December 22, 2024

ธพว. ครบรอบปีที่ 55 ดันโครงการ “กล้า D” ลุยภารกิจติดปีก SMEs

SME Development Bank เดินหน้าองค์กรเข้าสู่ปีที่ 55 ประกาศภารกิจพลิกโฉมยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยสู่ธุรกิจดาวเด่นยุค 4.0 ผ่านโครงการ "กล้า D" จับมือพันธมิตรต่อยอดให้ความรู้ สร้างโอกาส ขยายตลาด ก้าวทันเทคโนโลยี และเติมเต็มด้วยเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME Development Bank กล่าวว่า ข้อมูลจากหลายหน่วยงานที่คาดการณ์เศรษฐกิจโดยได้ประเมิน 10 ประเภทธุรกิจที่หากไม่ยกระดับ ปรับเปลี่ยน จะมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน ธุรกิจผลิตและจำหน่ายหรือให้เช่า CD-DVD กลุ่มยาง-ผลิตภัณฑ์ยางและปาล์มน้ำมัน ธุรกิจร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชห่วย) ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน เฟอร์นิเจอร์ไม้ อุตสาหกรรมสิ่งทอ-เครื่องหนัง ธุรกิจทีวีดิจิทัล-เคเบิลทีวี-สื่อสิ่งพิมพ์ และเครือข่ายห้างสรรพสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ดี แม้ธุรกิจดังกล่าวอาจถูกประเมินว่ามีความเสี่ยง แต่ในมุมมองของ SME Development Bank มั่นใจว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาส หากผู้ประกอบการในธุรกิจกลุ่มดังกล่าว สามารถยกระดับ และปรับตัวได้ จะมีโอกาสกลับมาเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสามารถแข่งขัน และเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ดังนั้น เนื่องในโอกาสที่ ธพว. ทำงานเคียงคู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยก้าวสู่ปีที่ 55 ในวันที่ 20 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา จึงประกาศภารกิจสำคัญในการเป็นสถาบันการเงิน เพื่อยกระดับ SME ที่ยังดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม

ให้ก้าวสู่การเป็น SMEsดาวเด่น รวมถึง สร้างโอกาสแก่ผู้ต้องการเริ่มธุรกิจใหม่ ให้เติบโตได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ภายใต้โครงการ "กล้า D" ยกระดับผ่านรหัส 3D ได้แก่ D-Development พัฒนาธุรกิจด้วยความรู้คู่ทุน D-Digital ให้บริการผ่านเทคโนโลยีทันสมัย และ D-Delivery บริการถึงถิ่นอย่างรวดเร็ว พร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง "ปรับ เปลี่ยน ลุก เดิน ก้าวไปข้างหน้า" แนวทางนี้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เน้นย้ำมาตรการพิเศษขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 

"ธพว. ให้ความสำคัญที่จะพาผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ถนนดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจช่วยให้ก้าวข้ามขีดจำกัดการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิม หรือ โชห่วยที่ถูกร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ชิงตลาด หากใช้เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซมายกระดับให้ร้านเป็นศูนย์กระจายสินค้าชุมชนถึงไปมือผู้บริโภคโดยตรงจะช่วยให้เปิดตลาดใหม่ได้นี่จึงภารกิจที่ ธพว. มุ่งมั่นจะเข้าไปสนับสนุนให้ SMEs ดั้งเดิมยกระดับตัวเองให้ได้" นายมงคล ระบุ

สำหรับรูปแบบการสนับสนุนจะนำโปรแกรม "SME D Scale Up ความรู้คู่ทุน" ไปยกระดับธุรกิจโดยเน้นการพัฒนา เช่น เติมความรู้ให้ธุรกิจชุมชนใช้สื่อออนไลน์ปักหมุดแจ้งเกิดตลาดอีคอมเมิร์ซ สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล ออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าให้ทันสมัย พัฒนาคุณภาพสินค้าจนได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือทั้งในและต่างประเทศและร่วมกับห้างสรรพสินค้าจัดพื้นที่ขายสินค้า เป็นต้น ทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลและแนะนำอย่างใกล้ชิดจากทีมพี่เลี้ยงมืออาชีพ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดูแลกลุ่มผู้ประกอบการยางพารา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดูแลกลุ่ม SMEs-Startup มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้พัฒนาโมเดลแนวคิดต้นแบบการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เป็นต้น

"โครงการกล้า D ธพว. จะดึงพันธมิตรเครือข่ายทั้งภาครัฐเอกชน สถาบันการศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้เข้ามาร่วมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย รวมถึง ผู้อยากจะมีธุรกิจของตัวเองได้มีโอกาสกลับไปสร้างธุรกิจในพื้นที่ภูมิลำเนาบ้านเกิด รอบนิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจระดับภูมิภาคเข้มแข็ง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตด้วยคนในท้องถิ่น"กรรมการผู้จัดการ ธพว. กล่าว

นอกจากนี้เมื่อผ่านโปรแกรมเติมความรู้แล้ว ธนาคารเตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษไว้รองรับขยายธุรกิจในรายที่ได้เข้าร่วมโครงการ เช่น สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) วงเงิน 30,000 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งกลุ่มเกษตรแปรรูป ธุรกิจท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวชุมชน ผู้ประกอบการใหม่ที่มีนวัตกรรม กลุ่มค้าส่งค้าปลีก (โชห่วย/ร้านค้าชุมชน/ร้านธงฟ้า) ผู้ประกอบการค้าสินค้าเกษตรและกลุ่มผู้ประกอบการอยู่นอกระบบที่ประกอบอาชีพอิสระทั้งหมายไม่ว่าจะเป็นค้าขายออนไลน์ food truck ขับรถแท็กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง พ่อค้าแม่ขายในตลาดสด เป็นต้น คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ บุคคลธรรมดาปีที่ 1-3 เพียง 0.42% ต่อเดือน และเมื่อยกระดับเข้าสู่การเป็นนิติบุคคล จัดทำบัญชีเดียวจะมีอัตราดอกเบี้ยถูกลงไปอีก ปีที่ 1-3 เพียง 0.25% ต่อเดือน 

นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในปี 2562 เช่น ธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ ธุรกิจการผลิตดิจิทัลคอนเทนท์ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักพัฒนาซอฟต์แวร์-ออกแบบแอปพลิเคชัน การขายสินค้าออนไลน์ ธุรกิจบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น ทาง ธพว.จะสร้างกระบวนการให้เข้าถึงสินเชื่อของธนาคารได้ง่ายและสะดวกที่สุด ผ่านแพลตฟอร์ม 'SME D Bank' แอปพลิเคชันที่สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ภายใต้รหัส '24x7 หมายถึง ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง 7 วัน ทำงานควบคู่กับหน่วยบริการเคลื่อนที่รถม้าเติมทุน ส่งเสริม SMEsไทย ฉับไว ไปถึงถิ่น' เมื่อยื่นขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ จากนั้นภายใน 3 วัน เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ เพื่อนัดหมายให้หน่วยรถม้าเติมทุนฯ เข้าไปพบ เพื่อขอดูข้อมูลเชิงประจักษ์การดำเนินธุรกิจจริง สามารถรู้ผลการพิจารณาสินเชื่อได้ใน 7 วัน ขณะเดียวกัน พนักงานของธนาคาร ทำงานภายใต้รหัส '8-8-7 หมายถึง 8 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม (8:00-20:00 น.) ตลอด 7 วัน'และเพิ่มเติมหลักสูตรสนับสนุนต่อยอดให้กับผู้ที่สนใจสมัครเข้าโครงการ "กล้า D" ของธนาคาร โดยจะเปิดโครงการในเร็วๆ นี้

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจร่วมโครงการ "กล้า D"สมัครหรือลงทะเบียนได้ทางhttps://goo.gl/mt15HK ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน "SME D Bank" เพื่อศึกษารายละเอียดข้อมูลสินเชื่อ หรือ องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือติดต่อฝ่ายส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการ โทร. 081-480-7594

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Monday, 24 December 2018 06:28
พลวัตน์ พัฒนชัยเดชา

Author : เกาะติดข่าวการเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน ตลาดทองคำ พันธบัตร ตราสารหนี้ การเกร็งกำไร กองทุน การออม ประกันชีวิต ภาษี การวางแผนการเงิน ดอกเบี้ย รวมไปถึงสินทรัพย์ต่างๆ ในทุกมิติ

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM