January 27, 2025

กปน. ยุค Digital MWA วาง 4 หมื่นล้าน ปรับระบบเพื่อประชาชน

การประปานครหลวง ก้าวสู่ Digital MWA ตามวิสัยทัศน์ นายปริญญา ยมะสมิต ผู้ว่าการการประปานครหลวง ดำเนิน  4 ยุทธศาสตร์หลัก และเสริมสร้างองค์กรให้เป็น "องค์กรนวัตกรรมประปาที่ตอบสนองประชาชน"

การประปานครหลวง (กปน.) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคด้านน้ำประปาเพื่อการอุปโภคและบริโภค ในพื้นที่เศรษฐกิจ 3 จังหวัดของประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีหลักการยึดประชาชนผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง มีปธิณานในการดำเนินงานร่วมกัน คือ ประปาเพื่อประชาชน มุ่งเน้นขยายกำลังการผลิต ปรับปรุงและขยายโครงข่ายระบบท่อประปาให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนในพี้นที่รับผิดชอบได้รับบริการน้ำประปาอย่างทั่วถึง เพียงพอ และมีคุณภาพ รองรับการขยายตัวของเมืองให้ได้อย่างเต็มที่ วัตถุประสงค์หลักเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนผู้บริโภค ได้เข้าถึงน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภคได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

โดยล่าสุด นายปริญญา ยมะสมิต ผู้ว่าการการประปานครหลวง กล่าวว่า กปน.ได้นำหลักสูตร Line by Line MWA WSP เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานตามหลักแผนน้ำประปาปลอดภัย (Water Safety Plan : WSP) และระบบ HACCP โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ซึ่งรวบรวมการประเมินความเสี่ยงตั้งแต่ระบบน้ำดิบจนถึงผู้ใช้น้ำ แผนปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำประปาสะอาด ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของประชาชน พร้อมเป็นองค์กรต้นแบบแก่หน่วยงานอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในการนำ WSP มาเป็นมาตรฐานการผลิตน้ำประปา

 

4 ยุทธศาสตร์หลัก 

การดำเนินการตามวิสัยทัศน์ “การประปานครหลวง ก้าวสู่ Digital MWA” วาง 4 ยุทธศาสตร์หลักใว้คือ

  • ยกระดับการบริการให้ดีเยี่ยม ขยายการให้บริการครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบและเป็นมาตรฐานสากล เช่น เพิ่มแรงดันน้ำ เพิ่มช่องทางการชำระค่าบริการประปา เพิ่มความสามารถในการร้องเรียน การติดตั้งประปาใหม่ การซ่อมท่อแตกรั่ว การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ การยกระดับภาพลักษณ์องค์กร และการดำเนินงานตามแผนน้ำประปาปลอดภัย
  • ก้าวสู่องค์กรชาญฉลาด สร้างความแข็งแกร่งในด้านดิจิทัล สารสนเทศ เช่น ศูนย์ควบคุมคุณภาพน้ำ 
  • การสร้างความยั่งยืนแก่องค์กร การเปลี่ยนท่อน้ำที่ใช้งานมากว่า 20-30 ปี สูบน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ ตั้งศูนย์ควบคุมน้ำ ลดการสูญเสียน้ำ
  • การเสริมสร้างองค์กรนวัตกรรมประปาที่ตอบสนองประชาชน เช่น มิเตอร์อัจฉริยะ ผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น แจ้งเตือนเมื่อท่อน้ำแตก พัฒนาแผนที่ GPS ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.)

 

แผนงานเร่งด่วน

จะผลักดันให้การบริการของการประปานครหลวงเป็นดิจิทัล เช่น การชำระค่าน้ำผ่านบัตรเครดิตที่เป็นนโยบายของกระทรวงมหาดไทย การซ่อมแซมท่อน้ำแตกหรือรั่วให้รวดเร็วขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังแต่ละจุด และลดขั้นตอนในการบริการประชาชนในการชำระค่าน้ำและขอติดตั้งมิเตอร์น้ำใหม่

นอกจากนี้การประปายังได้สนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการลดความเหลื่อมล้ำประชาชนใช้น้ำทั่วประเทศ ลดการสูญเสียน้ำให้ได้ 19% ภายในปี 2564 บูรณาการภาครัฐ เช่น การประปาส่วนภูมิภาค ไม่สามารถให้บริการน้ำได้ การประปานครหลวงจะเข้าไปช่วยเหลือจาก 160,000 ลูกบาศก์เมตร เป็น 2 ล้านลูกบาศก์เมตร และยังมีแผนร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนท่อน้ำพร้อมการนำสายไฟฟ้าลงดิน และร่วมกับ กทม. กรมที่ดินในการขออนุญาตใช้น้ำประปา

 

โครงการลงทุนต่าง ๆ

มีโครงการปรับปรุงกิจการประปาในแผนหลัก 5 ปี นับจากปี 2560-2565 ใช้งบประมาณ 42,750 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ รองรับความต้องการใช้น้ำในอนาคต ก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำมหาสวัสดิ์ เชื่อมฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเพิ่มอีก 1 เส้นทาง จะใช้งบประมาณของการประปาลงทุนเอง

ประกอบด้วย งานวางท่อประปาเพื่อขยายเขตการให้บริการน้ำประปาให้เต็มพื้นที่ชุมชนเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 ได้วางท่อประปา 1,200 เส้นทางระยะทางกว่า 1,300 กม. งบประมาณ 2,260 ล้านบาท สามารถให้บริการน้ำประปากับผู้ใช้น้ำ 35,300 ครัวเรือน

 

การยกระดับการบริการ

เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนทุกระดับ มีการลดค่าติดตั้งประปาใหม่ 50% เป็นระยะ และยังพัฒนาการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ เพิ่มช่องชำระค่าประปาตามรูปแบบ Thailand 4.0 ประชาชนสามารถชำระค่าน้ำและแจ้งข้อร้องเรียนด้วยบัตรเครดิต ผ่านแอปพลิเคชั่น MWA on Moblie และระบบ e-Service รวมถึงผู้ที่ใช้บัตรสวัสดิการที่จะใช้ปีนี้ด้วย รวมถึงการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนเร่งด่วน เช่นโครงการ "รถน้ำ ลดฝุ่น”  ที่ กปน.ได้สนับสนุนน้ำร่วมบรรเทาความเดือดร้อนจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ไปแล้วกว่า​ 1.9​ ล้านลิตร พร้อมสนับสนุนต่อเนื่องจนเข้าสู่ภาวะปกติ

 

ผู้ว่าการประปานครหลวงกล่าวปิดท้ายว่า "ทั้งนี้ กปน. ได้มีข้อตกลงคุณธรรมในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำการใดๆ ที่ส่อไปในทางทุจริต เช่นไม่เรียกรบเงินสินบนหรือประโยชน์อื่นใด และต้องเปิดเผยข้อมูลโครงการที่สำคัญในทุกกระบวนการให้โปร่งใส และยอมรับให้บุคคลที่สามจากภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) ตลอดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีการลงนามในข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เจ้าของโครงการ ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง ผู้สังเกตการณ์ รวมถึงผู้ประสงค์เสนอราคา"

 

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 21 February 2019 11:32
อัญชลี ปรีชาธนพันธ์

Author : ประสบการณ์งานข่าวภาคสนามร่วมสิบปี เชี่ยวชาญงานข่าวสด งานสัมภาษณ์ สอบถาม เข้าร่วมฟังในที่ประชุมแถลงข่าว การสัมมนา ติดตามเหตุการณ์ คดีต่างๆ หรือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำข่าว

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion จัดงานมินิโรดโชว์ลำปาง 18-22 ธันวาคม 2567 พร้อมโปรโมชันดีส่งท้ายปี

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM