November 22, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ขั้นตอนพื้นฐานก่อสร้างอาคารให้สำเร็จตามแผนงาน

โดย : บริษัท โยธินพัตน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (YOTHINPAT ENGINEERING CO., LTD.)

การก่อสร้างอาคารนั้นมีขั้นตอนมากมาย แต่โดยหลักแล้วล้วนอยู่ในขั้นตอนพื้นฐานที่จะเล่านี้ ขั้นตอนพื้นฐานก่อสร้างอาคารให้สำเร็จตามแผนงานนั้น มาดูกันว่าควรก่อสร้างแบบไหนถึงจะเรียกได้ว่า ถูกขั้นตอน มีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณที่สุด และผลลัทธ์ที่ดีที่สุดของโครงการ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจ และการวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณในแต่ละเดือนแต่ละงวด อีกทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆ หรือเกิดงบประมาณบานปลายที่มักจะเกิดขึ้นเป็นปัญหาแรกๆ(และปัญหาใหญ่)ของการก่อสร้างโครงการ ซึ่งหากทำความเข้าใจได้ในภาพรวมของขั้นตอนการก่อสร้าง ก็จะสามารถรับทราบเกี่ยวกับตัวงานและความคืบหน้าของงานก่อสร้าง ทั้งยังอาจทราบถึงปัญหาบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ทำตามขั้นตอนหลักนี้ได้ด้วย 

ทั้งนี้ลำดับการก่อสร้างที่เจ้าของบ้านควรทราบสามารถแบ่งเป็น 10 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตามขั้นตอนเหล่านี้สามารถมีการปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับปัญหาหน้างาน สัญญาว่าจ้าง และสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

1. เตรียมพื้นที่

ขั้นตอนแรกที่ต้องเตรียมการก่อนเป็นอันดับแรกเลยคือเรื่อง การเตียมพื้นที่ แน่นอนว่าก่อนที่จะปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างอาคารใดๆ เราต้องมีที่ดินที่ถูกต้อง การเป็นเจ้าของโดยถูกต้องเพื่อปลูกสร้างแล้วจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง ที่ดินพร้อมเราจะไปดูกันต่อว่าการเตรียมพื้นที่สร้างบ้านมีอะไรกันบ้าง การเตรียมพื้นที่ขั้นตอนแรก คือ เตรียมที่ดิน

  • ผู้รับเหมาเคลียร์พื้นที่หน้างาน กรณีที่ดินที่ไม่ใช่ที่ดินเปล่า แต่มีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเดิมตั้งอยู่ให้ผู้รับเหมารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจนถึงชั้นฐานราก ถ้ามีเสาเข็มเก่าไม่ต้องรื้อ ทีมรับเหมาออกแบบจะดำเนินการกำหนดตำแหน่งเสาเข็มให้ใหม่
  • หากเราต้องการย้ายตำแหน่งสาธารณูปโภค เช่น เสาไฟฟ้า มิเตอร์ประปา ท่อประปา ฯลฯ ที่กีดขวางพื้นที่ก่อสร้าง ควรดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการสร้างบ้าน
  • ถ้าพื้นที่ดินอยู่ระดับต่ำกว่าถนน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วม ควรถมดินยกระดับให้สูงกว่าระดับท่อระบายน้ำสาธารณะ
  • ถ้าสร้างบ้านทับบ่อหรือบึง ควรถมทิ้งไว้แต่เนิ่น ๆ เพราะจะเกิดโอกาสทรุดตัวมากกว่าดินที่ถมบนพื้นปกติ แต่หากไม่ได้ถมทิ้งใว้ ต้องให้ผู้รับเหมาวางแผนอัดดินอย่างเป็นระบบ
  • ทางผู้รับเหมาเตรียมขนเคลื่อนย้ายอุปกรณ์สำหรับในการทำงานเข้าพื้นที่หน้างาน และเครื่องมือต่างๆ เข้าพื้นที่หน้างาน
  • กรณีเป็นงานใหญ่ หรือผู้รับเหมาไม่มีที่พักใกล้เคียงหน้างาน ผู้รับเหมาเตรียมวางแผนสถานที่พักคนงาน อาจจะสร้างแคมป์พักสำหรับคนงานในเขตพื้นที่ก่อสร้างตามความเหมาะสมของหน้างาน
  • หากในพื้นที่ก่อสร้างบริเวณนั้นไม่สามารถขอยืมไฟบ้านใครใช้ได้ จำเป็นต้องดำเนินการขอน้ำ ขอไฟฟ้า ชั่วคราวกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สำหรับงานสร้างบ้านที่กำลังจะเกิดขึ้น

ทั้งนี้การเตรียมพื้นที่ ต้องมีการถมดินเพื่อปรับระดับ แล้วสร้างรากฐานความมั่นคงให้กับบ้านหลังนั้นๆ การถมที่ดินมี 2 สิ่งที่ควรคำนึง คือ

  • ตรวจสอบประวัติการเกิดอุทกภัย เพื่อประมาณการความสูงในการถมดิน
  • ตรวจสอบระดับดินบริเวณข้างเคียง และถนน ส่วนมากจะถมให้สูงกว่าถนนหน้าบานประมาณ 50-80 เซนติเมตร

ไม่ควรถมดินในช่วงฤดูฝนเนื่องจากอาจเกิดเหตุการณ์ดินไหล ควรถมดินในน้าแล้งมากกว่า คือช่วงเดือน ธันวาคม-พฤษภาคม

2. ขั้นตอนงานวางผังอาคาร

การวางผังอาคาร เป็นการกำหนดตำแหน่งและขอบเขตของสิ่งก่อสร้างโดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้าง เพื่อให้สามารถก่อสร้างบ้านบนพื้นที่ดินได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องตามแบบก่อสร้าง เพื่อให้ทุกฝ่าย ตั้งแต่เจ้าของบ้าน ผู้ออกแบบ (สถาปนิก) วิศวกร ผู้รับเหมา รวมถึงบริษัทรับเหมางานเสาเข็ม (ถ้ามี) ได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญก่อนจะลงมือก่อสร้างโครงสร้างอาคาร (เช่น เสาเข็ม ฐานราก ตอม่อ) และจะทำหลังจากการเตรียมพื้นที่ดินเรียบร้อยแล้ว (เช่น ถมดิน และรอระยะเวลาให้ดินเซตตัวดีแล้ว ปรับระดับดินแล้ว)

การวางผังอาคารนี้ควรตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดินกับโฉนดที่ดินว่าครบถ้วนตามแบบหรือไม่ โดยเริ่มจากหาตำแหน่งเสาต้นแรกที่จะเป็นจุดอ้างอิง กำหนดด้านเริ่มที่จะให้ขนานกับแนวเขตที่ดิน (ว่าจะขนานกับถนนด้านหน้าบ้านหรือขนานกับที่ดินด้านข้าง) จากนั้นใช้หลักมุมฉากเพื่อหาแนวอาคารอีกด้าน (อาจใช้กล้องทีออโดไลต์ (กล้องวัดมุม) หรือใช้กฏ 3 : 4 : 5 สร้างมุมฉากก็ได้) แล้วจึงหาตำแหน่งกึ่งกลางของฐานราก (หรือเสาอาคาร) ถัดไปจนครบทุกตำแหน่ง สำหรับอาคารขนาดเล็กอาจใช้วิธีขึงเอ็นให้เห็นเป็นแนว จากนั้นจึงทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งฐานรากให้เห็นชัดเจน (อาจใช้วิธีพ่นสีเพื่อแสดงตำแหน่งฐานราก) โดยตรวจสอบอีกครั้งว่าองค์ประกอบอาคารที่ยื่นออกมาตามแบบนั้นให้ถูกต้องตามแบบก่อสร้าง เมื่อได้ระยะที่จะวางผังแล้วจึงตอกหลักผังให้แน่นและมั่นคง ไม่เกิดการเคลื่อนที่ในภายหลัง ในขั้นตอนนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับระยะต่างๆ ให้เหมาะสม หากพบอุปสรรคที่หน้างาน (เช่น แนวต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้หรืออยู่ในบริเวณที่ตรงกับแนวอาคารที่จะก่อสร้าง แต่ต้องการคงไว้ ไม่อยากตัดทิ้ง) อาจพิจารณาขยับผังการก่อสร้างให้เหมาะสม โดยผู้รับเหมาจะนำเสนอแนวทางแก้ไขให้ผู้ออกแบบเซ็นชื่อรับรอง แล้วจึงดำเนินการกำหนดผังการก่อสร้าง

  • ผู้รับเหมาทำการวางผังแนวอาคาร
  • กำหนดตำแหน่งลงเสาเข็มต่างๆ โดยอ้างอิงจากแบบแปลน สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพบเจออุปสรรค เช่น แนวต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามหน้างาน

3. งานเสาเข็ม

เสาเข็ม คือ โครงสร้างที่เป็นส่วนรับน้ำหนักของอาคารทั้งหมด จึงมีความสำคัญอย่างมากต้องได้รับการควบคุมดูแลจากผู้ควบคุมงานก่อสร้างและวิศวกร เพื่อจะได้ตรวจสอบและหาวิธีการแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหาเสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านพักอาศัยแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

เสาเข็มกลุ่ม ใช้กับอาคารพักอาศัยที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ความสามารถในการรับน้ำหนักต่อต้นมีไม่มากจึงต้องใช้เสาเข็มที่มีปริมาณมาก เพื่อเป็นการช่วยรับน้ำหนักจึงเรียกกันว่าเสาเข็มกลุ่ม วิศวกรผู้ออกแบบจะเป็นผู้คำนวณว่าจุดรับน้ำหนักนั้นๆ จะใช้เสาเข็มหน้าตัดความลึกและจำนวนเท่าไหร่ เทคนิคการทำงานสามารถใช้แรงงานคนใช้สามเกลอตอกหรือใช้รถแบ็คโครกดเข็มก็ได้

เสาเข็มตอก เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงมีรูปแบบพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปตัว I เข็มสี่เหลี่ยมเป็นต้น ใช้ปั้นจั่นในการตอกเสาเข็มในกรณีที่มีความลึกเกิน 10 เมตร จะใช้เสาเข็ม 2 ต้นต่อกัน วิธีการต่อเชื่อมนั้นจะเชื่อมโดยต่อปลอกหรือต่อเชื่อม วิศวกรจะเป็นผู้กำหนดน้ำหนักตุ้มและระยะการยกตุ้ม ความสมบูรณ์ของการตอกเสาเข็มลงดิน 10 ครั้งสุดท้ายว่าอยู่ในระยะที่วิศวกรได้คำนวณไว้หรือไม่ อีกทั้งต้องตรวจสอบตำแหน่งของเสาเข็มให้อยู่ในแนวพิกัดตามการวางผัง

เสาเข็มเจาะ คือ เสาเข็มที่เจาะเอาดินออกจนถึงดินแข็ง (ชั้นทราย) ค่าเฉลี่ยความลึกโดยประมาณ 21.00 ม. โดยการใช้ชุดเสาเข็มเจาะต่อปลอกเหล็กลึกตามความยาวของเสาเข็มลงเหล็กแกนเสาเข็มเต็มความยาวเสาเข็ม เทคอนกรีตชนิดรับกำลังอัดสูง (วิศวกรเป็นผู้คำนวณ) การทำเสาเข็มเจาะนี้จะมีเสียงดังจากเครื่องจักรกลระหว่างการทำงาน แต่จะมีข้อดีคือลดการสั่นสะเทือนระหว่างการทำงาน ลดการเลื่อนตัวของดินเหมาะสำหรับอาคารที่ปลูกปลูกสร้างใกล้ๆ กัน

  • เลือกประเภทเสาเข็มที่เหมาะสม เช่น เสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะ
  • ตรวจสอบคุณภาพเสาเข็ม สามารถรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน
  • ขุดเจาะ กดหรือตอกเสาเข็มตามตำแหน่งที่กำหนด
  • ตัดหัวเสาเข็มเพื่อเตรียมหล่อฐานราก

4. งานฐานรากโครงสร้างชั้นล่าง

ฐานรากโครงสร้างอาคาร (Foundation) คือส่วนประกอบที่คอยรองรับน้ำหนักของอาคารที่ถูกถ่ายเทลงมา ซึ่งปกติแล้วน้ำหนักทั้งหมดจะถูกส่งต่อมายังตัวเสาแล้วค่อยถ่ายเทผ่านฐานรากโครงสร้างอาคารก่อนจะค่อยเคลื่อนตัวไปยังดินหรือหินที่อยู่ด้านใต้ในท้ายที่สุด โดยฐานรากแบบพื้นฐานหรือฐานรากแผ่ (Spread footing) เป็นฐานรากโครงสร้างอาคารประเภทหนึ่งที่ไม่มีเสาเข็มมาช่วยผ่อนน้ำหนัก ดังนั้นฐานรากแผ่จึงใช้โครงสร้างทั้งหมดของตัวเองในการรองรับน้ำหนักอาคาร สืบเนื่องจากสาเหตุที่ตัวอาคารมีน้ำหนักค่อนข้างมาก

ดังนั้นฐานรากแผ่ที่เหมาะสมจึงควรมีขนาดใหญ่พอสำหรับการกระจายน้ำหนักลงไปยังพื้นผิวด้านใต้โครงสร้าง หรือในกรณีที่ฐานรากแผ่มีขนาดไม่ใหญ่ดินหรือหินที่อยู่ด้านใต้ก็ควรจะมีความแข็งแรงมากพอในการรองรับน้ำหนักของตัวอาคารทั้งหมด เพราะหากฐานรากแผ่ต้องรองรับน้ำหนักของตัวอาคารแต่ดินหรือหินที่อยู่ด้านใต้ดันมีขีดจำกัดในการรองรับน้ำหนักที่ไม่มากพอ วิธีแก้ปัญหาดังกล่าวจะมีเพียงหนทางเดียวคือการสร้างโครงสร้างฐานรากแผ่ให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เมื่อต้องสร้างอะไรสักอย่างที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่างบประมาณในการก่อสร้างย่อมบานปลาย

เมื่อมีสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ประเภทของฐานรากที่สามารถตอบสนองความต้องการของคุณได้เป็นอย่างดีจึงเป็นฐานรากวางบนเสาเข็ม (Piled foundation) ที่มีจุดเด่นสามารถรองรับน้ำหนักที่ถูกถ่ายเทลงมาจากตัวอาคารได้อย่างมั่นคง เพราะน้ำหนักที่เดินทางมาถึงตัวงานฐานรากโครงสร้างอาคาร เสาเข็มจะช่วยฐานรากรองรับน้ำหนักทั้งหมดก่อนโดยอาศัยความฝืดหรือแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็มและดินที่อยู่โดยรอบ แต่หากเป็นกรณีที่เสาเข็มมีขนาดยาวมากพอจนสามารถตอกลงไปถึงชั้นหินได้ ตัวเสาก็จะทานน้ำหนักโดยอาศัยทั้งแรงฝืดและแรงแบกทาน (Bearing) ที่ปลายเสาเข็มและชั้นดินหรือหินที่อยู่รอบๆ แทน

  • โครงสร้างฐานราก ประกอบด้วย ฐานรากและเสาตอม่อ
  • ขึ้นโครงสร้างชั้นที่ 1 ประกอบด้วย คานคอดิน, เสา, คาน, พื้นชั้นล่าง
  • เตรียมขุดดิน เพื่อเตรียมโครงสร้างงานระบบสุขาภิบาลรอบบ้าน เช่น บ่อพัก Manhole ระบบท่อน้ำทิ้ง ท่อประปา

 

5. งานโครงสร้างชั้นบน โครงหลังคา และวางระบบสุขาภิบาล

ขั้นตอนนี้ประกอบไปด้วยงานโครงสร้างชั้นบน โครงหลังคา วางระบบสุขาภิบาล โครงสร้างเสา คาน อเส (ส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคา) ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียและถังเก็บน้ำใต้ดิน ซึ่งแต่ละงานสามารถทำได้พร้อมกัน หรือเรียงลำดับก่อนหลังตามความสะดวกหน้างาน โดยอิงเนื้องานตามแบบเป็นหลัก

ขั้นตอนส่วนโครงสร้างชั้นบน

  • ระบบพื้นชั้นบน หรือ พื้นชั้นสอง
  • เสาและคาน
  • อเส หรือ อะเส
  • วัสดุตกแต่งอื่นๆ
  • โครงสร้างหลังคา

โครงสร้างชั้นบนหรือคือส่วนชั้นสองของบ้าน สำหรับคนที่มีบ้านเพียงชั้นเดียว สามารถมาสู่ขั้นตอนของการวาง คาน หรือ เริ่มต้นสร้างโครงหลังคาได้เลย แต่ในกรณีที่เป็นบ้านสองชั้น สิ่งที่ต้องทำคือการทำพื้น วางเสา และ คาน รวมไปถึงส่วนของอเส และโครงสร้างหลังคาด้วย

ส่วนของระบบพื้นชั้นบนนั้นสามารถใช้ระบบพื้นเหมือนกับที่ใช้ชั้นล่างได้ แต่ว่าในกรณีที่เป็นระบบพื้นบบหล่อในที่ หรือ Cast in place concrete slabs นั้นจำเป็นต้องมีการตั้งไม้ค้ำยันใต้ท้องพื้นจนกว่าคอนกรีตจะแข็งตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน

  • ผู้รับเหมาจะขึ้นโครงสร้างเสา คาน อเส(ส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคา)
  • ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียและถังเก็บน้ำใต้ดิน

6. งานมุงหลังคา โครงสร้างบันได งานหล่อชิ้นส่วนต่างๆ

"หลังคา" เป็นองค์ประกอบของบ้านที่จะช่วยคุ้มครองบ้านเราให้ปลอดภัยจากแดด ลมและฝน ให้เราได้อยู่อย่างสุขสบายปลอดภัย ไม่ร้อน ไม่หนาว แต่หากได้ผู้รับเหมาหรือช่างที่ก่อสร้างไม่ดี หลังคาจะกลายเป็นจุดที่มักเกิดปัญหารั่วซึมลงมาอยู่บ่อยครั้ง และเมื่อน้ำรั่วเข้าบ้านเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ พื้นไม้สวยๆ ก็อาจจะเสียหายและพังได้ หรืออาจจะถึงขั้นฝ้าเพดานถล่มลงมาได้เลย หลังคาจึงเป็นจุดที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

"บันได" เป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่น ๆ ของอาคาร ใช้เป็นทางขึ้นลงระหว่างชั้นต่าง ๆ ในอาคาร จำเป็นต้องมีสัดส่วนพอเหมาะ ใช้ประโยชน์ได้เพียงพอ และปลอดภัย รวมทั้งความสวยงามของราวบันได สำหรับอาคารพักอาศัยความกว้างไม่ต่ำกว่า 0.90 เมตร และตามเทศบัญญัติที่ท้ายบทได้กำหนดขนาดกว้าง ความสูงของบันได ลูกบันไดไว้ ผู้เขียนแบบจะต้องแม่นยำในกฎเกณฑ์ของการประกอบการก่อสร้างบันได

  • เริ่มติดตั้งวัสดุมุงหลังคา เพื่อลดอุปสรรคจากลมฟ้าอากาศในการทำงาน
  • เริ่มหล่อโครงสร้างบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือติดตั้งบันไดเหล็กตามที่แบบระบุ
  • เก็บงานโครงสร้างในส่วนอื่นๆ ให้พร้อมก่อนเริ่มงานก่อผนังและติดตั้งวัสดุปิดผิว

7. ก่อผนัง ติดตั้งวงกบ เตรียมงานระบบไฟฟ้า-ประปา

"ก่อผนัง" องค์ประกอบสำคัญของอาคารอย่างหนึ่งก็คือ “ผนัง” ไม่ว่าจะเป็นอาคารแบบไหน สไตล์ไหน จะเป็นสไตล์ Loft โชว์เนื้อแท้วัสดุ อย่างอิฐ ปูน สไตล์โมเดิ้น เน้นสีขาวสะอาดตา หรือแนวคันทรี เล่นสีสันที่ผนัง ก็มักจะหนีไม่พ้นผนังที่ต้องใช้ปูนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดังนั้นนอกจากจะให้ความสำคัญกับแบบแล้ว ควรคำนึงถึงเรื่องพื้นฐานสำคัญๆอย่างผนังปูนกันไว้ โดยเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการทำงานผนังปูนทั้งก่อ และฉาบ ทำอย่างไรให้ผนังปูนมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่แตกร้าว อายุการใช้งานยาวนานควรคำนึงถึง

  • ต้องนำอิฐแช่น้ำก่อนก่อ 1 ชั่วโมง
  • ต้องก่อสลับแนว
  • ต้องไม่ให้ชั้นปูนก่อหนาเกิน 1.5 เซนติเมตร
  • ต้องมีเสาเอ็นและคานทับหลัง
  • ต้องมีเสาเอ็นที่มุมกำแพง
  • ต้องมีเสาเอ็นที่วงกบประตูและหน้าต่าง
  • ต้องเสียบเหล็กหนวดกุ้งทุกระยะ

"ติดตั้งวงกบ" เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างผนังของตัวบ้าน กับบานประตูหน้าต่าง เป็นส่วนที่ยึดเหนี่ยว ผนังกับบานประตู หน้าต่าง ให้อยู่ด้วยกันอย่างมั่นคงแข็งแรง และทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ วัสดุที่ใช้ทำวงกบสำหรับ อาคารบ้านเรือนทั่วไปมักจะ ทำจากไม้ หรืออะลูมิเนียม ซึ่งถ้าทำจากไม้ก็ควรจะเป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะจะให้ความแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า การใช้วัสดุทำวงกบ ที่เหมาะสมประกอบ กับการติดตั้งอย่างถูกวิธีจะทำให้การติดตั้งประตูหน้าต่างมีความมั่นคงแข็งแรงและ ใช้งานได้ดี ลดปัญหา การชำรุดแตกร้าวของผนัง อันเกิดจากการติดตั้งวงกบไม่ถูกต้อง รวมทั้งลดปัญหาการรั่วซึมที่เกิดจากรอยแตก หว่างวงกบและผนัง ทั้งนี้ขั้นตอนการติดตั้งวงกบเป็น เรื่องทางเทคนิค ซึ่งมีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับแบบและขนาดของวงกบ วัสดุที่ใช้ ตลอดจนความชำ นาญ ของผู้รับเหมาหรือช่างแต่ละราย

"เตรียมงานระบบ" ในการก่อสร้างนั้นหมายถึงกลุ่มงาน ระบบสุขาภิบาล, ระบบไฟฟ้า, ระบบไฟฟ้าสื่อสาร, ระบบดับเพลิง, ระบบปรับอากาศ ซึ่งระบบเหล่านี้ทำให้บ้านน่าอยู่ มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น งานระบบมีความสำคัญมากกว่าที่คิด หากวางแผนการติดตั้งให้ดีและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม จะสามารถลดปัญหาการบำรุงรักษาในอนาคตได้มาก

  • ก่อผนัง และหล่อเสาเอ็น - คานเอ็น (ขึ้นอยู่กับแต่ละบ้านจะเลือกใช้ผนังแบบใด)
  • ผู้รับเหมาทำการเดินท่อระบบไฟฟ้า-ประปา ที่ต้องฝังในผนัง และติดตั้งวงกบไม้ประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย

8. งานฉาบผนัง และติดตั้งฝ้าเพดาน

"งานฉาบผนัง" ถือเป็นการตกแต่งผิวผนังให้เรียบร้อย ที่เป็นงานหลักในการก่อสร้างบ้าน ที่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้บ้านสมบรูณ์ และสวยงามมากขึ้น โดยเป็นการปกปิดชั้นอิฐที่ก่อไว้ ซึ่งจะช่วยทำหน้าที่ป้องกันความชื้นระหว่างสองด้านของผนัง สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้ค่อนข้างมาก จึงมีปูนซีเมนต์สูตรต่าง ๆ สำหรับปิดผิวที่มีความเรียบเนียน สวยงามมากเป็นพิเศษ

ซึ่งในงานฉาบปูนก็จะมีขั้นตอนการทำงานอยู่หลายขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพและความเหมาะสมของพื้นผิวผนังที่จะทำการฉาบปูน เช่น ขั้นตอนการจับเซี้ยม, จับปุ่ม, การสลัดดอก,กรุตาข่าย, ขึ้นปูน (ฉาบปูน), ปาดสามเหลี่ยม, เสริมปูน, ปั่นตีน้ำ, ลงฟอง, ปัดด้วยไม้กวาด เป็นต้น โดยวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผนังเรียบเนียนยิ่งขึ้น  เพราะหลังจากช่างตีน้ำ(สลัดน้ำ)และปั่นผนังให้เรียบเสร็จแล้ว ผิวผนังก็จะเรียบแบบด้านๆและยังหลงเหลือร่องรอยที่ไม่เรียบเนียนเล็กๆน้อยๆ ช่างฯก็จะทำการเก็บงานอีกครั้งโดยการใช้ฟองน้ำหมาดๆปั่นในขณะที่ปูนยังหมาดอยู่ ก็จะช่วยเก็บรอยหรือผิวที่ไม่เรียบ ให้เรียบเนียนยิ่งขึ้น

  • ฉาบผนังให้เรียบและสม่ำเสมอ ด้วยการ จับปุ่ม จับเซี้ยม หรืออาจขึงลวดกรงไก่
  • ผนังเบาจะต้องฉาบเก็บรอยต่อระหว่างแผ่นผนังให้เรียบเนียน
  • ต้องรดน้ำอิฐก่อนการฉาบ
  • ต้องใช้เครื่องผสมปูนฉาบ
  • ต้องรดน้ำต่อไปอีกเพื่อบ่มผนัง

"ติดตั้งฝ้าเพดาน" ฝ้าเพดานมีจุดประสงค์หลัก ๆ คือ ต้องการปกปิดงานระบบต่าง ๆ ที่ยุ่งเหยิงอยู่บนโถงหลังคาและใช้เป็นพื้นที่รองรับการติดตั้งไฟส่องสว่าง ซึ่งส่วนของฝ้าเพดานเองก็ต้องการความสวยงามเช่นกัน เพราะเป็นจุดพื้นที่กว้างที่เห็นได้ชัดเมื่ออาศัยอยู่ในบ้าน หากแหงนหน้ามองแล้วเจอร่องรอยหัวตะปูหรือเป็นคลื่นระหว่างแผ่นก็คงรู้สึกขัดใจทุกครั้งที่มอง การเก็บรายละเอียดให้เรียบเนียนเสมอกันแบบไม่มีรอยต่อ จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งอย่างถูกวิธี เพื่อควบคุมให้คุณภาพของระบบฝ้าเพดานทั้งหลังได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นไปตามที่ตั้งใจ

  • กำหนดความสูงของฝ้าเพดานทั้งภายใน ภายนอกและฝ้าชายคา โดยติดตั้งโครงฝ้าและปิดด้วยวัสดุฝ้าเพดาน
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า โคมไฟ และช่องเซอร์วิสไปพร้อมกัน

9. งานติดตั้งประตู-หน้าต่าง รวมถึงวัสดุตกแต่ง พื้น-ผนัง และงาน Build-in

"ติดตั้งบานประตู หน้าต่างไม้ ชุดประตู-หน้าต่างไวนิล/อะลูมิเนียม" ขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตั้งบานประตู บานกระจก หน้าต่างเข้ากับวงกบไม้ที่ติดตั้งเอาไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงติดตั้งชุดประตู-หน้าต่างไวนิลหรืออะลูมิเนียมเข้ากับผนังที่เว้นช่องไว้ ซึ่งขอบผนังโดยรอบต้องเรียบสม่ำเสมอ ได้ระดับดิ่ง-ฉาก เพื่อให้ชุดประตู-หน้าต่างติดตั้งได้พอดี ลดความเสี่ยงการรั่วซึมในอนาคต

ด้านงาน Build-in อาจมารวมอยู่ในช่วงนี้ได้ เช่น ตู้เสื้อผ้า ชั้นวางของ เคาน์เตอร์ครัว เป็นต้น

  • วัสดุตกแต่งผนังและพื้น (วัสดุพื้นผิวผนัง : เช่น ทาสี ฉาบสกิมโค้ท ปูกระเบื้องเซรามิก ติดวอลล์เปเปอร์ / วัสดุพื้น : เช่น หินขัด กรวดล้าง/ทรายล้าง ปูกระเบื้องเซรามิก ไม้ปาร์เกต์ ไม้ลามิเนต เป็นต้น)
  • ระบบแสงสว่างและติดตั้งดวงโคม
  • ติดตั้งบานประตู หน้าต่างไม้ ชุดประตู-หน้าต่างไวนิล/อะลูมิเนียม
  • งาน Build-in เช่น ตู้เสื้อผ้า ชั้นวางของ เคาน์เตอร์ครัว เป็นต้น
  • ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ สุขภัณฑ์ในห้องน้ำ และอุปกรณ์เครื่องครัว
  • ก่อนการทาสี ควรป้องกันการเลอะเทอะ และปกป้องพื้นผิว ด้วยการห่อหุ้มอุปกรณ์ต่างๆด้วยกระดาษหรือแผ่นพลาสติกก่อน

 

10. ทำความสะอาด และตรวจความเรียบร้อย

  • ทำความสะอาดและตรวจความเรียบร้อย
  • ตรวจสอบระบบต่างๆก่อนส่งมอบงาน

ลำดับขั้นตอนตามที่กล่าวมา ในทางปฏิบัติอาจมีการสลับหรือซ้อนทับกันบางส่วน รวมถึงอาจมีการแยกย่อยเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น การขนส่งวัสดุหน้างาน ความถนัดของช่าง/ผู้รับเหมา ปัจจัยสภาพคล่องทางการเงิน ปัญหาแรงงานช่าง สภาพลมฟ้าอากาศที่ไม่อำนวย เป็นต้น ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนหน้างานตามความเหมาะสม

การสร้างก่อสร้างอาคารให้สำเร็จนั้นไม่ได้หมายเพียงว่าแค่สร้างอาคารแล้วเสร็จ แต่หมายถึงการบริหารโครงการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ควบคู่กัน ความรู้ด้านทฤษฎีต้องแน่น รวมถึงต้องมีประสบการณ์หน้างานด้วย  เพราะต้องนำมาใช้ในการวางแผนการทำงานอันซับซ้อน บริหารทั้งคน และทรัพยากรอื่นๆให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้  และเรียกได้อีกอย่างว่า การบริหารโครงการก่อสร้าง เป็นการช่วยขับเคลื่อนงาน

หากท่านมีความต้องการหาผู้รับเหมาก่อสร้าง เราพร้อมและยินดีให้บริการลูกค้าทุกท่านด้วยความจริงใจ บริษัทฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้รับความไว้วางใจจากท่านให้เราเป็นผู้ดำเนินการสร้างความพึงพอใจให้แก่ท่านเหมือนดังทุกผลงานที่เราได้สร้างสำเร็จมา เราดำเนินธุรกิจด้านการรับเหมาก่อสร้างโดยทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างโรงงาน รับเหมาก่อสร้างโกดัง อาคารสำนักงาน รับสร้างบ้าน คอนโด ที่พักอาศัย รวมถึงการปรับปรุง-รีโนเวทโรงงาน และงานต่อเติมทั้งหมด ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ด้วยทีมงานมืออาชีพ โดยมีเจตนาที่จะสร้างงานที่มีคุณภาพ และราคาที่เหมาะสม ทุกผลงานของเราสร้างจากความทุ่มเท ใส่ใจในรายละเอียด ส่งมอบงานตรงเวลา ซื่อสัตย์ จริงใจ ไม่ทิ้งงาน จนทำให้บริษัทเราเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าตลอดมา และท่านสามารถติดต่อเพื่อปรึกษางานต่างๆได้ฟรี เราคือทีมงานมืออาชีพ มากประสบการณ์ พร้อมขึ้นงานได้ทันที

"เราจะก้าวไป ด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยหลักวิศวกรรม เพื่อให้ได้งานที่ออกมามีคุณภาพที่สุด"

บริษัท โยธินพัตน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
YOTHINPAT ENGINEERING CO., LTD.
699/1 หมู่ที่ 4 บ้านหนองอ้น ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 90180
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Facebook : บริษัท โยธินพัตน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ID Line : YP778899
Call : 074-802-487 Hotline : 091-395-3565, 093-916-1165



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Sunday, 26 September 2021 15:24
ปรียานุช ทองไธสง

Author : เกาะติดข่าวการเงิน การธนาคาร หนี้ กองทุน พันธบัตร ตราสาร ทองคำ การประกันชวิต การประกันภัย การลงทุน อัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย ภาษี การบริหารการเงินและการลงทุน ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM