November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ไต้หวันรุก ตลาดหุ่นยนต์บริการ

ไต้หวันประกาศรุกตลาดหุ่นยนต์บริการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2019 โดยเริ่มจากตลาดประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น หุ่นยนต์บริการที่มีส่วนสูงใกล้เคียงมนุษย์ หุ่นยนต์บริการติดตั้งเครื่องอ่านบัตรเครดิต และอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของอุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในอนาคต ก่อนมุ่งหน้าตีตลาดประเทศอื่น ๆ ต่อไป

สู่พื้นที่สาธารณะ

SYSCOM ธุรกิจด้านการวางระบบค่ายไต้หวัน ประกาศส่ง “Ayuda” หุ่นยนต์บริการรุ่นล่าสุดของบริษัทเข้าสู่ตลาดภายในเดือนมิถุนายน 2019 ซึ่งจะเริ่มจากตลาดประเทศญี่ปุ่น จากนั้นจึงตามด้วยประเทศอื่น ๆ ถัดไป และคาดการณ์ว่าจะสามารถบุกตลาดประเทศอื่นได้อย่างเร็วที่สุดภายใน 1 ปีหลังจากเข้าตลาดญี่ปุ่นแล้ว โดยหุ่นยนต์บริการรุ่นนี้ มีฟังค์ชันในการสนทนาได้มากถึง 3 ภาษา คืออังกฤษ จีน และญี่ปุ่น โดย Ayuda มีรความสูงให้เลือก 3 ระดับ คือรุ่นสูง 160 ซม. 120 ซม. และ 100 ซม. เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในงานบริการรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม เช่น ใช้รุ่นสูง 160 ซม. ในงานรักษาความปลอดภัย หรือใช้รุ่นขนาดเล็กในห้องสมุด หรือสถานที่ที่มีเด็ก

นอกจากนี้ Ayuda ยังติดตั้งกล้องและระบบจดจำใบหน้าเอาไว้ และสามารถใช้ Ayuda ในการทำหน้าที่เปิดปิดประตู หรือสั่งให้พิมพ์เอกสารได้อีกด้วย โดยปัจจุบันได้มีออเดอร์จากสถานพยายาล ป้อมตำรวจ และห้องสมุดไต้หวันเข้ามาแล้ว

 

เน้นความรวดเร็ว


 

GEOSAT เอง ก็ได้วางแผนรุกตลาดหุ่นยนต์บริการญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน โดยใช้ “Xiaozhi” หุ่นยนต์บริการที่มีฟังค์ชันการอ่านบัตรเครติด และบัตรอื่น ๆ ด้วยการแตะบัตรเข้ากับส่วนหัวของหุ่นยนต์ แล้วแสดงผลผ่านหน้าจอที่ลำตัว ซึ่งปัจจุบัน เป็นหุ่นยนต์บริการที่ถูกใช้งานจำนวนหนึ่งตามโรงแรมในไต้หวัน

ผู้รับผิดชอบจากบริษัท GEOSAT ชี้แจงว่า Xiaozhi เป็นหุ่นยนต์บริการที่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วมาก และเหนือกว่า “Pepper” หุ่นยนต์ฮิมแมนนอยด์ของ SoftBank เสียอีก

 

ยกระดับการพักผ่อน


 

Industrial Technology Research Institute (ITRI) สถาบันวิจัยรัฐบาลไต้หวัน ประกาศพัฒนา “Genki Bot” หุ่นยนต์บริการขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพการพักผ่อนของผู้ใช้ดีขึ้น ด้วยอัลกอริธึมและ Artificial Intelligence (AI) ที่ความสามารถในการตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณคาร์บอนในอากาศ และอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการเปิดเพลง และใช้แสงสีช่วยผ่อนคลาย โดยส่วนหัวของ Genki Bot ได้ถูกตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายหมวกเกราะคะบุโตะของนักรบญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ของนักวิจัยชาวไต้หวัน กล่าวคือ “ในการนอนหลับ รูปทรงที่คุ้นเคยจะช่วยให้สามารถหลับได้สบายยิ่งขึ้น” จึงได้ตกแต่งให้มีรูปทรงเช่นนี้เพื่อตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ

ที่มา : M Report

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Friday, 19 October 2018 05:10

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

มันส์ระเบิดแน่! กับโมโตครอสชิงแชมป์ประเทศไทย ช่วงท้ายฤดูกาล สนาม 8-9 ที่ Silver Rock Bike Park วันที่ 13-14 ก.ค. 67 นี้

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM