January 18, 2025

โดย : หจก. เอ็น ที เอส เทเลคอม

ช่วงนี้เราเริ่มได้ยินคำว่า 5G กันมากขึ้นเรื่อยๆ เหล่าเครือข่ายและผู้ผลิตมือถือทั่วโลกก็เริ่มออกมาเคลมว่าตัวเองรองรับ 5G กัน แต่หลายๆคนก็อาจจะงงว่า 5G แล้วยังไงเหรอ มันก็แค่เน็ตเร็วขึ้นกว่าเดิมรึเปล่า ตอนนี้ก็สามารถเล่นเฟสดูยูทูปได้ก็พอแล้วนี่นาจะเอาอะไรมากกว่านี้อีก วันนี้เดี๋ยวผมจะเอามาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมกันครับ ว่า 5G วันนี้อาจจะฟังดูไกลตัว แต่มันกลับใกล้ชีวิตเรามากกว่าที่คิดเลยล่ะครับ

5G คืออะไร?

5G ที่เราเรียกๆกันอยู่นี่ มันย่อมาจาก เจนเนอเรชั่นที่ 5 ของการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ (5th Generation of Cellular Mobile Communications) ซึ่งปัจจุบันได้มีข้อกำหนดออกมาเกือบสมบูรณ์แล้วและเตรียมจะประกาศใช้ในช่วงปี 2020 ที่จะถึงนี้ ปัจจุบันเราจะได้เห็นการเตรียมพร้อมของแต่ละเครือข่ายทั่วโลกพัฒนาตนเองให้รองรับการมาของ 5G ตั้งแต่ปีหน้ากันแล้ว โดยคุณสมบัติของเครือข่ายที่จะเรียกตัวเองว่า 5G ได้นั้นจะมีดังนี้

  • ความเร็วสูงสุด 10Gbps
  • Latency ระยะเวลาการเชื่อมต่อไปยังปลายทาง น้อยกว่า 0.001 วินาที
  • มีความเสถียรใช้งานได้ 99.9999%
  • ครอบคลุมพื้นที่ 100%
  • มี Bandwidth เพิ่มขึ้น 1000 เท่าในแต่ละพื้นที่
  • รองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 100 เท่า ในแต่ละพื้นที่
  • ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อยลง 90%
  • อุปกรณ์ IoT พลังงานต่ำเมื่อเชื่อมต่อแบตจะมีอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี

แต่ละ Generation มีการพัฒนาอย่างไรบ้าง

  • 1G การคุยกันด้วยเสียง
  • 2G รองรับการส่งข้อความหากัน
  • 3G เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วไป
  • 4G ดูภาพและเสียงได้
  • 5G การเชื่อมต่อสิ่งของทุกสรรพสิ่ง

ความเปลี่ยนแปลงจาก 4G → 5G

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเดี๋ยวมาดูกันเพิ่มเติมว่าเมื่อเทียบกับ 4G แล้ว 5G มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง 

  • Latency การตอบสนองที่ไว้ขึ้น สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที จากตอน 4G ถ้าตามทฤษฎีจะอยู่ที่ 10ms ซึ่งเมื่อใช้งานจริงจะอยู่ราว 20-30ms แต่เมื่อเป็น 5G จะลดลงไปถึง 10 เท่า เหลือน้อยกว่า 1ms ทางทฤษฎี ซึ่งคาดว่าเมื่อใช้งานจริงจะอยู่ราว 3-4ms
  • Data Traffic รองรับการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า จากที่ใน 4G จะสามารถรับส่งข้อมูลต่อเดือนได้ราว 7.2Exabytes ต่อเดือน แต่เมื่อขึ้นเป็น 5G จะเพิ่มขึ้นราว  7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
  • Peak Data Rates ความเร็วเพิ่มขึ้นสูงสุด 20 Gbps หรือราว 20 เท่าจากเดิม
  • Available Spectrum ความถี่สำหรับใช้งาน เพิ่มขึ้นจากตอน 4G ที่มีให้ใช้เพียง 3GHz แต่เมื่อเป็น 5G จะสามารถใช้งานคลื่นได้จนถึงความถี่ 30GHz
  • Connection Density ความหนาแน่นของการใช้งาน เพิ่มขึ้น 10 เท่าจากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.

เราจะได้ประโยชน์อะไรจาก 5G?

หลังจากเห็นตัวเลขอะไรมากมายน่ามึนหัวสำหรับหลายๆคนมาแล้ว มาลองดูการใช้งานจริงกันบ้างดีกว่าว่าถ้าเปลี่ยนจากตัวเลขเหล่านั้นเป็นการใช้งานจริง อะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง มีการแบ่งการใช้งาน 5G ออกเป็น 3 แกนหลักด้วยกัน ได้แก่ Enhanced mobile broadband (eMBB), Massive machine type communications (mMTC), และ Ultra-reliable and low latency communications (URLLC) โดยแต่ละการใช้งานจะมีส่วนผสมของแต่ละแกนมาน้อยต่างกันไป

Enhanced mobile broadband (eMBB) เพิ่มศักยภาพการรับ-ส่งข้อมูล เมื่อมีความเร็วที่มากขึ้นแล้วเราก็สามารถสตรีมวิดีโอความละเอียดสูงๆระดับ 4K, ทำงานทุกอย่างอยู่บน Cloud  โหลดภาพโหลดข้อมูลต่างๆมาได้แทบจะทันที่ที่ต้องการ

4G อาจจะโหลด 4K ได้แบบมีกระตุก แต่เข้า 5G แล้วก็จะง่ายขึ้น

 

 

 

Massive machine type communications (mMTC) รองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆได้ ก็สามารถใช้งานเหล่าอุปกรณ์ IoT ที่คาดกันว่าจะมีเพิ่มขึ้นหลายร้อยเท่าตัวจากในปัจจุบัน ลองนึกภาพสิ่งของทุกชิ้นที่เราใช้งานในชีวิตประจำวัน ทั้งรถยนต์ พัดลม ประตูบ้าน โทรทัศน์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ ฯลฯ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องใช้ WiFi แต่ผ่านเครือข่ายมือถือแทน การเชื่อมต่อจะมหาศาลแค่ไหน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม 5G จึงต้องรองรับการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นจากตอน 4G ถึง 10 เท่าตัวนั่นเอง https://www.youtube.com/watch?v=WztuyZwq578 Ultra-reliable and low latency communications (URLLC) การเชื่อมต่อที่เสถียรและตอบสนองไว จนเราสามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆระยะไกลได้แบบไม่ต้องกังวลถึงการดีเลย์ของภาพและเสียง การศึกษาผ่านระบบ AR, แพทย์ควบคุมการผ่านตัดจากที่อื่น หรือควบคุมรถยนต์ไร้คนขับก็จะสามารถทำได้อย่างไรกังวลนั่นเอง https://www.youtube.com/watch?v=796Z4pF-s4I

ประเทศไทยเราพร้อมแค่ไหนสำหรับ 5G?

 

เทคโนโลยีที่ใช้ในกันใน 5G ได้แก่ Millimeter Waves, Small Cell, Massive MIMO, Beamforming, Full Duplex ซึ่งในปัจจุบันเราจะได้เห็น Small Cell, Massive MIMO, และ Beamforming กันแล้วในทุกเครือข่าย แต่ความครอบคลุมและแพร่หลายของเทคโนโลยีอาจจะยังไม่เท่ากัน บางเจ้านำไปใช้แล้วในหลายพื้นที่ บางค่ายทดลองใช้แค่ไม่กี่แห่ง ส่วน Full Duplex ปัจจุบันจะยังใช้เป็น FDD หรือ TDD ส่วน Millimeter Waves หรือการนำเอาคลื่นความถี่สูงกว่าที่ใช้กันในปัจจุบันมาเปิดให้บริการเพิ่ม ในเมืองไทยจะยังไม่พร้อมเท่าไหร่นัก เพราะยังไม่มีการจัดสรรคลื่นในช่วงความถี่สูงๆเกิน 3GHz ออกมาให้ได้เห็นกันแม้แต่คลื่นเดียว แต่ยังดีว่าในปัจจุบันแต่ละค่ายมีคลื่นความถี่ในมือเกิน 100MHz ซึ่งเป็นจำนวนที่ทั้ง Ericssons หรือ Huawei ผู้นำด้านการทำเครือข่าย 5G ต่างก็แนะนำให้ประเทศที่ต้องการจะเข้าถึง 5G โดยเร็วมีไม่น้อยกว่านี้ โดยคนที่ดูจะมีความพร้อมมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ AIS, TrueMove H, และ dtac โดยคิดตามจำนวนคลื่นที่ครอบครอง เทคโนโลยีที่ใช้ และความแพร่หลายของเทคโนโลยีนะครับ

จำนวนคลื่นที่แต่เครือข่ายมีครอบครอง

เครือข่าย ความถี่ จำนวนคลื่น เทคโนโลยี
AIS รวม 120MHz 900MHz  10×2MHz Small Cell, Massive MIMO, Beamforming, Full Duplex, NB-IoT
1800MHz 20×2MHz
2100MHz 15×2×2MHz
TrueMove H รวม 110MHz 850MHz 15×2MHz Small Cell, Massive MIMO, Beamforming, Full Duplex
900MHz 10×2MHz
1800MHz 15×2MHz
2100MHz 15×2MHz
dtac รวม 100MHz 1800MHz 5×2MHz Small Cell, Full Deplex
2100MHz 15×2MHz
2300MHz 60×1MHz

โดยสรุปคือในปี 2020 สำหรับคนไทยที่ต้องการใช้ 5G เราจะมีเครือข่ายที่พร้อมใช้งานแน่ๆแล้ว ไม่ต้องห่วงว่าเทคโนโลยีบ้านเราจะตามใคร แต่ที่ต้องคิดมากกว่าคือคนไทยที่มีความพร้อมใช้งาน 5G นี้จะมีมากเท่าไหร่ เตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังจะมาเร็วๆนี้หรือยังครับ

 

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Saturday, 02 October 2021 07:26
เกศา ก้านแก้ว

Author : ติดตามนำเสนอข่าวท่องเที่ยวเศรษฐกิจ สาธารณสุข เพื่อคุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว วาไรตี้ งานบริการ เป็นนักสื่อมวลชนดิจิตอล มีประสบการณ์ในสนามข่าวมากกว่า 10 ปี

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion จัดงานมินิโรดโชว์ลำปาง 18-22 ธันวาคม 2567 พร้อมโปรโมชันดีส่งท้ายปี

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM