IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
จากกรณีที่ นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกมาเปิดเผยข้อมูลของธนาคารโลก ว่าแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573) เด็กไทยที่เรียนจบจะตกงาน 72% การทำงานถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือหุ่นยนต์เอไอ ในส่วนของประเทศไทยถูกแทนที่ด้วยเอไอประมาณ 50% ยุโรป 80% ขณะที่ตัวเลขนักศึกษาเข้าเรียนลดลงถึง 70% ดังนั้น สถานศึกษา ครูและผู้บริหารสถานศึกษาต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงนั้น
ด้าน นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. กล่าวต่อว่า
มหาวิทยาลัยต้องไปคิดว่าจะปรับตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม ที่ผ่านมาตนพูดมาตลอดขอให้มหาวิทยาลัยเร่งปรับตัว เพราะความเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม ที่สำคัญคือเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว
ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเร็วกว่าข้อมูลที่ทางธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ที่ระบุว่า ตัวเลขคนตกงานประเทศไทยจะพุ่งสูง 72% ในปี ค.ศ.2030 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า แต่เป็นภายในไม่เกิน 5 ปีที่จะถึงนี้แล้ว ทั้งนี้ตนมอบนโยบายและพูดเรื่องนี้มานานพอสมควร แต่มหาวิทยาลัยเองยังปรับตัวได้ช้า อาจเพราะคิดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวยังมาไม่ถึง ซึ่งไม่เป็นความจริง มหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวเพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว ขณะที่ทางภาครัฐต้องลงทุนกับมหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเข้ามาช่วยเป็นกลไกสำคัญเข้ามาช่วยพัฒนา ทั้ง เรื่องงบประมาณ รวมถึงประสานภาคอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยลงทุน และสร้างงานวิจัย ที่สามารถพัฒนาต่อยอดและนำไปใช้ได้จริง ขณะที่ภาครัฐเองต้องขยับตัวลงทุนกับงานวิจัยให้มากขึ้น โดยปัจจุบันตัวเลขงบประมาณที่ใช้ด้านงานวิจัย เพียง 0.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี จากที่ตั้งเป้าไว้ 0.15% ของจีดีพี
ด้านนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ยอมรับว่ามหาวิทยาลัยปรับตัวช้า ไม่ทันโลก ถึงตอนนี้ตัวเลขจะเป็นอย่างไร แต่เราต้องดูทิศทางโลก ทิศทางประเทศเพื่อนบ้าน อย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน พัฒนาไปไกลกว่าเรามากแล้ว อย่างประเทศสิงคโปร์ มีการเรียนการสอนแบบข้ามสาขา มีการจัดหลักสูตรที่สอนคนทำงานแล้ว เพื่อเพิ่มสมรรถนะ พัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น เป้าหมายไม่ใช่เฉพาะคนวัยเรียนเท่านั้น แต่ขยายไปถึงคนวัยทำงานด้วย ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น มีการลงทุนด้านการวิจัย ทำความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
แต่อุปสรรคสำคัญคือ มหาวิทยาลัยยังคงอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ขณะที่จำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนในแต่ละปีน้อยลง อย่างการรับเด็กเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยระบบทีแคส ปี 2561 มีเด็กเข้ามหาวิทยาลัย ประมาณ 3 แสนคน ขณะที่ที่นั่งในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ กว่า 200 แห่ง มีประมาณ 9 แสนกว่าที่นั่ง ดังนั้นต้องมาคิดว่า อีก 6 แสนกว่าที่นั่งที่เหลือจะทำอย่างไร ซึ่งอธิการบดีกลุ่มทปอ. มีการพูดคุยเรื่องนี้มาโดยตลอด และเตรียมจะจัดงานสัมมนาทางรอดมหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นและวางแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ด้านนายวัลลภ สุวรรณดี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในฐานะนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่า ตอนนี้ไม่มีมหาวิทยาลัยใดไม่ปรับตัว โดยเฉพาะหลักสูตรที่ต้องปรับให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศมากขึ้น ทั้งนี้การปรับหลักสูตรมีหลายลักษณะทั้งการปรับใหญ่ เมื่อครบช่วงเวลา และการปรับเล็ก เป็นรายวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนตัวเลขบัณฑิตตกงานนั้น ยอมว่ามี
แต่บางคนจบแล้วก็อาจไปทำงานไม่ตรงสาขาที่เรียน อย่างเช่น บริหารธุรกิจของครอบครัว ช่วยพ่อแม่ทำงาน หรือขายของออนไลน์ มีรายได้ ซึ่งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้ประเทศเช่นกัน