November 17, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ถนนโครงการ สร้างอย่างไร ให้แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน

โดย : บริษัท โชคนาวิน จำกัด (CHOKENAVIN COMPANY LIMITED)

ทุกโครงการอสังหาฯ งานสาธาณูปโภคที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคืองานถนน งานถนนโครงการเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ประโยชน์สัญจรร่วมกันของลูกบ้านไปตลอดไม่มีวันหมดอายุ จึงนับเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งในการก่อสร้างแต่ละโครงการ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ลูกบ้านและผู้อยู่อาศัยต่างคาดหวังว่าจะได้ใช้ถนนที่แข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพราะเมื่อเกิดปัญหาต้องซ่อมแซมแก้ไข ทำถนนใหม่ ล้วนสร้างปัญหามากมายให้กับลูกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการสัญจรไม่สะดวก หรือปัญหาเรื่องเสียงดัง เรื่องฝุ่น เรื่องกลิ่น เพราะเมื่อโครงการใดใดเปิดการใช้งานมีผู้เข้าอาศัยแล้ว การแก้ไขจะยากกว่าการก่อสร้างใหม่มาก ดังนั้นเจ้าของโครงการจึงไม่ควรมองข้ามและควรใส่ใจในทุกรายละเอียดของการก่อสร้งถนนตั้งแต่แรกเริ่ม

ถนนที่ไม่ได้มาตรฐาน​ อาทิเช่น ไม่เว้นระยะให้มีรอยต่อ เพื่อการขยายตัวของคอนกรีต ใช้เหล็กไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ จะส่งผลให้เมื่อเปิดใช้ถนนจะไม่แข็งแรง ระยะเวลาในการใช้งานถนนลดลง ใช้ได้ไม่นานก็ชำรุด วันนี้ บริษัท โชคนาวิน จำกัด จะเล่าถึงเรื่องการทำถนนคอนกรีตอย่างไรให้แข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้ยาวนาน ตรงตามมาตรฐานกันครับ

การก่อสร้างถนนเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเตรียมการเยอะ ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดในบางขั้นตอน อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายในระยะยาวได้ ซึ่งขั้นตอนการก่อสร้างถนนที่ถูกต้องและมีการตรวจสอบอย่างรัดกุมจะส่งผลให้ถนนในโครงการ สามารถใช้การได้ดีอย่างยาวนานคุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป โดยการก่อสร้างถนนมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

1. เลือกประเภทผิวถนน

ก่อนที่จะก่อสร้างถนน เราต้องเลือกประเภทของผิวถนนที่จะก่อสร้างเสียก่อน โดยการเลือกผิวถนนนั้นต้องคำนึงถึงปริมาณจราจรและรูปแบบการใช้งาน หลักๆ มีสามประเภทแบ่งตามวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ดังนี้

  • ถนนผิวถนนลูกรัง ถนนแบบที่มักพบในพื้นที่ชนบท พื้นที่ตามร่องสวน หรือในโครงการหมู่บ้านที่วางแผนจะก่อสร้างในเฟสต่อไป โดยโครงสร้างของถนนชั้นแรกจะเป็นดินถม ก่อนปูด้วยลูกรังอัดแน่นเพื่อเป็นผิวถนน เป็นถนนแบบที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุด ก่อสร้างได้ง่าย แต่ชำรุดได้ง่ายเช่นเดียวกัน มีฝุ่นคลุ้งตลอดเวลา ในหน้าฝนก็เป็นหลุมบ่อ และไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้มากนัก เจ้าของพื้นที่อาจเพิ่มความคงทนต่อสภาพอากาศได้ด้วยการโรยกรวดบนพื้นถนน
  • ถนนผิวถนนคอนกรีต ถนนที่พบได้มากในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยอาจเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือวัสดุอื่น เป็นถนนที่มีความคงทน ใช้งานได้งาน ก่อสร้างง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือผิวการจราจรมักจะไม่เรียบเพราะมีรอยต่อหลายจุดเพื่อป้องกันรอยแตกบนพื้นถนน โดยหากต้องการให้ถนนรับน้ำหนักได้มาก ถนนก็จะมีค่าใช้จ่ายสูง
  • ถนนผิวถนนลาดยางมะตอย (แอสฟัลต์) ถนนที่พบได้มากในช่วงถนนรอยต่อระหว่างเมือง เนื่องจากมีปริมาณการจราจรที่หนาแน่น และเป็นการก่อสร้างถนนที่ใช้เวลาไม่นาน โดยนอกจากแอสฟัลต์แล้ว ยังนิยมลาดยางประเภทอื่น ๆ เช่นเคพซีล, ลาดยางสองชั้น ฯลฯ ซึ่งถนนจะมีผิวเรียบ ไม่มีรอยต่อเหมือนถนนผิวจราจรคอนกรีต มีความยืดหยุ่นสูง ซ่อมแซมง่าย แต่รับเสียหายเร็ว มีอายุการใช้งานน้อย

2. การสำรวจ

  • การสำรวจเส้นทาง ก่อนที่จะดำเนินการออกแบบถนน เราก็ต้องสำรวจเส้นทางก่อนเพื่อสำรวจรายละเอียดต่างๆ รถต้องวิ่งเข้าทางไหน วิ่งออกทางไหน ช่วงโค้งระยะประมาณไหน และนำมาเปรียบเทียบหาความเหมาะสมของแต่ละเส้นทาง
  • การสำรวจแบบกว้าง เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากเอกสารต่างๆ มาช่วยในการสำรวจ เช่น โฉนดที่ดิน แผนที่กูเกิล รูปถ่ายทางอากาศ ประวัติของที่ดินเคยก่อสร้างอะไรมา
  • การสำรวจพื้นที่ เป็นการสำรวจอย่างละเอียดบนพื้นที่จริง การสำรวจด้านภูมิประเทศ ที่จะต้องตรวจสอบความลาดชัน รวมไปถึงความหนาแน่นของดินบริเวณ มีการเจาะสำรวจ ซึ่งหลังจากขั้นตอนนี้ เราจะสามารถประเมินค่าก่อสร้างเบื้องต้นได้คร่าวๆ

3. การออกแบบถนน

  • การออกแบบโครงสร้างถนน ควรคำนึงถึงปริมาณจราจรที่จะมีในอนาคตและความแข็งแรงของพื้นดินเดิม ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกผิวจราจรแบบต่าง ๆ
  • การออกแบบทางโค้ง สำหรับการออกแบบทางโค้งบนถนน ควรหลีกเลี่ยงทางโค้งแคบ ซึ่งนับเป็นโค้งอันตราย, ควรหลีกเลี่ยงทางตรงที่ยาวมาก ๆ แล้วตามมาด้วยโค้งแคบทันที, ควรหลีกเลี่ยงการสร้างถนนบนพื้นที่ที่มีความชันและโค้ง โดยทุกโค้งควรมีการยกขอบถนน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้ทาง
  • ความกว้างของผิวจราจร มาตรฐานความกว้างของผิวจราจร 2 เลน คือ 6 เมตร โดยไหล่ทางกว้างข้างละ 1.50 เมตร แต่อาจมีการปรับให้แคบลงได้บางกรณี เช่น เมื่อมีปัญหาแนวเขตทางหรือเมื่ออยู่ในหมู่บ้าน เป็นต้น
  • การออกแบบไฟฟ้าแสงสว่าง ออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ เช่น สำหรับถนนกว้างไม่เกิน 6 เมตร ให้ติดเสาไฟสองฝั่งถนนสลับกัน ส่วนถนนกว้าง 8 เมตรขึ้นไป ให้ติดตั้งเสาไฟสองฝั่งถนนตรงข้ามกัน เป็นต้น
  • การก่อสร้างสิ่งที่อยู่เหนือผิวจราจร ป้ายหมู่บ้าน ป้ายโครงการ หรือ อื่นๆ ควรมีความสูงขั้นต่ำที่ 5.0 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับรถหรือพาหนะต่าง ๆ ที่มีความสูง ทั้งนี้การออกแบบป้าย, สิ่งควบคุม, สิ่งอำนวยความสะดวกด้านจราจร ฯลฯ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันอุบัติภัยทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
  • การออกแบบโครงสร้างทางเป็นกรณีพิเศษ ในบางพื้นที่อาจต้องมีการออกแบบโครงสร้างทางเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของคันทางบนดินอ่อน หรือสำหรับถนนเลียบบ่อ เลียบแม่น้ำที่ต้องออกแบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะคันทางที่จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโครงการหมู่บ้านริมทะเลสาบ หรือโครงการบนเขา เป็นต้น
  • การออกแบบถนนเพื่อความสวยงาม อาจต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่การออกแบบ เช่น พื้นที่วิ่ง ฟุตบาท ไหล่ทาง จุดรับส่งของ ที่วางถังขยะ ที่จอดรถ ภูมิทัศน์สองข้างถนน ป้ายแนะนำสถานที่สำคัญต่างๆ

โดยเมื่อออกแบบถนนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการประมาณราคา และการตกลงว่าจ้าง ซึ่งรูปแบบการจ้างจะเป็นแบบใด ขึ้นอยู่กับเจ้าของโครงการ

4. ขั้นตอนการก่อสร้างถนน
หลังจากตกลงว่าจ้างเป็นที่เรียบร้อย การก่อสร้างถนนก็จะเกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมา โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมพื้นฐานถนน (subgrade) รากฐานของถนนที่จะทำให้ถนนแข็งแรง ทนทาน โดยจะมีการใช้เครื่องจักรขุดดินและถอนเอาวัสดุที่ไม่ต้องการออกจากดินออกให้หมด เช่น ขอนไม้ กองขยะ เพื่อให้เป็นคันทางตามรูปแบบของถนนที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งหากพื้นทางเป็นโคลนหรือมีน้ำมาก ก็จะทำให้การลาดยางผิวถนนออกมาไม่เรียบเนียน
  2. รองพื้นถนน (subbase) เป็นชั้นที่จะก่อสร้างก็ต่อเมื่อชั้นพื้นฐานทางบริเวณนั้นอ่อนมาก จนต้องช่วยเพิ่มความแข็งแรง วัสดุที่ใช้จะเน้นวัสดุที่หาง่ายและราคาถูกเช่น ดินลูกรัง ทราย เป็นต้น ชั้นนี้จะทำให้ผิวทางมีความเรียบสม่ำเสมอและลดการแอ่นตัวของผิวทาง โดยการก่อสร้างก็ใช้วิธีลงวัสดุเป็นชั้น ๆ ก่อนบดอัดด้วยปริมาณความหนาแน่นที่ต้องการ
  3. สร้างชั้นถนน (base) ทำการวางชั้นที่อยู่ใต้ผิวทางซึ่งเป็นชั้นที่ช่วยรับน้ำหนัก ดังนั้นต้องใช้วัสดุคุณภาพดี แข็งแรง เช่นกรวดอัดแน่น หินคลุกซีเมนต์ วัสดุเม็ด เป็นต้น นิยมสร้างเมื่อชั้นผิวทางเป็นแอสฟัลต์เนื่องจากเป็นผิวทางที่ยืดหยุ่นไปตามชั้นราก โดยใช้รถบดช่วยเพื่อให้วัสดุถูกบดอัดจนแน่น ก่อนจะคลุมผิวหน้าด้วยแอสฟัลต์เจือจางที่เรียกว่า Prime Coat
  4. สร้างชั้นผิวถนน (surface) ชั้นที่รองรับการจราจรของรถประเภทต่าง ๆ โดยควรกันน้ำได้ดี มีความลาดเอียงตามเหมาะสมเพื่อป้องกันน้ำขัง ต้านทานการลื่นไถล และยึดเกาะกับชั้นล่างได้ดี สำหรับถนนในเขตเมืองจะนิยมลาดถนนด้วยแอสฟัลต์และคอนกรีตเป็นหลัก ซึ่งการลาดถนนทั้งสองประเภทก็มีข้อแตกต่างดังนี้
    • คอนกรีต สำหรับคอนกรีตจะต้องมีการแบ่งพื้นถนนเป็นช่วง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อสำหรับการขยายและหดตัวตามสภาพอากาศ ป้องกันการแตกของพื้นถนนในอนาคต โดยขณะเทคอนกรีตให้ใช้กระดาษหนาหรือไม้วางขวางถนนนำหน้าคอนกรีตที่กำลังเทในแต่ละส่วน และห้ามหยุดเทเกิน 30 นาทีเป็นอันขาด หากหยุดเกินกว่านั้นต้องรื้อแล้วเททิ้งทันที หากมีเหล็กเสริมพื้นถนน เหล็กนั้นจะต้องสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียแรงยึดกับคอนกรีต หรือเป็นสนิมในอนาคต
    • แอสฟัลต์ ก่อนอื่นต้องเลือกชนิดของแอสฟัลต์ให้เหมาะกับถนนที่ต้องการ โดยหลังจากทำการพ่นแอสฟัลต์ครั้งแรกแล้ว ให้ทำการเก็บรายละเอียดของผิวถนนด้วยการเทแอสฟัลต์พร้อมทำการบดเพื่อเสริมความแข็งแรงของถนนอีกชั้น และปิดท้ายด้วยรถบดเพื่ออัดให้พื้นยางแน่น
  5. ตีเส้นจราจร เมื่อจบทุกขั้นตอนการก่อสร้างถนน ก็จะมาถึงการตีเส้นจราจรต่าง ๆ เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้อย่างปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน รวมไปถึงทางม้าลายเพื่อความสะดวกของคนเดินถนน ที่กำหนดความกว้างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร ซึ่งการตีเส้นจราจรที่ได้มาตรฐานก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทนทานต่อแรงกระแทก

5.ควบคุมงานก่อสร้าง 

เมื่อก่อสร้างถนน ก็จะมีที่ปรึกษาและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งมาร่วมดูแลขั้นตอนการก่อสร้างถนน โดยหากปล่อยปละละเลยในหน้าที่ ก็อาจส่งผลให้ถนนออกมาไม่มั่นคงแข็งแรงตามที่ควร ผู้ใช้ทางได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง ซึ่งผู้ควบคุมงานก่อสร้างต้องทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

  • จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ จัดเตรียมและอ่านทำความเข้าใจแบบแปลน สัญญา เอกสารรายงานต่าง ๆ ให้เรียบร้อย นอกจากนี้ก็ยังต้องตรวจสอบอุปกรณ์ในการตรวจงานให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ
  • ติดตั้งป้ายเตือน แจ้งให้ผู้รับจ้างทำและติดตั้งป้ายเตือนเขตพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ผ่านไปมา ทั้งคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ยานพาหนะ และผู้ปฏิบัติงาน
  • เร่งรัดการก่อสร้าง หากผู้รับจ้างก่อสร้าง ทำงานล่าช้า ให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้างส่งหนังสือเตือนเพื่อเร่งรัดการทำงานให้ได้ตามกำหนด
  • ตรวจรับงานก่อสร้างถนน สัญญาการจ้างงานก่อสร้างจะแบ่งออกเป็นงวดๆ ดังนั้นในการตรวจรับงานในแต่ละงวดก็จะมีการตรวจสอบตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับก็จะสอบถามกับทางผู้ควบคุมการก่อสร้างถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการก่อสร้าง

การก่อสร้างถนนจำเป็นต้องพิถีพิถันตั้งแต่การวางแผน การเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับปริมาณจราจร การขยายตัวของโครงการ ความแข็งแรงของพื้นดินเดิม ฯลฯ  ซึ่งเมื่อออกแบบถนนเรียบร้อยก็เข้าสู่ขั้นตอนการสร้างถนน ที่จำเป็นต้องมีการควบคุมการก่อสร้างที่ดี เพื่อให้ถนนได้มาตรฐาน คงทน ใช้งานได้นานโดยไม่ต้องซ่อมบ่อยๆ ซึ่งผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ดีก็ควรตรวจสอบการทำงานสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของผู้รับเหมา หรือจะเป็นคุณภาพของวัสดุ โดยหลังจากถนนสร้างเสร็จก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยขาดการบำรุงรักษา เพราะอาจส่งผลถึงชีวิตของผู้ใช้ถนนเลยทีเดียว ผู้ดูแลต้องหมั่นบำรุงรักษาไม่ให้ขาด และซ่อมทันทีหากถนนชำรุดเฉียบพลัน

บริษัท โชคนาวิน จำกัด เชี่ยวชาญงานสร้างถนนและงานสาธารณูปโภคโครงการบ้านพักอาศัย เราก่อสร้างถนนมามากมาย โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เรามีความยินดีที่ได้มีโอกาสในการสร้างถนนให้กับท่าน เราสร้างถนนด้วยความพิถีพิถัน เรายึดถือว่างานสร้างถนนเป็นงานสร้างความเจริญ จึงมุ่งมั่นสร้างถนนด้วยความปราณีตเอาใจใส่ในทุกรายละเอียด ด้วยบริการที่รวดเร็ว และการส่งมอบงานที่ตรงเวลา

ถนนแต่ละประเภทมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน ไม่ว่าการใช้งานของคุณจะเป็นอย่างไร เรายินดีให้คำปรึกษา ออกแบบ เราทำถนนราคาดีเพราะเป้าหมายของเราไม่ใช่แค่สร้างถนน แต่เป็นการมุ่งมั่นสร้างความเจริญและการพัฒนาของสังคม ดั่งสโลแกนของเรา "Create Wealth Through Happiness And Passion."

บริษัท โชคนาวิน จำกัด
CHOKENAVIN COMPANY LIMITED
27/51 หมู่ 12 ตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โทรศัพท์: 089-443-8879, 099-491-2295
แฟกซ์: 02-194-4195
Facebook : CHOKE NIRAN
ที่ตั้ง : https://goo.gl/maps/1XPaVrZvkngzFQq48



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Saturday, 23 July 2022 02:59
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

มันส์ระเบิดแน่! กับโมโตครอสชิงแชมป์ประเทศไทย ช่วงท้ายฤดูกาล สนาม 8-9 ที่ Silver Rock Bike Park วันที่ 13-14 ก.ค. 67 นี้

S&J มุ่งรักษาการเติบโต มั่นยึดถือแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ย้ำเป็น 1 ใน 25 บริษัทที่ทำคะแนนสูงสุดของทั้ง 4 เกณฑ์ คือรางวัลของการขับเคลื่อน เป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จ

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM