IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
โดยเปิดบริการในเฟสแรก กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ศูนย์อาหาร ร้านค้าทั่วไป และ Tales of Thailand หนึ่งในไฮไลท์แม็กเน็ตที่ใช้มาดึงนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการจำลองการสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทั่วทุกภาคของคนไทยมาไว้ในศูนย์การค้า
โปรเจ็กต์นี้ของ CPN นับได้ว่ามีขนาดใหญ่สุดและมูลค่าสูงสุด ของการพัฒนานอกพื้นที่กรุงเทพฯ ขนาดความใหญ่และมูลค่าโครงการเทียบแล้วเป็นรองก็แต่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงแต่ขนาดใหญ่และเม็ดเงินลงทุนสูงสุด สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัดเท่านั้น เซ็นทรัล ภูเก็ต ยังเป็นกำลังสำคัญในการบุกตลาดในพื้นที่ภาคใต้ของกลุ่มเซ็นทรัลด้วย ซึ่งจังหวัดภูเก็ตนับพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย แหล่งทำงานด้านการท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศ แม้จะมีพื้นที่ของจังหวัดขนาดเล็กก็ตาม ซึ่งเซ็นทรัล ภูเก็ต เป็นศูนย์การค้าหรูที่มี 7 เรื่องน่าสนใจ ด้วยคือ
1.New Landmark of Phuket
เซ็นทรัล ภูเก็ต นับเป็น The Biggest Retail Space ในภาคใต้ ด้วยขนาดพื้นที่รีเทล 185,000 ตารางเมตร และตัอยุ่ใจกลางเกาะภูเก้ต บริเวณสี่แยกดาราสมุทร ถนนเฉลิมพระเกียรติรัชการที่ 9 และถนนวิชิตสงคราม มีขนาดหน้ากว้างของโครงการถึง 1,500 เมตร ทำให้เป็นแลนด์มาร์กสำคัญแห่งหนึ่งของภูเก็ต โดยมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 2 อาคารเชื่อมต่อกันด้วยสะพานเชื่อมระบบอัตโนมัติ แบ่งเป็นฝั่ง FESTIVAL และ FLORESTA ซึ่งออกแบบด้วยแนวคิด LUXURY MEET NATURE มีการนำเสนอด้วยการเอาธรรมชาติมาสอดแทรกทั่วศูนย์การค้า และยังมีการผสานเรื่องราวของวรรณคดี และสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ อาทิ The Enchanted Garden จำลองเมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ Rakang ศิลปะระฆัง และ The Great Epic ประติมากรรมที่จำลองบทประพันธ์ตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น
ที่สำคัญ เซ็นทรัล ภูเก็ต ยังได้จำลอง พระตรีมูรติ (เทพสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ 3 พระองค์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ) มหาเทพผู้ซึ่งประทานความสำเร็จสมหวังในทุกประการ มาตั้งไว้บริเวณศูนย์การค้าด้วย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวให้ได้กราบไหว้สักการะบูชา โดยเป็นรูปหล่อปิดทองคำแท้ รูปองค์เหมือนพระตรีมูรติ ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
2. ดึง 20 แบรนด์เนมหรูเทียบเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ เปิดบริการ
CPN ต้องการสร้างให้เซ็นทรัล ภูเก็ต เปรียบเสมือนห้างเซ็นทรัล สาขาชิดลม และศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายลูกค้ากระเป๋าหนัก ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ จึงได้การวางกลยุทธ์สร้าง Super Magnet ซึ่งหนึ่งแม็กเน็ตสำคัญ คือ การดึงสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์แบรนด์เนมหรู เทียบเท่ากับแบรนด์ชั้นนำที่เปิดขายอยู่ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ปัจจุบัน ให้เข้ามาเปิดบริการที่เซ็นทรัล ภูเก็ตด้วย ไม่ต่ำกว่า 20 แบรนด์ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่รู้ว่าจะมีแบรนด์ใดบ้าง แต่คงหนีไม่พ้น 20 แบรนด์จากจำนวน 45 แบรนด์ ที่ขายอยู่ในศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ อาทิ CHANEL, KENZO, MCM, ALEXANDER MQUEEN, Paul Smith, PRADA,VERSACE และ TOMS เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีแบรนด์สินค้าทั้งไทยและอินเตอร์แบรนด์เตรียมเปิดร้านครั้งแรกในภาคใต้ด้วย อาทิ Topshop Topman, Fred Perry, Tumi, MNG, Matsumoto, MLB และร้าน Niki Store แห่งแรก และเป็นเจ้าเดียวในภูเก็ตซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 370 ตารางเมตร รวมถึง Luxury Swim Wear อย่างแบรนด์ Vilebrequin ที่จะเปิดครั้งแรกในภูเก็ตด้วย
3.TRIBHUM-AQUARIA ดึงนักท่องเที่ยว
นอกจากประสบการณ์ด้านการช้อปปิ้ง กับบรรดาร้านค้ากว่า 400 แบรนด์ สิ่งที่เซ็นทรัล ภูเก็ต นำมาใช้เป็นแม็กเน็ตสำคัญในการดึงนักท่องเที่ยวแล้ว การสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยว ในรูปแบบสถานที่ท่องเที่ยว หรือสวนสนุกต่างๆ ก็ถูกหยิบมาใช้ด้วย กับการสร้างประสบการณ์ใหม่แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก (The World’s Must-Visit Attractions) คือ TRIBHUM : The Mystic of Three World ธีมปาร์คผจญภัยแฟนตาซีแบบ 3D วอล์คทรูแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก และ Aquaria รูปแบบใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย จากการสร้างและดำเนินงานของ Aquarium ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีสัตว์ต่างๆ รวมกว่า 25,000 ตัว
4.ครบทุกเรื่องของวิถีไทยทุกภาค
อีกแม็กเน็ตในการดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติคุณภาพ คือ TALES OF THAILAND สถานที่ท่องเที่ยวที่มีการนำเอาสถาปัตยกรรมไทย พร้อมด้วยวิถีชีวิตของคนไทยในแง่มุมต่างๆ จากทั่วทุกภาคมานำเสนอในรูปแบบใหม่ร่วมสมัย การนำเสนอสินค้าและบริการที่แตกต่าง โดยเฉพาะการจำลองตลาดน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยทั้งหมดไว้ แบ่งออกเป็น 4 โซน คือ 1.Craft Village โซนของฝากทั่วไทย 2.Taste of The Island ศูนย์อาหารต้นตำรับจาก 4 ภาค 3.Isan Charming โซนอาหารอีสานรสจัดจ้าน และ 4.Floatting Market จำลองบรรยากาศตลาดน้ำกับ 30 ร้านค้าให้เลือก
5.แหล่งรวมของกินทั่วไทย
เรื่องอาหารการกิน เซ็นทรัล ภูเก็ต ก็ได้รวบรวมของดีของอร่อยจากทั่วไทยมาไว้ครบ เป็น Dining Destination หลากหลายสไตล์ ทั้ง Lifestyle Restaurant, Family Restaurant, Café & Bakery,Food Court และอาหารแบบ Take Home หรือแม้แต่การจัดทำ Phuket Menu (Exclusive Menu Only At Central Phuket) เมนูอาหารขึ้นชื่อที่หาทานได้เฉพาะที่เซ็นทรัล ภูเก็ต ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สร้างประสบการณ์และดึงนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการ
และยังมีร้านอาหารชื่อดังที่มาเปิดให้บริการครั้งแรกที่ภูเก็ต อย่างร้านนารา แหลมเจริญซีฟู้ด Ippudo, Mukeki,Godiva,ไก่ทอง,Oishi Eatrium,MK Live, On The Table, Zen Cusina, Chilli Thaiและ Café Amazon Share Space
สิ่งสำคัญได้มีการสร้างสรรค์ศาลาทุเรียน หรือ Durian Pavilion ซึ่งเป็นโซนพิเศษที่เปิดขึ้นมาที่แรก เพื่อมอบประสบการณ์การกินผลไม้เมืองร้อนอย่างทุเรียนให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัสความอร่อยอีกด้วย
6.สถานที่จัด World Event
กลยุทธ์สำคัญเพื่อผลักดันให้ เซ็นทรัล ภูเก็ต เป็นแลนด์มาร์คของประเทศไทย เทียบกับย่านราชประสงค์ในปัจจุบันด้วยนั้น คือ การสร้าง World Playlist ด้วยการจัดงานอีเวนต์ยิ่งใหญ่ระดับโลก เตรียมมาจัดต่อเนื่องตลอดทั้งปี ประเดิมด้วยงานเทศกาลดนตรีนานาชาติภูเก็ต (Phuket International Music Festival) ในเดือนตุลาคมนี้ ตามด้วยงานเทศกาลเคาท์ดาวน์ระดับโลกประจำภูเก็ต (Phuket International Countdown 2019) ในช่วงปลายปี นอกจากนี้ CPN ยังเตรียมวางแผนสร้างอีเวนต์ และการดึงเอาอีเวนต์ระดับโลกให้เข้ามาจัดแสดงด้วย ซึ่งจะครอบคลุมทั้งอีเวนต์ด้าน Food , Sport , Culture และ Family Event
7.เตรียมโรงแรม-ศูนย์ประชุม หนุน WORLD-CLASS MICE CITY
หลังจากเปิดตัวศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภูเก็ต ครบแล้ว แผนพัฒนาโปรเจ็กต์ในเฟสต่อไป ได้เตรียมก่อสร้างโรงแรมมาตรฐานระดับโลกและ Convention Hall ขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการจัดงาน MICE หรือการจัดงาน Meetings, Incentive Travel, Conventions และ Exhibitions ซึ่งขณะนี้ CPN อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม แต่รับรองจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รองรับการเป็นศูนย์กลางการจัดงานระดับภูมิภาคและนานาชาติได้อย่างสบาย เพราะ CPN ต้องการผลักดันให้ภูเก็ตเป็น WORLD-CLASS MICE CITY และจะเป็นการต่อจิ๊กซอร์ของโครงการเซ็นทรัล ภูเก็ตให้มีความสมบูรณ์แบบด้วย
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำคัญที่จะเข้ามาใช้บริการในเซ็นทรัล ภูเก็ต คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติสัดส่วน 50% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวคุณภาพ หรือ นักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลชาวชีย (Rich Asian Millennials) และนักท่องเที่ยวยุโรปที่ใช้จ่ายสูง (European High Spenders) ซึ่งคาดว่ามีอยู่กว่า 70 ล้านคนทั่วโลก โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพจะใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 8,000 บาทต่อคน การเปิดให้บริการของเซ็นทรัล ภูเก็ต น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้มีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 10,000 บาทต่อคนได้
สำหรับแนวทางการทำตลาดเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด CPN เล่าว่า บริษัทได้จัดตั้งแผนการตลาดการท่องเที่ยวหรือ Tourist Marketing ขึ้นมาดูแลกลุ่มนักท่องเที่ยวออกมาอย่างเป็นทางการ เพื่อเจาะตลาดนักท่องเที่ยวเหล่านั้นโดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้เครือข่ายธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลทั้งหมดเข้ามาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยว (Tourist Big Data) เชื่อมโยงกับฐานสมาชิก The 1 Tourist ที่มีอยู่กว่า 700,000 คน ทำการ cross selling กับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วโลกกับศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าของกลุ่มเซ็นทรัลที่มีอยู่ทั่วโลกด้วย รวมถึงการทำตลาดร่วมกับบริษัททัวร์ เอเยนต์ การจัดโปรโมชั่น และการทำ CRM