IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. 61 จำนวน 5,964 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 482 ราย คิดเป็น 8% แต่เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.60 จำนวน 7,159 ราย ลดลง 713 ราย คิดเป็น 10%
สำหรับประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 583 ราย คิดเป็น 9% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 369 ราย คิดเป็น 6% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 177 ราย คิดเป็น 3%
มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีจำนวนทั้งสิ้น 23,233 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.61 จำนวน 26,354 ล้านบาท ลดลงจำนวน 3,121 ล้านบาท คิดเป็น 12% และเมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.60 จำนวน 47,354 ล้านบาท ลดลง 24,121 ล้านบาท คิดเป็น 51%
ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 6,313 ราย คิดเป็น 97.94% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 119 ราย คิดเป็น 1.84% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14 ราย คิดเป็น 0.22%
โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท มีจำนวน 3 ราย ได้แก่ ธุรกิจประกอบกิจการให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจโฮลดิ้ง และธุรกิจผลิต ประกอบ จำหน่ายซื้อขายกระเบื้องเซรามิก ธุรกิจละ 1 ราย โดยมีมูลค่าทุนรวมทั้งสิ้น 7,993 ล้านบาท
ด้านธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ส.ค. 61) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน710,587 ราย มูลค่าทุน 17.96 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วน จำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 184,739 ราย คิดเป็น 26.00% บริษัทจำกัด จำนวน 524,639 ราย คิดเป็น 73.83% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,209 ราย คิดเป็น 0.17%
โดยเมื่อแบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 628,150 ราย คิดเป็น 88% รวมมูลค่าทุน 1.02 ล้านล้านบาท คิดเป็น 6% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 67,901 ราย คิดเป็น 10% รวมมูลค่าทุน 1.83 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14,536 ราย คิดเป็น 2% รวมมูลค่าทุน 15.11 ล้านล้านบาท คิดเป็น 84% ตามลำดับ
ขณะที่จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,740 ราย เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. 61 ที่มีจำนวน 1,688 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 52 ราย คิดเป็น 3% และเมื่อเทียบกับเดือน ส.ค. 60 จำนวน 1,755 ราย ลดลงจำนวน 15 ราย คิดเป็น 1%
ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 163 ราย คิดเป็น 9% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 103 ราย คิดเป็น 6% และธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 56 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนส.ค. 61 มีจำนวนทั้งสิ้น 10,156 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก.ค. 61 จำนวน 6,282 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,874 ล้านบาท คิดเป็น 62% และเมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.60 จำนวน 7,845 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,311 ล้านบาท คิดเป็น 29% โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 1,643 ราย คิดเป็น 94.43% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 92 ราย คิดเป็น 5.29% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 5 ราย คิดเป็น 0.28%
นางกุลณี กล่าวต่อว่า
ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.- ส.ค.61) มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท จำนวน 49,958 ราย เพิ่มขึ้น จำนวน 878 ราย คิดเป็น 2% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-ส.ค.60) จำนวน 49,080 ราย
ซึ่งมีทิศทางสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีจากภาคการส่งออก รวมถึงการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค
โดยมีดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 61 สูงสุดในรอบ 64 เดือน อยู่ที่ระดับ 83.2 ตลอดจนการวางแนวทางในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
สำหรับภาคการท่องเที่ยวถึงแม้จะมีเหตุปัจจัยลบมากระทบกับความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวแต่ภาครัฐได้เร่งรณรงค์ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และมีการจัดโปรโมชั่นต่างๆเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว จึงคาดว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวให้ฟื้นกลับมาโดยเร็ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยให้มีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง