IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชม นิทรรศการศิลปะ Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์ แห่งมารศี นิทรรศการใหญ่ครั้งแรก ในรอบ 5 ปี ที่จะนำผู้ชมร่วมค้นหาความหมายแห่งสุนทรียศาสตร์ จากผลงาน จิตรกรรมฝีพระหัตถ์อันทรงคุณค่ากว่า 40 ชิ้น ของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร จิตรกรหญิงชาวไทยผู้สร้าง สรรค์ ผลงานอันเปี่ยมล้นด้วยตัวตนและจิตวิญญาณ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน ถึง 23 ธันวาคม พ.ศ.2561 เวลา 09.00-18.30 น. (ปิดวันจันทร์-อังคาร)
ในแวดวงศิลปะ ผลงานจิตรกรรมของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธ์ บริพัตร ล้วนได้รับการยกย่องทั้งในแง่ของ ความละเอียดอ่อน มีจินตนาการและใช้ภาพสัญลักษณ์ที่แฝงปรัชญาผสมผสานรวมกัน จากแนวคิดทั้งตะวันออก และตะวันตก ที่ผ่านมามูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้จัดแสดงนิทรรศการภาพเขียนฝีพระหัตถ์ ของหม่อมเจ้ามารศีฯ ในประเทศไทยมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ.2553 และ พ.ศ.2556 ภายใต้แง่มุมและหัวข้อ ที่แตกต่างกัน โดยในครั้งที่ 3 นี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง ภัณฑารักษ์นิทรรศการได้เลือกหยิบ มุมมองเกี่ยวกับการตีความเรื่องสุนทรียศาสตร์ในผลงาน ของหม่อมเจ้ามารศีฯ มานำเสนอผ่านผลงานจิตรกรรม ฝีพระหัตถ์ ตลอดจนภาพวาดเส้น วัตถุสิ่งของ หนังสือ และภาพยนตร์สารคดีส่วนพระองค์ เพื่อสะท้อนให้เห็น "ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์แห่งมารศี Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi
โดยตีความออกมาเป็นคำสำคัญ 4 คำ ผ่านการจัดแสดง 4 ห้องหลัก ได้แก่
- ความงาม (Beauty) การสร้างความเข้าใจ และตีความผลงานในด้านความงาม แบบหม่อมเจ้ามารศีฯ ผ่านสัญลักษณ์ ภาพแทนจากดอกไม้ สัตว์เลี้ยง คน รวมถึงตัวบทวรรณกรรม
- ความน่าเกลียด (Ugliness) แสดงผลงานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ภาพสัญลักษณ์ของ ความน่าเกลียด ความตาย ความอัปลักษณ์ของรูปกายที่ไม่จีรัง โครงกระดูก ภาพครึ่งคนครึ่งสัตว์ ราวกับการสร้างอุปลักษณ์ให้ ปรากฏในภาพจิตรกรรม
- เส้นทางศิลปะของหม่อมเจ้ามารศีฯ (Chronology of Marsi and Art History) แสดงเนื้อหาพัฒนาการ ในด้านการสร้างสรรค์งานศิลปะของท่าน ด้วยการเทียบลำดับเวลาของเหตุการณ์ ศิลปิน ปรากฏการณ์ทั้งใน ประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโลก เป็นการสร้างการเรียนรู้ ให้เข้าใจ ว่างานของท่านจัดอยู่ในพื้นที่ ประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้สนใจศึกษาเปรียบเทียบงานในเชิงลึกต่อไป
- สัจจะ (Truth) แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งที่หม่อมเจ้ามารศีฯ ได้พิสูจน์ให้เห็น "สัจจะ" ในเส้นทาง เลือกที่จะเป็น "ศิลปิน" จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และผลงานของท่านแสดงให้เห็นถึง "สัจจธรรม" ของชีวิตมนุษย์ที่มีทั้งความรัก ความสุข ความตาย
หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ทรงเป็นพระธิดาพระองค์เดียวของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ (เทวกุล) บริพัตร ประสูติเมื่อปี ๒๕ สิงหาคม ๒๔๗๔
หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงมีพระอัจฉริยภาพหลายด้าน อาทิ อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์ วาดภาพ และดนตรี ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกในสาขาวรรณคดีจากมหาวิทยาลัย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และปริญญาเอกในสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ จากมหาวิทยาลัยแห่งมาดริด จากนั้นได้ทรงงานในแวดวงวิชาการ อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนเริ่มทรงศึกษาศิลปะด้วยพระองค์เอง และทรงสร้างสรรค์ผลงานภาพเขียนที่โดดเด่น งดงาม เหนือจินตนาการ สะท้อนปรัชญาชีวิต จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล
หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายที่พระตำหนักใน Annot เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสกว่า ๔๐ ปี แวดล้อมไปด้วยดอกไม้ ลำธาร และสัตว์เลี้ยงนานาชนิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในภาพเขียนของท่าน เสมอมา หลังจากประชวรเมื่อปี ๒๕๔๗ จึงไม่ทรงสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้เช่นเดิม แต่ยังคงประทับ ณ พระตำหนัก "Vellara" ในเมือง Annot ประเทศฝรั่งเศส ท่ามกลางธรรมชาติ เสียงดนตรี และสัตว์เลี้ยง จวบจนวาระ สุดท้ายของพระชนม์ชีพ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖
มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๒ เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะในประเทศไทย และดำเนินกิจกรรมสงเคราะห์สัตว์ ที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้จัดแสดงนิทรรศการภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของหม่อมเจ้า มารศีฯ ในประเทศไทยมาแล้ว ๒ ครั้ง เมื่อปี ๒๕๕๓ และปี ๒๕๕๖ นอกจากนี้ ยังได้จัดทำหนังสือภาพวาด ฝีพระหัตถ์ ๓ ภาษา (ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส) มอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาด้านศิลปะในระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ตลอดจนให้การสนับสนุนนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะของนักศึกษาและศิลปินรุ่นใหม่ ในหอศิลป์ต่างๆ