January 19, 2025

กฟผ. พร้อมเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวรายใหม่ เชิญชวนผู้ผลิต - ผู้ค้าในตลาดสากล เข้ายื่นเสนอเป็นผู้จัดหาก๊าซฯ ป้อนโรงไฟฟ้า

กฟผ. เดินหน้าเป็นผู้นำเข้า LNG รายใหม่ ออกประกาศเชิญชวนผู้ผลิต – ผู้ค้านานาชาติที่มีศักยภาพ ในการจัดหา LNG ให้กับ กฟผ. เข้ายื่นเอกสารแสดงความสนใจก่อนเข้าสู่กระบวนการแข่งขันด้านราคา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ คาดเริ่มนำเข้าได้ภายในปี 2562 ในปริมาณไม่เกิน 1.5 ล้านตันต่อปี

นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยความก้าวหน้าในการเตรียมการเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของ กฟผ. ว่า ขณะนี้ กฟผ. ได้ออกประกาศเชิญชวนให้ผู้ผลิตหรือผู้ค้า LNG ในตลาดสากลยื่นเอกสารแสดงความสนใจ (REOI) พร้อมทั้งส่งข้อมูลที่แสดงถึงความพร้อมในการจัดส่ง LNG ให้ กฟผ. พิจารณาคัดเลือก และขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการแข่งขันราคา โดย กฟผ. จะคัดเลือกผู้ผลิตหรือผู้ค้าที่มีประสบการณ์ มีฐานะทางการเงินมั่นคง และมีความพร้อมในการจัดส่ง LNG ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ผู้ผลิตหรือผู้ค้าที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์การจัดหาต่างประเทศของ กฟผ. http://www4.egat.co.th/fprocurement/biddingeng/

 

ทั้งนี้ ราคา LNG ที่ กฟผ. จัดหาต้องไม่สูงกว่าราคา LNG ต่ำสุดตามสัญญาจัดหาระยะยาวของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 และได้มอบหมายให้ กฟผ. ทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้า LNG รายใหม่ของประเทศ

“กฟผ. มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากภาครัฐให้ลุล่วงตามเวลาที่กำหนดได้ โดยวางแผนที่จะดำเนินการเพื่อลงนามสัญญาได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2562 และสามารถนำก๊าซเข้ามาใช้งานได้ภายในปลายปี 2562 ทั้งนี้ กฟผ. จะยึดมั่นในกรอบการดำเนินการที่โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน” รองผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ. กล่าวสรุป

 

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 10:42
กัลยรัตน์ กิจศิริวัชรโชติ

Author : เกาะติดข่าวพลังงาน พลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานสะอาด โรงไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าช การขนส่งพลังงาน นโยบายรัฐ สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM