December 18, 2024

GIANT ROCK 1990 เหมืองแร่รักษ์โลก คว้ารางวัลเหมืองแร่สีเขียว 6 ปีซ้อน

จากผู้รับเหมารายเล็กๆ รับจ้างระเบิดภูเขาให้ SCG สระบุรี มาวันนี้กลายเป็นเจ้าของเหมืองหินระดับประเทศในชื่อ บริษัท ไจแอนท์ ร็อค 1990 จำกัด คงต้องใช้ความพยายามอันยิ่งใหญ่สมชื่อแน่ วันนี้ #Im ได้รับเกียรติจากเฮียยักษ์เจ้าของเหมืองฯ เปิดอกคุยถึงเรื่องราวความเป็นมา

จากผู้รับเหมารายเล็ก กลายเป็นเจ้าของเหมืองหิน

“มันเป็นจังหวะของชีวิต…”

เฮียยักษ์เล่าให้ฟังว่าอยากที่จะโต เลยไม่หยุดอยู่แค่รับจ้างระเบิดหินให้ปูนซิเมนต์ไทย ยอมเสี่ยงเช่าเหมืองที่จังหวัดเลย ไม่ว่าเจองานหินแค่ไหนไม่เคยถอย สิ่งที่ยากคือการขอสัมปทานทำเหมืองหินอย่างเต็มตัว สุดท้ายได้สัมปทานมา 25 ปี แต่ที่ยากที่สุดของการทำเหมืองคือ ทำเหมืองอย่างไรให้รอด ทำเหมืองอย่างไรให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้ ซึ่งนอกจากเรื่องการสร้างงานในพื้นที่ เรื่องการมีส่วนร่วมในชุมชนแล้ว ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องหลักที่ต้องเน้นที่สุด โครงการเหมืองสีเขียว (Green Mining) เหมืองต้องลงทุน เหมืองต้องทำ และต้องทำด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ

 

 

เหมืองสีเขียว (Green Mining) 

ด้วยกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “เรื่องหินอีกอย่างคือสิ่งแวดล้อม…” เฮียยักษ์กล่าว

หลักการทำเหมืองของโรงโม่หิน บริษัท ไจแอนท์ ร็อค 1990 จำกัด ด้วยแนวคิด “ไจแอนท์ร็อค รักษ์ป่าเขียว” โดยได้นำแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)มาปรับใช้ในกระบวนการจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดกฏหมาย รวมไปถึงข้อปฎิบัติสากลเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

 

การออกแบบการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บริษัท ไจแอนท์ ร็อค 1990 จำกัด ได้พัฒนานวัตกรรมการออกแบบการทำเหมืองรูปแบบใหม่ เรียกว่า “Semi Open Cut” ที่ผสมผสานเทคนิคการทำเหมืองแบบ Open Cut (การตัดยอด) และ Open Pit (การขุดตัก) โดยจะเว้นพื้นที่ขอบเพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียว หรือ Buffer Zone ตลอดแนวขอบเหมือง เพื่อคงไว้ซึ่งทัศนียภาพของขอบแนวเขาตามธรรมชาติ ที่ยังคงสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์

จากประสบการณ์มีค่าสมัยรับจ้าง SCG เลยเริ่มต้นปลูกต้นไม้รอบเหมือง ปรับสมดุลสิ่งแวดล้อม แล้วค่อยทำโรงโม่หิน จนได้รับรางวัลโรงงานสีเขียว และรางวัลเหมืองสีเขียวจากภาครัฐ โดยมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดในทุกๆ ขั้นตอน

 

ขั้นตอนการทำเหมือง

บริษัท ไจแอนท์ ร็อค 1990 จำกัด ได้นำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเข้ามาพิจารณาการทำเหมืองทุกขั้นตอน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อทั้ง ธุรกิจสิ่งแวดล้อม และสังคม โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • การวางแผนการทำเหมือง (Mine Planning) โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิศวกรรมเหมืองแร่เพื่อวางแผนการทำเหมืองทั้งในระยะยาวและระยะสั้นเพื่อให้สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
  • การระเบิด (Blasting) ศึกษา ปรับปรุงรูปแบบและเทคนิคการทำเหมืองที่จะช่วยลดผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะด้านเสียงและแรงสั่นสะเทือนโดยพยายามปรับรูปแบบการระเบิดให้สอดคล้องกับลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่อให้การระเบิดมีประสิทธิภาพสูงสุดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดเวลาการทำเหมืองและสื่อสารให้กับชุมชนโดยรอบได้รับทราบอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งส่งพนักงานเข้าไปสังเกตการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นบริเวณชุมชนรอบเหมืองทุกครั้ง
  • การบดย่อย (Crushing) ใช้เทคโนโลยีป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองโดยได้ออกแบบกระบวนการบดย่อยเป็นระบบปิดทั้งหมด ทั้งปากอ่างเครื่องย่อย ระบบลำเลียง จุดเปลี่ยนผ่าน และที่กองเก็บ อีกทั้ง ยังมีระบบสเปรย์น้ำและระบบกรองฝุ่น (Bag Filter)เพื่อดักจับฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจายสู่ภายนอก
  • การขนส่ง (Hauling) ได้ออกแบบผิวถนนบนเหมืองให้เกิดฝุ่นน้อยที่สุดและติดตั้งระบบสเปรย์น้ำอัตโนมัติและรถบรรทุกน้ำเพื่อฉีดพรมเส้นทางขนส่งและควบคุมความเร็วของรถทุกชนิดให้มีความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตร /ชั่วโมง

นอกจากนี้ การใช้น้ำในเหมือง ใช้จากแหล่งกักเก็บน้ำฝนในโรงงานจึงไม่มีการดึงน้ำจากแหล่งทรัพยากรน้ำภายนอกโรงงานมาใช้ในกระบวนการทำเหมือง เช่น การรดถนน สเปรย์น้ำ และรดน้ำในแปลงฟื้นฟู อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำเหมืองยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีก เช่น หินปูนที่ใช้สำหรับผลิตปูนเม็ด หินปูนสำหรับผสมในการบดซีเมนต์และหินปูนสำหรับผลิตหินก่อสร้าง

การฟื้นฟูเหมืองและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

บริษัท ไจแอนท์ ร็อค 1990 จำกัด มุ่งมั่นจะเป็นต้นแบบที่ดีของการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเปิดกว้างให้หน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงานและนำองค์ความรู้ไปปรับใช้เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้ดำเนินการดังนี้

  • กำหนดกรอบแผนงานฟื้นฟูเหมือง ใช้หลักการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ด้วยหลักวนวัฒน์วิทยาการคัดเลือกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น หลักการพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ผสานกับเทคโนโลยีวิศวกรรมเหมืองแร่
  • กำหนดแผนงานด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
    • ระยะที่ 1 การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Baseline Data) ที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่เป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดกรอบงาน
    • ระยะที่ 2 การศึกษาข้อมูลเชิงลึกของพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพื่อจัดทำรายละเอียดของแผนการดำเนินงานเพื่อจัดเตรียมกล้าไม้ท้องถิ่นสำหรับการฟื้นฟูเหมืองพร้อมกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญในการวัดผลสำเร็จของโครงการ
    • ระยะที่ 3 การศึกษาความสัมพันธ์ของสังคมพืชและสัตว์เพื่อนำข้อมูลมาใช้กำหนดแผนงานฟื้นฟูเหมืองให้คืนสู่ระบบนิเวศป่าไม้อย่างครบวงจรห่วงโซ่อาหาร (Biodiversity Management Plan)

ความมุ่งมั่นในการสร้างเหมืองสีเขียว (Green Mining) ของบริษัท ไจแอนท์ ร็อค 1990 จำกัด นับว่าน่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง สมกับรางวัลเหมืองแร่สีเขียว 6 ปีซ้อน แม้ทีมงาน #Im มาถ่ายทำในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้หลากชนิดใบแห้งร่วงหล่นตามวัฏจักรชีวิต แต่ก็ยังเห็นความเขียวขจีอยู่เต็มพื้นที่โรงโม่หินมากมาย

สนใจสั่งซื้อหิน สอบถามราคาหิน การทำเหมือง หรือโรงโม่หิน โปรดติดต่อ
ณรงค์ กองกัลยา (เฮียไจแอนท์, เฮียยักษ์)
โรงโม่หิน บริษัท ไจแอนท์ ร็อค 1990 จำกัด
188 หมู่ 8 ตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย 42220
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
086-451-3755, 081-942-4299, 081-355-6522

212/28 ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี 18000
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
036-347-689, 036-351-171, 036-351-172


Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 28 August 2023 13:10
อัญชลี ปรีชาธนพันธ์

Author : ประสบการณ์งานข่าวภาคสนามร่วมสิบปี เชี่ยวชาญงานข่าวสด งานสัมภาษณ์ สอบถาม เข้าร่วมฟังในที่ประชุมแถลงข่าว การสัมมนา ติดตามเหตุการณ์ คดีต่างๆ หรือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำข่าว

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM