IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
จะเป็นช่างซ่อมบอร์ดต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง งานตรวจซ่อมบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความตั้งใจและพยายาม สำหรับใครที่สนใจงานด้านนี้ วันนี้ KES จะมาแนะนำพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา การซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยที่สุดต้องมี 5 ข้อต่อไปนี้
- พื้นฐานการใช้งานมัลติมิเตอร์เพื่อวัดไฟตามจุดต่างๆ และใช้วัดสภาพอุปกรณ์ว่าดีหรือเสีย
- ต้องรู้วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น วงจรอนุกรม วงจรขนาน ไฟ AC ไฟ DC ความหมายของคำว่า ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าช๊อตและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้ปฏิบัติงานซ่อมได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งงานที่ซ่อมเสร็จนอกจากวงจรจะต้องทำงานตามปกติแล้วยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของวงจรด้วย เช่น สายไฟหลุดแล้วต้องไม่ซ๊อตกัน กรณีวงจรทำงานผิดปกติมีกระแสเกินแล้ววงจรต้องตัด เป็นต้น
- รู้จักชนิดอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นและหลักการทำงานของมัน เช่น ฟิวส์ รีเลย์ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ หม้อแปลงไฟฟ้า ลำโพง ไดโอด ทรานซิสเตอร์ เป็นต้น การรู้หลักการทำงานของมันทำให้สามารถไล่วงจรอิเล็กทรอนิกส์และหาอะไหล่แทนได้
- รู้จักวงจรพื้นฐานต่างๆ เริ่มจากหัดไล่วงจรง่ายๆก่อน หนังสือจำพวกโครงงานต่างๆจะแนะนำให้หัดไล่วงจรและการทำงานของวงจรได้เป็นอย่างดี
- ทักษะพื้นฐาน เช่น การใช้หัวแร้งบัดกรี การอ่านค่าอุปกรณ์เป็น เป็นต้น
การซ่อมให้เริ่มดูจากอาการเสียก่อนและไล่เช็คแผงวงจรไปที่ละจุดแบบ 1-2-3-4 มีแนวทางทั่วไปสำหรับซ่อมวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นข้อๆต่อไปนี้ เพื่อประหยัดเวลาซ่อมและงานซ่อมออกเยอะๆให้มุ่งไปที่อุปกรณ์ที่มีโอกาสเสียง่ายก่อน ให้เช็คจุดต่างๆดังนี้
- จุดเชื่อมต่อและเส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้า เช่น สายไฟ คอนเนกเตอร์ ขั้วต่อ ลายวงจรขาด ทั้งในส่วนของพาวเวอร์ และส่วนเส้นทางของสัญญาณ
- อุปกรณ์ที่มีกลไกการเคลื่อนที่ เช่น รีเลย์ สวิตช์ชนิดต่างๆ สวิตช์ทุกชนิดมีอายุการใช้งาน ลองเช็คดูว่ามันเสียไหมหรือปกติดี? ลองกดเปิดปิดแล้วเช็คสถานะของคอนแทคมันเปลี่ยนตามการกดหรือไม่ ?
- อุปกรณ์พาวเวอร์มีโอกาสเสียสูง สังเกตง่ายๆมันเป็นอุปกรณ์ตัวใหญ่มีกระแสไหลผ่านสูง เช่น ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต SCR ไดโอด เป็นต้น อีกทั้ง IC ก็มีโอกาสเสียรองลงมา อุปกรณ์พาวเวอร์ชอบเสียในลักษณะช๊อตหรือขาด การวัดดีเสียแบบไร้กระบวนท่าคือวัดแล้วขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งหรือได้ 0 โอห์มตลอดคือซ๊อตแล้ว การวัดทรานซิสเตอร์ใช้ Rx1K สุ่มวัดขาต่างๆแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้งคือมันขาดแล้ว ( ปกติการวัดทรานซิสเตอร์ถ้ามันดีตรงขา B-E กับขา B-C จะวัดขึ้น 1 ครั้งและวัดไม่ขึ้น 1 ครั้ง ) ที่ท้ายบทความจะอธิบายการวัดทรานซิสเตอร์แบบสุ่มอีกรอบ
- อุปกรณ์ป้องกันก็มีโอกาสเสียสูง เมื่อวงจรทำงานผิดปกติเนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น มีกระแสเกิน แรงดันเกิน อุปกรณ์ป้องกันมีหน้าที่เป็นด่านแรกที่จะป้องกันและเสียลละตัวเอง ตัดวงจรออกก่อนที่ส่วนอื่นๆจะเสียหาย กลุ่มอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกัน เช่น ฟิวส์ ซีเนอร์ไดโอด วาริสเตอร์ ( MOV ) เป็นต้น
- ใช้วงจร (Manual) และคู่มือซ่อมให้เป็นประโยชน์ ถึงแม้วงจรพื้นฐานประเภทเดียวกันจะมีหลักการทำงานกว้างๆเหมือนกัน แต่ผู้ผลิตวงจรแต่ละรายมีเทคนิคและคิดค้นพัฒนาวงจรมาไม่เหมือนกันทีเดียว มีรายละเอียดปลีกย่อยและ วงจรที่ซับซ้อนต้องใช้วงจรประกอบการซ่อมและไล่เป็นบล๊อคไดอะแกรมไป หลายครั้งพบว่าผู้ผลิตอุปกรณ์มีคู่มืออุปกรณ์ให้พร้อมกับแนะนำวิธีแก้ปัญหาเมื่อวงจรเสียแบบต่างๆ สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์สูงผ่านการซ่อมมาเยอะก็สามารถจำวงจรหลักและอาการเสียของยี่ห้อต่างๆได้เลยทีเดียว เราก็สามารถเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์สูงได้ ส่วนตัวเราเองจะมีประสบการณ์ได้ต้องซ่อมเยอะๆเพื่อให้เจอเคสต่างๆเยอะๆ เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งเราก็จะกลายเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงได้เช่นกัน
คู่มือ(Manual) คือสิ่งสำคัญยิ่ง ก่อนซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ต้องรู้จักและต้องทำความเข้าใจในหลักการทำงานและวงจรเบื้องต้นของมันก่อน
ช่างอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ไม่ยากเพราะช่างอิเล็กทรอนิกส์มีพื้นฐานการใช้มัลติมิเตอร์ที่ดีมาก เข้าใจวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น และ รู้จักอุปกรณ์และวัดอุปกรณ์ดีเสียเป็น เรียนรู้หลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มอีกนิดก็จะซ่อมได้
การวัดอุปกรณ์ในบอร์ด
การวัดอุปกรณ์มีทั้งตัวที่สามารถวัดในวงจรเพื่อเช็คดีเสียเบื้องต้นได้ และ บางตัวต้องถอดออกมาวัดนอกวงจรหรือต้องลอยขาอุปกรณ์หนึ่งข้างก่อนจึงจะวัดได้ อีกหนึ่งวิธีที่นิยมทำกันก็คือวัดเปรียบเทียบกันสมมุติว่าในบอร์ดมีทรานซิสเตอร์เบอร์เดียวกันหลายตัวก็ให้วัดเทียบค่าความต้านทาน
- อุปกรณ์ที่สามารถวัดในวงจรคร่าวๆเพื่อเช็คว่าดีหรือเสีย โดยไม่ต้องถอดออกจากวงจร (แต่ต้องถอดปลั๊กก่อนวัดทุกครั้งหรือวัดในขณะที่ไม่มีไฟ) มีตัวต้านทาน LED ไดโอด ลำโพง บัซเซอร์ เป็นต้น
- อาการเสียของตัวต้านทาน ตัวต้านทานปรับค่าได้หรือวอลุ่มผงคาร์บอนข้างในมักจะสึกกร่อนทำให้สัญญาณสะดุดไม่ต่อเนื่องได้เวลาเปลี่ยนมันแล้ว ตัวต้านทานไวร์วาวเส้นลวดมักจะขาดวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยเนื่องจากมันเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า Power Resistor มักจะเสียในลักษณะขาด ตัวต้านทานชนิดอื่นๆมักจะขาดและยืดค่า กรณีค่าความต้านทานยืดค่านี้ทำให้กระแสและแรงดันในวงจรเปลี่ยนไปและทำให้จุดทำงานจุดไบบัสของวงจรเปลี่ยนไปด้วยผลคือวงจรอาจทำงานผิดปกติ
- เมื่อใช้ย่านวัดตัวต้านทาน (Ohm Meter) รวมทั้งย่านวัดความต่อเนื่อง (ย่านวัดเสียง) วัดอุปกรณ์ต่างๆในบอร์ด ต้องวัดขณะที่ไม่มีไฟอยู่ ให้ตัดไฟหรือถอดปลั๊กก่อนทุกครั้ง เนื่องจากย่านวัดตัวต้านทานใช้ไฟจากแบตเตอร์รี่ข้างใน ระบบไฟจะชนกันและหลักการทำงานมันขัดแย้งกันทำให้มิเตอร์พังและวัดเพี้ยนได้
- เช็คดูย่านวัดให้ดีก่อนวัดว่าใช้ย่านวัดถูกต้องไหม? ห้ามตั้งย่านวัดแรงดันแล้วไปวัดกระแส ห้ามตั้งย่านวัดกระแสแล้วไปวัดแรงดันเพราะมิเตอร์จะพังทันที เนื่องจากหลักการทำงานของแต่ละย่านวัดไม่เหมือนกันการตั้งย่านวัดผิดคือใช้งานวงจรผิดประเภทมันขัดแย้งกับหน้าที่วงจรที่ออกแบบไว้ กรณีตั้งย่านวัดผิดมัลติมิเตอร์ดิจิตอลบางรุ่นมีอุปกรณ์ป้องกันก็ดีไปและมัลติมิเตอร์ที่ไม่มีวงจรป้องกันก็จะพัง การซ่อมมัลติมิเตอร์ถึงแม้จะซ่อมได้แต่มันจะไม่เหมือนเดิมเพราะมันเป็นเครื่องมือวัดละเอียดต้องมีการคาลิเบตเพื่อให้ได้ค่าการวัดที่เที่ยงตรงและถูกต้อง การคาลิเบตต้องให้โรงงานผลิตหรือศูนย์รับคาลิเบตเครื่องมือวัดโดยเฉพาะเป็นผู้ปรับค่า
- คาปาซิเตอร์ไฮล์โวลต์และคาปาซิเตอร์ตัวใหญ่ให้คิดไว้ก่อนว่ามีไฟค้างแน่ๆ ให้ใช้โวลต์มิเตอร์วัดไฟดูก่อนว่ามีไฟค้างไหม กรณีมีไฟค้างต้องดิสชาร์จก่อน
แนวทางการสุ่มวัดทรานซิสเตอร์โดยไม่ต้องสนใจขา
แนวทางการสุ่มวัดทรานซิสเตอร์ ถ้าทรานซิสเตอร์ดีเมื่อใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มย่านวัด Rx1K วัดขา B กับ E และวัดขา B กับ C เข็มต้องขึ้น 1 ครั้งและไม่ขึ้น 1 ครั้ง จะเป็นลักษณะนี้ถ้าทรานซิสเตอร์ดี (โดยไม่ต้องสนใจขา) ถ้าสุ่มวัดขาต่างๆแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยไม่มีการเคลื่อนของเข็มเลยคือเสียลักษณะขาดแล้ว ถ้าสุ่มวัดขาต่างๆแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลตลอดคือเสียลักษณะช๊อตแล้ว
สนใจสอบถามด้านการซ่อมแซมบอร์ดอิเลคโทนิกส์ ติดต่อเรา บริษัท คนไทย เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด (KONTHAI ENGINEERING SUPPLY CO.,LTD.) บริษัทก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจการให้บริการ ซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซ่อมบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ ซ่อมบอร์ดคอนโทรล ซ่อมเครื่องจักรโรงงาน ซ่อมเครื่อง cnc ซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และซ่อมเครื่องมือวัดโดยทีมวิศวกรที่ผ่านการอบรมจากบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ ด้วยการสั่งสมประสบการณ์ความชำนาญอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี เราจึงสามารถให้การบริการที่ดีต่อลูกค้าในทุกด้านด้วยความมุ่งมั่น และการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ท่านจึงมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุดจากสินค้าและบริการของเรา
บริการรับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ รับซ่อมบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ รับซ่อมบอร์ดคอนโทรลเครื่องจักร ซ่อม Board CNC รับซ่อมเซอร์โว AC DC Servo Amplifier ซ่อม Servo drive ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ โดยช่างที่ชำนาญการซ่อมแผงวงจรโดยเฉพาะ
บริษัท คนไทย เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด (KES) เป็นศูนย์ซ่อม TOYODA , YASKAWA , FANUC , SANYO DENKI , MITSUBISHI , OKUMA , SIEMENS , DANFOSS , LENZE , HITACHI , TOSHIBA , FUJI , TELEMECANIQUE แผงคอนโทรล อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมทุกประเภท ทุกชนิด และทุกยี่ห้อ โดยช่างผู้ชำนาญงาน มากกว่า 10 ปี และเป็นตัวแทนจำหน่าย สินค้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อีกหลายประเภท เช่น จอ LCD DISPLAY เป็นต้น
ติดต่อ KES
บริษัท คนไทย เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด
KONTHAI ENGINEERING SUPPLY CO.,LTD.
89/537 หมู่ 2 ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 Thailand.
Tel.02-316-6206
Fax: 02-316-6207
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
www.konthaiengineering.com