December 18, 2024

“AECS ” ชี้ หุ้นนิคมฯ –โรงไฟฟ้า น่าลงทุน

บล.เออีซี ประเมินหุ้นไทยยังคงผันผวน แนะเลือกหุ้นที่มีปัจจัยเสริมรองรับการลงทุน ด้านฝ่ายวิจัย ชี้ ควรลงทุนหุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม อาทิ AMATA-WHA-EASTW เหตุได้อานิสงค์จาก EEC พร้อมแนะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ได้แก่ BGRIM-BPP-GUNKUL เตือนนักลงทุน ยังต้องจับตาทิศทางต่างประเทศ ที่ยังคงเข้ามาฉุดภาพรวมการลงทุน 

บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในช่วงที่ดัชนีตลาดหุ้นไทย ยังคงผันผวน โดยให้น้ำหนักไปยังกลุ่มที่น่าลงทุนกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มนิคมและสาธารณูปโภค เนื่องจากได้รับอานิสงส์บวกทั้งราคาขาย และยอดขาย ในพื้นที่เขต EEC อาทิ AMATA เพราะปัจจุบันมีพื้นที่รอการขาย 2,777 ไร่ และพื้นที่รอการพัฒนาอีกราว 8,172 ไร่ ขณะที่หุ้นที่น่าจับตาอีกตัวคือ WHA โดยมีการคาดการณ์ว่า ในปี 62 WHA ตั้งเป้าขายที่ดินในนิคมไม่ต่ำกว่า1,000 ไร่ และ คาดจะมีลูกค้าเข้ามาเช่าพื้นที่ เพิ่มจากคลังสินค้าอีกกว่า 1 แสนตรม.

หุ้น EASTW ที่มีการประเมินว่าในปี 62 คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวของกำไร ซึ่งสอดคล้องรับไปกับการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมในเขต EEC ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำดิบ ในนิคมฯเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ ในระยะยาว EASTW ยังมีแผนเพิ่มสัดส่วน การจำหน่ายน้ำควบคุมคุณภาพ (มาร์จิ้นสูง) มากขึ้นโดยล่าสุดเซ็นสัญญาให้บริการแก่ GULF (รับรู้ รายได้ปี63) และ AMATA (รับรู้รายได้ปี64)

นอกจากนี้ ทางฝ่ายวิจัย ยังแนะนำลงทุนในกลุ่มโรงไฟฟ้า โดยเน้นหุ้นประเภทที่มีลักษณะธุรกิจที่มีความสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างสม่ำเสมอ โดยเราเลือกหุ้นโรงไฟฟ้า ที่ยังคงมีการเติบโตต่อเนื่องได้อีก 4-5 ปี ข้างหน้า ได้แก่ BGRIM โดยมองว่า ปี62 มีแผน COD โรงไฟฟ้า เพิ่มอีก 682 MW ทำให้มีกำลังผลิตรวม 2,773 MW ณสิ้นปี 62และมีเป้าหมายระยะยาวในปี65 ที่ 3,130 MW ขณะที่หุ้น BPP เราประเมินว่า ปี62 BPP มีแผน COD โรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 312 MW ทำให้มีกำลังผลิตรวม 2.48 GW ณ สิ้นปี 62

และมีเป้าหมายระยะยาวในปี 68 ที่ 4.3GW และ GUNKUL มองว่า ปี 62 มีแผน COD โรงไฟฟ้าโซลาร์อีก 105 MW ทำให้มีกำลังผลิตรวม 401MW ณ สิ้นปี62 และมีเป้าหมายระยะยาวในปี 65 ที่ 543 MW.

สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นในต่างประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปิดหน่วยงานสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อที่สุด (24 วัน) หลังทรัมป์และวุฒิสภา ยังไม่มีทีท่าจะสามารถตกลงร่างงบประมาณของสหรัฐฯ ได้ จากความขัดแย้งต่อประเด็นงบกำแพงกั้นเขตเม็กซิโก โดยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของทำเนียบขาวเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าทุกๆ 2 สัปดาห์ที่อยู่ในภาวะปิดหน่วยงานสหรัฐฯ จะทำให้ GDP ในช่วงไตรมาส 1/2561 ลดลง 0.1%

ขณะเดียวกันกรณีที่ นางเทเรซ่า เมย์ เตรียมเปิดลงมติร่างข้อตกลง BREXIT ฉบับล่าสุดที่ผ่านการประชุมร่วมกับ EU ซึ่งมีสัญญาณไม่ดีนัก เนื่องมีความขัดแย้งภายในฐานเสียงของพรรครัฐบาล ทำให้หลายฝ่ายคาดร่างกฏหมายดังกล่าว จะได้รับคะแนนเสียงไม่เพียงพอที่จะผ่านร่างกฏหมายดังกล่าวไปได้ (320 เสียง จาก 639 เสียง) ส่งผลให้อังกฤษมีแนวโน้มที่จะต้องออกจากกลุ่ม EU โดยไร้ข้อตกลง ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจ ของทั้ง EU และอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดในช่วงกลาง-ยาว ยังให้น้ำหนักส่วนใหญ่กับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่เริ่มมีบรรยากาศการเจรจาที่ดีขึ้น และคาดจะเห็นความคืบหน้ามากขึ้นในการประชุมระหว่างผู้นำระดับสูงของทั้ง 2 ฝ่าย โดยหากเป็นไปด้วยดี คาดทำให้นักลงทุนกลับมามองบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก บวกกับปัจจัยหนุนจากการที่เฟดส่งสัญญาณชัดเจนที่จะชะลอแผนขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2019

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Monday, 04 February 2019 05:04
รัญญา ศรีไชยญา

Author : จบสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา ชำนาญการสัมภาษณ์ มีประสบการณ์งานข่าวหนังสือพิมพ์ เกาะติดข่าว อสังหา การก่อสร้าง งานเมกกะโปรเจคจากภาครัฐ ฯลฯ

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM