เน้นการผลิตในเชิงปริมาณ นั้นคือ การผลิตที่ไม่คำนึงถึงคุณภาพของสินค้าที่ผลิตมาได้ ทำให้สินค้าที่ผลิตมานั้นไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเน้นการผลิตที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตที่ราคาถูกไม่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นการผลิตที่เน้นจำนวนการผลิตที่มากๆ และลดต้นทุนโดยการเลือกใช้วัสดุที่คุณภาพต่ำ สร้างผลตอบแทนทางด้านกำไรให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี
ฉะนั้น การสร้างระบบบริหารการบำรุงรักษา (Maintenance) ของโรงงานให้มีมาตรฐาน ประกอบกับการสร้างระบบการบริหาร
จัดการที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลในการลดความสูญเสียเกิดขึ้นและลดต้นทุนขององค์กรได้มากขึ้น กิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลทั่วทั้งองค์กร (Total Productive Maintenance) หรือ TPM จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาความสูญเสียที่เกิดขึ้น ตามสายงานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง Corrective Maintenance คือ
ระบบการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง หรือ Corrective Maintenance คือการแก้ไขจุดที่เป็นปัญหาของเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาลง ซึ่ง Corrective Maintenance มีเป้าหมายเพื่อลดการสูญเสียของต้นทุนในการซ่อมแซม รวมไปถึงยืดอายุในการใช้งานที่ยาวขึ้น ถือว่า Corrective Maintenance เป็นแนวทางในการซ่อมบำรุงที่สำคัญกว่าลักษณะอื่นๆ
TPM กับการบำรุงรักษารอบทิศองค์กร
ระบบ TPM แบบดั้งเดิมของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร ถึงแม้ว่าจะมุ่งที่จะไปให้ถึงขีดจำกัดสูงสุดของประสิทธิภาพของเครื่องจักรโดยการปรับปรุงวิธีการสร้างเครื่องจักร การบำรุงรักษาเครื่องจักรก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มุ่งไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดของระบบการผลิตโดยก้าวไปถึงวิธีการใช้เครื่องจักรลักษณะพิเศษของระบบ TPM คือ ‘การบำรุงรักษาด้วยตนเองของพนักงาน’ นั่นหมายถึง เครื่องจักรของเราดูแลรักษาโดยตัวเราเอง
การควบคุมดูแลเครื่องจักรก็คือการควบคุมดูแลสุขภาพของเครื่องจักรการดูแลรักษาร่างกายของมนุษย์ด้วยวิชาการแพทย์เชิงป้องกัน ทำให้สามารถยืดอายุขัยของมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก การบำรุงรักษาเชิงป้องกันก็คือ วิชาการแพทย์เชิงป้องกันนั่นเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักการดูแลรักษาสุขภาพของเครื่องจักรนั่นเอง
นอกจากนั้น เพื่อที่เราจะสามารถรักษาสุขภาพให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ ก็ทำได้โดยการให้หมอที่มีความชำนาญทางด้านนี้โดยเฉพาะตรวจวินิจฉัยสุขภาพตามเวลาที่กำหนดเพื่อให้สามารถตรวจให้พบสิ่งที่ผิดปกติได้โดยเร็วแล้ว จะได้ทำการรักษาได้โดยเร็ว ในทำนองเดียวกันพนักงานก็เช่นเดียวกัน เครื่องจักรที่เราใช้ เราก็ต้องดูแลรักษาด้วยตัวเราเอง อันนี้แหละที่เรียกว่าบำรุงรักษาด้วยตัวเอง
การที่เครื่องจักรเสียหรือมีของเสียเกิดขึ้นก็เพราะเครื่องป่วย เพื่อที่จะไม่ให้เครื่องจักรป่วยก็ต้องบำรุงรักษาเป็นประจำทุกวัน (ทำความสะอาด, หยอดน้ำมัน, ขันน็อต, ตรวจเช็ก) อย่างจริงจัง นอกจากนั้น ยังต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการตรวจเช็กตามเวลาที่กำหนด แล้วทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาสำหรับแนวคิดในเรื่องการควบคุมเครื่องจักรของญี่ปุ่นนั้น ได้ผ่านมาจากยุคของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันไปสู่การบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มผลผลิต แล้วก็ได้พัฒนาไปสู่ยุคของ TPM ในปัจจุบัน
TPM มีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการผลิตไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดแม้ว่าระบบการผลิตส่วนมากจะเป็นระบบ Man – Machine ซึ่งรวมถึงระบบอัตโนมัติที่กำลังพัฒนาควบคู่ไปกับระบบการผลิตด้วย แต่ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า วิธีการสร้างเครื่องจักร การใช้เครื่องจักร การบำรุงรักษาดูแลเครื่องจักรนั้นมีผลต่อของดีของเสียโดยตรงเลยทีเดียว แต่ว่า TPM นั้นมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตโดยรวมไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดโดย การปรับปรุง (Kaizen) วิธีการสร้างเครื่องจักรวิธีการใช้เครื่องจักร และวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยการขจัดความสูญเปล่า เนื่องจากการเปลี่ยนรุ่น หรือเครื่องจักรเสีย โดยการขจัดการสูญเสียความรวดเร็วอันเนื่องมาจาก การหยุดเล็กๆ น้อยๆ ความเร็วที่ลดลง โดยการขจัดของเสียจากกระบวนการ ขจัดเวลา Start Up ขจัดความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือการขจัดความสูญเสียอันเนื่องมาจากของเสียนั่นเอง
ฉะนั้น เป้าหมายที่สำคัญของ TPM ในการพัฒนาสายการผลิตเพื่อใช้ในการวัดระดับความสำเร็จในการทำกิจกรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
บริษัท โชคมณี คอนสตรัคชั่น จำกัด มุ่งมั่นด้านการ Maintenance & Service (Facility& Machinery) ภายในโรงงานอุตสาหกรรมไทย ด้วยคุณภาพและมาตฐานความปลอดภัย และใส่ใจในผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เรามีความมุ่งมั่นที่จะทํางานให้มีคุณภาพ โดยมีการพัฒนาคุณภาพทีม Service อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย และแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ให้ทันสมัยยิ่งขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทําให้ผู้ใช้บริการมีความมั่นใจได้ถึงคุณภาพการMaintenance & Service ที่เป็นมาตรฐานสากลและการบริหารงานอย่างมืออาชีพไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม Thailand, Japan, Germany, Switzerland, Italy, USA. เราสามารถ Maintenance & Service ได้ด้วยทีมช่างและ Engineer ที่มีประสบการณ์ มากกว่า 20 ปีคอย Support & Service ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมรับประกันงานหลัง Service นาน 3 เดือนฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยขอบข่ายงานของเรามี ดังนี้
- รับเหมาซ่อมบำรุงทั่วไป (Facility) ภายในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้ง Thailand, Japan, Germany, Switzerland, Italy, USA. ทุกประเภท
- ซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Machinery) ในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้ง Thailand, Japan, Germany, Switzerland, Italy, USA. ทุกประเภท
- Overhaul Modify PM ปรับปรุงเครื่องจักรทุกประเภท
- ออกแบบ ติดตั้ง ย้ายเครื่องจักร ย้าย Line การผลิต รวมไปถึงงานติดตั้งโครงสร้าง และงานวางระบบต่างๆ ทุกประเภท ภายในโรงงานอุตสาหกรรม
- งานซ่อมระบบ Hydraulic & Pneumatic
- งานซ่อมบำรุงเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า Motor และระบบส่งกำลัง ทุกประเภท
สนใจโปรดติดต่อสอบถาม
บริษัท โชคมณี คอนสตรัคชั่น จำกัด
CHOKMANEE CONSTRUCTION COMPANY LIMITED
ประกอบกิจการเกี่ยวกับประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างและตกแต่งภายใน
80/1505 ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10270
Tel : 081-833-5808, 082-535-4636
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.