November 24, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

“ไทยแลนด์ ลักชัวรี่ ซิมโพเซียม 2018” เจาะลึกแนวโน้มสินค้าลักชัวรี่ในยุคมิลเลนเนียล

ศูนย์องค์ความรู้ด้านลักชัวรี่ (LUXELLENCE CENTER) คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และหอการค้าฝรั่งเศส-ไทย,นิตยสารลอฟฟีเซียล จัดงานสัมมนา THAILAND LUXURY SYMPOSIUM 2018” ภายใต้หัวข้อ The Future Of Luxury: แนวโน้มและการปรับตัวของสินค้า Luxury  ในยุคมิลเลนเนียล เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการให้สามารถต่อยอดความคิดในการดำเนินธุรกิจ พร้อมโอกาสในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์กับผู้บริหารของแบรนด์ชั้นนำของโลก

ภายในงานมีการบรรยายจากวิทยากรและกูรูผู้มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับในวงการสินค้าลักชัวรี่ อาทิ เจอโรม เฮอวิโอกรรมการผู้จัดการผู้จัดการ บริษัท Next Beyond Research, เอ็มเมอริค ลาครัวซ์ กรรมการผู้จัดการธุรกิจสินค้าสำหรับผู้บริโภคสวารอฟกี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เดนิส มอริเซ็ต อดีตผู้บริหารแบรนด์หรูชั้นนำของ Ralph Lauren, Pierre Balmain และ Giorgio Armani, จูเลียน กอวอูเบริ์ต-โมลินา กรรมการผู้จัดการ บริษัท Same Same But Different, แพม เทียน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิตอล บริษัทแมส คอนเน็ค จำกัด และแฟรนซิส ชรัน ผู้แต่งหนังสือ Luxury Selling โดยมีผู้สนใจที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมสินค้าหรูมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

ดร.ฐิติพร สงวนปิยะพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์องค์ความรู้ด้านลักชัวรี่  (LUXELLENCE CENTER) กล่าวว่า 

แต่ละปีเราจะระบุถึงโอกาสและความท้าทายในปัจจุบันที่อุตสาหกรรมสินค้าลักชัวรี่ต้องเผชิญ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งในปีนี้มองว่า มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมมากมาย ทั้งเรื่องความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของคนเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และกลุ่มคนที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นมากที่สุดคือ คนในยุคมิลเลนเนียล หมายถึง กลุ่มคนที่มีอายุระหว่างวัย 17-36 ปี หรือปีเกิดระหว่างปี พ.ศ 2523-2542 ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่สร้างเทรนด์สำคัญส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจของวงการลักชัวรี่ในอนาคต

ดร.ฐิติพร สงวนปิยะพันธ์

โดยงานสัมมนาในครั้งนี้กล่าวถึงแนวโน้มสำคัญทั้ง 4 ประการ ที่ส่งผลต่ออนาคตของอุตสาหกรรมสินค้าลักชัวรี่ ไม่ว่าจะเป็น

  • พลังของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่มีกำลังซื้อสูงและบ่อยครั้งแบรนด์ต่างๆควรให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดกลุ่มคนดังกล่าวโดยคำนึงถึงความต้องการด้านจิตใจและความรู้สึกเป็นหลัก
  • กลุ่มลูกค้าชาวจีน เป็นกลุ่มผู้บริโภคสินค้าหรูที่มีจำนวนมากและมีกำลังซื้อมาก นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมชื่นชอบการท่องเที่ยวไปยังประเทศต่างๆ และนิยมใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้าหรู ซึ่งการเรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมการบริโภครวมทั้งความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มลูกค้าดังกล่าวจะช่วบขยายกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปัจจัยด้านเทคโนโลยี เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทุกแบรนด์ต่างให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของทุกขั้นตอน รวมทั้งการสร้างประสบการณ์ด้านการซื้อทั้งทางออนไลน์และสโตร์  โดยมุ่งสร้างประสบการณ์ออนไลน์ที่สะดวกสบาย ราบรื่น เสมือนได้สัมผัสสินค้าจริงนั่นเอง 
  • อิทธิพลด้านจิตใจและความรู้สึก ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างความประทับใจอย่างลึกซึ้งแก่ผู้บริโภค การให้ความสำคัญกับความรู้สึกหรือความต้องการเชิงลึกของลูกค้าแม้เป็นเรื่องที่ทำได้ยากแต่เป็นส่วนสำคัญที่สามารถดึงดูดใจได้อย่างดีและมีอิทธิพลต่อการบริโภคอย่างมากนั่นเอง

ด้าน เจอโรม เฮอวิโอ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Next Beyond Research บรรยายหัวข้อ “คนไทยที่ร่ำรวยยุคมิลเลนเนียลจะปฏิวัติวงการแบรนด์หรูหรือไม่?” กล่าวว่า จากผลสำรวจพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียล พบว่า เป็นผู้ที่มีฐานะค่อนข้างดี มีคุณลักษณะคิดบวก, รักความเป็นอิสระ, มีความคิดสร้างสรรค์, ชอบทำงานหนัก , มีความมั่นใจ และล้วนเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบแสวงหาความสุขให้กับตนเอง

นอกจากนี้ยังเผยผลวิจัยสินค้าลักชัวรี่ที่ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในไทยใช้จ่ายกันมากที่สุด พบว่าสินค้าลักชัวรี่ที่เป็นที่นิยมสูงสุดคือ “นาฬิกา” 23 % รองลงมาคือ สินค้าประเภทเสื้อผ้า-เครื่องแต่งกาย 18% และสินค้าประเภทเทคโนโลยี 15% และในปัจจุบันการสร้างเทรนด์สินค้าแบรนด์ลักชัวรี่ในยุคดิจิทัลควรคำนึงถึง คือ 1.การทำตลาดที่เชื่อมโยงทั้งเรื่องความพึงพอใจของผู้บริโภคสินค้าที่สามารถจับต้องสินค้าได้และเห็นผลลัพธ์ในชีวิตเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้สูงสุด 2.กลุ่มลูกค้ายุคมิลเลนเนียลไม่ได้มองถึงความหรูหราของสินค้าแต่เพียงเดียวแต่มองถึงเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงต้องการทราบที่มาที่ไปของสินค้าหรือบริการเพื่อที่จะตัดสินใจซื้อเพื่อแลกกับสิ่งนั้นๆ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวตนหรือไม่เหมือนใคร เราจึงได้เห็นการตอบรับสินค้าแฟชั่นที่เป็นการมิกซ์&แมตช์ 4.กลุ่มลูกค้ายุคมิลเลนเนียลชื่นชอบงานดีไซน์หรือการออกแบบที่ดีจากแบรนด์คุณภาพ ที่สำคัญต้องช่วยยกระดับสไตล์และเทรนด์ได้ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นแบรนด์หรูเท่านั้น

นอกจากนั้น เดนิส มอริเซ็ต หนึ่งในวิทยากรได้บรรยายหัวข้อ “แบรนด์หรูอัพเกรดประสบการณ์ในร้านค้าของพวกเขาอย่างไร” ระบุว่าโดยธรรมชาติกลุ่มผู้บริโภคมิลเลนเนียลจะให้ความสำคัญสินค้าลักชัวรี่ในด้านคุณภาพ คุณค่าการออกแบบสินค้า ยกตัวอย่างเช่น ร้านเสื้อผ้าในต่างประเทศได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการอำนวยความสะดวกในการบริการลูกค้า โดยให้ลูกค้าที่สนใจเครื่องแต่งกายที่จำหน่ายในร้านใช้แอปพลิเคชั่นในการสั่งซื้อสินค้าเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและสร้างความประทับใจ

ฉะนั้น ผู้ประกอบการในฐานะคนขายสินค้าจะต้องให้ความสำคัญกับสินค้าที่จะจำหน่าย เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความต้องการในตัวสินค้า Luxury เดนิส มอริเซ็ต กล่าวทิ้งทาย

จากงานสัมมนาในครั้งนี้เป็นการแบ่งปันองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการแบรนด์หรู หรือ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ต้องการทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าลักชัวรี่ได้ปรับตัวให้ทันต่อแนวโน้มของโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

exercitation. Accusamus VHS Wes Anderson Banksy food truck vero. Farm-to-table selfies labore, leggings cupidatat sunt taxidermy umami fanny pack typewriter hoodie art party voluptate cardigan banjo. Listicle meditation paleo, drinking vinegar sint direct trade vegan 3 wolf moon.

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 10:12
ปทุมพร  น้อยชาลี

Author : เกาะติดข่าวด้านการศึกษา, สุขภาพและความงาม, แฟชั่น, เครื่องประดับ, สัตว์เลี้ยง, อาหารและเครื่องดื่ม, สื่อและความบันเทิง, โรงพยาบาล, การรักษา, เครื่องมือแพทย์, โยคะ, สปา ฯลฯ

Latest from ปทุมพร น้อยชาลี

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM