IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
พื้นฐานที่ดีเหล่านี้ก็ย่อมเลือนหายไปและถูกทดแทนด้วยธุรกิจใหม่ ๆ และนี่คือ 4 ตัวอย่างผลงานสุดครีเอทที่ต่อยอดจากพื้นฐานวัสดุที่ล้ำค่า สู่การพัฒนาเป็นสินค้าแสนสร้างสรรค์
กาบกล้วยอะลูมินัมสุดเท่
กาบกล้วยย้อมครามเป็นผลิตภัณฑ์ตกต่างภายในที่โดดเด่นและสวยงามของกลุ่มคุ้มคราม จังหวัดสกลนคร แต่ด้วยความไม่แข็งแรงและเหี่ยวเฉาได้เร็ว จึงเป็นที่มาของผลงาน"กาบกล้วยอะลูมินัม" ผลงานที่ได้จากการนำกาบกล้วยย้อมคราม มาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ โดยการใช้นวัตกรรมเคลือบด้วยโลหะ (Electroplating) โดยเลือกอะลูมินัม (Aluminum) ที่เป็นแร่ธาตุอีกอย่างหนึ่งที่พบในภาคอีสาน จนได้มาซึ่งวัสดุที่แข็งแรงและเป็นเอกลักษณ์ จากนั้นจึงนำมาทอเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่ง ณ ขณะนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการติดต่อจากโรงแรมหลายแห่ง เพื่อการนำไปติดตั้ง
กระเป๋าไหมมัดหมี่อะลูมินัมสุดแนว
ในทุกการทอผ้าไหมมัดหมี่ ที่บ้านนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ล้วนต้องเกิดเศษผ้าไหมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเศษผ้าไหมดังกล่าว ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเป็นความน่าเสียดายอย่างมาก แต่ "กระเป๋าไหมมัดหมี่อะลูมินัม" นั้นได้แก้ปัญหาการทิ้งเศษผ้าไหมมัดหมี่ได้โดยสิ้นเชิงและยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเศษผ้าดังกล่าวได้อีกด้วย จากการนำเศษผ้าไหมมัดหมี่มาทอกับเส้นใยอะลูมินัม จนเกิดเป็นผืนผ้าไหมชนิดใหม่ ที่มีความสวยงามและแปลกตา โดยสามารถนำมาทำเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ได้มากมาย อาทิ กระเป๋าถือและผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายใน ฯลฯ
เสื่อกกลวดลายแปลกใหม่
เสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองของเหล่าชาวอีสานมาแต่โบราณ แต่ด้วยความสืบทอดกันมานานนี้จึงทำให้รูปลักษณ์ ดีไซน์ ถูกมองว่าล้าสมัย จึงได้นำเทคนิคการใช้ฟิล์มโลหะ ถ่ายลายลงพื้นผิววัสดุ เพื่อสร้างเป็น "เสื่อกกลวดลายแปลกใหม่" ตามจินตนาการที่ต่างออกไปของวัยที่แตกต่างกัน เป็นการเพิ่มความแปลกใหม่ให้กับเสื่อกกแบบเดิม ๆ นอกจากลวดลายอันสวยงามแปลกตาแล้วนั้น ยังมีการเลือกใช้สีและลวดลายที่เรียบง่าย เพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุที่มักไม่ชอบผลิตภัณฑ์ที่มีฉูดฉาดเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้า
ผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกสุดเก๋
"กระเป๋าหญ้าถือแฝกลวดลายสุดเก๋" เกิดขึ้นจากความพยายามของมูลนิธิชัยพัฒนาที่ต้องการให้เกษตรกรอีสานปลูกหญ้าแฝก ด้วยความสามารถในการปกป้องหน้าดินให้ทนต่อภัยธรรมชาติ แต่การบอกถึงประโยชน์ดังกล่าวเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถจูงใจให้เหล่าเกษตรกรหันมาปลูกหญ้าแฝกได้ จึงเกิดเป็นโครงการเพิ่มมูลค่าให้กับหญ้าแฝก โดยการนำใบหญ้าแฝกที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน และทนต่อการขึ้นรา มาสานเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ อาทิ ตะกร้า กระเป๋า ที่รองจานและปลอกคอสัตว์เลี้ยง ฯลฯ โดยในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทอจากหญ้าแฝกดังกล่าว สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรจากการวางขายในร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขาและทางออนไลน์
นางสาวจารุพัชร อาชวะสมิต อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวัสดุและเจ้าของผลงานทั้ง 4 ชิ้น กล่าวว่า อีสานเป็นภูมิภาคที่มีเอกลักษณ์มากที่สุดภูมิภาคหนึ่งในประเทศ จากการมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างจากที่อื่น อีสานจึงสามารถสร้างวัสดุได้ในหลากหลาย ไม่เพียงวัสดุที่เกิดจากธรรมชาติและเกษตรกรรม แต่รวมถึงวัสดุที่เกิดจากงานหัตถกรรมต่าง ๆ อาทิ ผ้าไหมและผ้ามัดย้อม อีสานจึงเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ทางด้านวัสดุขนาดใหญ่ ที่ไม่ว่าจะหยิบจับอะไร ก็ล้วนเป็นวัสดุที่พร้อมให้นำมาต่อยอดสร้างรายได้ สะท้อนจากทั้ง 4 ผลงานข้างต้น
แต่การจะนำวัสดุเหล่านี้มาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์นั้น จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติของวัสดุดังกล่าว ซึ่งอาจเกิดจากสังเกตุและทดลอง เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้เทคนิคและนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับการดึงศักยภาพสูงสุดของวัสดุดังกล่าว และนอกจากวัสดุอันโดดเด่นของ ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า การทอและการสานอันประณีตและสวยงาม ก็ยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตผลงานของชาวอีสานที่สืบทอดกันมายาวนาน สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนที่ดีภาคอีสาน ดังนั้นการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และทักษะด้านการออกแบบ ตลอดจนความสามารถในการใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับชาวอีสาน จึงจะเปรียบเสมือนอาวุธสำคัญในการยกระดับผลิตภัณฑ์อีสานจะสามารถก้าวไปได้ไกลเดิมอีกหลายเท่าตัว นางสาวจารุพัชร กล่าว
ด้าน นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) กล่าวว่า จากวัสดุท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นในทุกมิติ ตลอดจนภูมิปัญญาด้านการทำหัตถกรรมอันประณีตเป็นทุนเดิม อีสานจึงเป็นภูมิภาคศักยภาพ ที่มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์มากภูมิภาคหนึ่งของประเทศ ดังนั้นการเข้าไปส่งเสริมให้ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านการออกแบบ รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการชาวอีสาน ตลอดจนสร้างการรับรู้ให้ผู้ประกอบการจากทั่วประเทศได้รับรู้ถึงศักยภาพของวัสดุอีสาน จึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคอีสาน เพื่อก้าวเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA)
ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการชาวอีสาน ให้เกิดการนำกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปใช้พัฒนาธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) จึงจัดนิทรรศการ "ศูนย์นวัตกรรมวัสดุอีสาน" (Isan Material Center) เพื่อแสดงถึงศักยภาพของวัสดุท้องถิ่นอีกหลากหลายชนิดที่สามารถต่อยอดในเชิงสร้างสรรค์ ผ่านการจัดแสดงทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ 1) ฐานข้อมูลวัสดุอีสานออนไลน์ (Isan Material Database) รวบรวมวัสดุอีสานกว่า 100 ชนิด จาก 20 จังหวัดทั่วภาคอีสาน 2) แผนที่แหล่งผลิตวัสดุอีสาน (Isan Material Mapping) แสดงแหล่งผลิตวัสดุท้องถิ่นอีสาน แบ่งหมวดหมู่ตามประเภทของวัสดุ และ 3) ผลงานการพัฒนาวัสดุ (Isan Material Showcase) ผลงานการออกแบบร่วมสมัยกว่า 10 ชิ้น แสดงถึงโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอดธุรกิจ จากฝีมือนักออกแบบชาวไทยผู้มากความสามารถ อาทิ อาจารย์จารุพัชร อาชวะสมิต และ นายวชิร ทองหล่อ นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชาวอีสาน โดยในอนาคตวัสดุและผลงานในนิทรรศการดังกล่าว จะถูกนำไปจัดแสดง ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น (TCDC Khon Kaen) โดยสามารถติดตามกำหนดการการเปิดศูนย์ได้ที่ www.facebook.com/TCDCKhonKaen นายกิตติรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย