IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
ปั๊มสุญญากาศ หรือ vacuum pump ทำหน้าที่ ดูดอากาศออกจนเกือบหมด เพื่อให้เกิดสุญญากาศ นิยมนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ และ งานในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (ห้องแลป) ซึ่งการนำปั๊มสุญญากาศไปใช้งาน ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ใช้งาน ว่าจะนำไปใช้กับงานประเภทไหน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม เรามารู้จักประเภทของปั๊มสุญญากาศกันเถอะ
หลักการทำงานของ Rotary Vane VacuumPump
Vacuum Pump จะประกอบด้วยตัวปั๊ม (pump housing) และโรเตอร์ (rotor) ซึ่งถูกติดตั้งให้เยื้องจุดศูนย์กลางโดยที่โรเตอร์จะมีร่องสำหรับให้แผ่นกวาดอากาศ (vane) วิ่งเข้าออกด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (centifugal force) ในขณะที่โรเตอร์หมุนนั้นอากาศจะถูกดูดเข้ามาที่ทางเข้า (inlet) และจะถูกอัดออกในขณะที่ใบกวาดอากาศ (vane) เคลื่อนที่หมุนไปพร้อมกับโรเตอร์และกวาดอากาศออกมาที่ช่องทางออก (outlet) อากาศจะถูกอัดออกไปในถังน้ำมัน (oil tank) ภายใน oil tank จะติดตั้งชุดดักจับไอน้ำมัน (oil separator) เพื่อทำหน้าที่แยกไอน้ำมันออกจากอากาศ โดยไอน้ำมันจะถูกชุด oil separator ดักจับไว้ส่วนอากาศจะถูกอัดออกไป น้ำมันที่ถูก oil separator ดักจับไว้จะตกลงสู่ถังน้ำมันด้านนอกและไหลเวียนกลับเข้าสู้ตัว vacuum pump อีกครั้งโดยน้ำมัน vacuum pump ทำหน้าที่ในการหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่, ระบายความร้อน, เป็นฟิล์มบางๆช่วยทำให้ค่าสุญญากาศดีขึ้น
ประเภทของปั๊มสุญญากาศ
1. OIL-SEALED ROTARY VANE VACUUM PUMP
ปั๊มสุญญากาศโรตารี่เวนแบบซีลน้ำมัน เป็นปั๊มที่ใช้กับลักษณะงานสุญญากาศแบบทั่วไป (rough vacuum) นิยมใช้มาเป็นระยะเวลานาน ปั๊มสุญญากาศโรตารี่แวนแบบซีลน้ำมัน อุปกรณ์ที่สำคัญประกอบไปด้วยเสื้อปั๊ม แกนหมุนที่ติดตั้งแบบเยื้องศูนย์กับเสื้อปั๊มมีร่องสำหรับติดตั้งใบกวาดและมีใบสำหรับกวาด (Vane) ที่สามารถเคลื่อนเข้า-ออกในขณะที่แกนหมุนรอบตัวเองโดยใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ใบกวาดจะทำหน้าที่ดูดและอัดอากาศโดยการกวาดไปรอบเสื้อปั๊มตามการหมุนของแกน การทำงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องการฟิล์มน้ำมันเป็นตัวช่วยในการปิดช่องว่างระหว่างใบกวาดและเสื้อปั๊มเพื่อป้องการการรั่วของอากาศระหว่างด้านขาเข้าและด้านขาออก จะเห็นได้ว่าในปั๊มชนิดนี้น้ำมันมีหน้าที่สำคัญในการช่วยสร้างค่าสุญญากาศ หล่อลื่นระบบเพื่อลดการสึกหรอและช่วยระบายความร้อนโดยรวมของระบบ จึงทำให้ปั๊มชนิดนี้มีความทนทานและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ลักษณะการใช้งานหากเป็นการใช้งานแบบเดี่ยวในการสร้างค่าสุญญากาศระดับทั่วไปจนถึงระดับปานกลาง นิยมนำมาใช้ในงานวิศวกรรมหลากหลายประเภท เช่นงานอุตสาหกรรมประเภทหยิบจับชิ้นงาน งานบรรจุสุญญากาศ งานระบบสุญญากาศรวมสำหรับสถานพยาบาล ถ้าเป็นการใช้งานที่ซับซ้อนขึ้นเพื่อสร้างสุญญกาศระดับที่สูงขึ้นมักใช้ร่วมกับการติดตั้งปั๊มชนิดรูท (Roots) ไว้ก่อนหน้าเพื่อสร้างค่าสุญญากาศระดับสูงจากนั้นจึงติดตั้งปั๊มชนิดนี้เป็นปั๊มตัวท้าย (Backing Pump) เพื่อส่งต่ออากาศจากปั๊มรูทออกสู่บรรยากาศอีกทอดหนึ่ง โดยปั๊มสุญญากาศโรตารี่เวนแบบซีลน้ำมันมี 2 แบบคือ Single state และ Two-states โดยที่แบบ Two-Stages สามารถสร้างสุญญากาศได้สูงกว่า ในขณะที่ Single stage จะให้อัตราการไหลของอากาศที่สูงกว่าเมื่อใช้ต้นกำลังขนาดเท่ากัน
- SINGLE STAGE OIL SEALED ROTARY VANE VACUUM PUMP : Atlas copco รุ่น GVS 16-630 A ปั๊มสุญญากาศโรตารี่เวนแบบซีลน้ำมัน เป็นปั๊มสุญญากาศที่มีการออกแบบให้กะทัดรัดเพื่อการติดตั้งใช้งานที่ง่ายและประหยัดพื้นที่ เป็นปั๊มสุญญากาศที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสมที่จะใช้กับลักษณะงานได้หลากหลายประเภทอุตสาหกรรม เช่น งานบรรจุภัณฑ์ อิเล็คทรอนิกส์ พลาสติก อาหาร ยา วงการแพทย์ และอุตสาหกรรมอื่นๆอีกมากมาย โดยปั๊มสุญญากาศรุ่น GVS 16-630 A นี้จะสร้างสุญญากาศระดับใช้งานทั่วไป ระหว่าง 0.5 ถึง 0.1 mbar absolute และมีอัตราการไหล (Flow rate) ระหว่าง 16-700 m3/h
- TWO STAGE OIL SEALED ROTARY VANE VACUUM PUMP : Atlas Copco รุ่น GVD 0.7 – 275 ปั๊มสุญญากาศโรตารี่เวนแบบซีลน้ำมัน Two-stages เป็นปั๊มสุญญากาศที่มีการออกแบบให้สามารถสร้างสุญญากาศได้ในระดับปานกลางถึงสูง มีอัตราการไหลของอากาศอยู่ระหว่าง (Flow rate) 0.75 – 255 m3/h ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ทั้งชนิด 1 เฟสและ 3 เฟสตามความต้องการใช้งาน เหมาะกับการใช้งานได้หลากหลายประเภทอุตสาหกรรม เช่น อาหารแช่แข็ง-อบแห้ง เครื่องมือวิเคราะห์ ห้องปฏิบัติการงานวิจัย การเคลือบผิว ชุปแข็งโลหะ และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
2. DRY CLAW VACUUM PUMP
ปั๊มสุญญากาศแบบ Claw เป็นปั๊มที่ทำงานโดยไร้น้ำมันและไร้การสัมผัสของโรเตอร์ หลักการทำงานใช้หลักการแบบใช้โรเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายกับกรงเล็บสองชิ้นหมุนสวนทางกัน โดยรูปร่างของโรเตอร์ทั้งสองชิ้นจะสร้างเป็นห้องเพื่อรับอากาศและรีดอากาศออจากตัวปั๊มทำให้เกิดการสร้างสุญญากาศขึ้นบ ปั๊มชนิดนี้เป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้สุญญากาศที่ไร้น้ำมัน ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีการปนเปื่อน ให้ประสิทธิภาพที่ดีมากในการสร้างสุญญากาศระดับเบื้องต้น ออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพในลดการใช้พลังงานและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษา เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความสะอาด
- MECHANICAL BOOTERS VACUUM PUMP : ปั๊มสุญญากาศชนิด Mechanical boosters vacuum pump เป็นปั๊มที่ออกแบบมาสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของปั๊มสุญญากาศชนิดอื่นๆ เมื่อต้องการสร้างสุญญากาศระดับปานกลางถึงสูงเพิ่มขึ้นจากช่วงการทำงานของปั๊มสุญญากาศชนิดอื่น ชนิดนี้จะติดตั้งไว้เป็นปั๊มชุดหน้า (Fore Pump) ปั๊มสุญญากาศชนิดอื่นเสมอซึ่งจะเรียกปั๊มที่อยู่ด้านหลังว่า Backing pump เช่นโรตารี่เวน สกรู วงแหวนน้ำเป็นต้น โดยรวมปั๊มทั้งสองตัวเข้าด้วยกันจะเรียกว่าระบบ Combine system เมื่อเริ่มต้นใช้งานจะต้องเดินเครื่อง Backing Pump ก่อนเสมอ จากนั้นเมื่อได้ระดับสุญญากาศตามค่าที่กำหนดจึงเริ่มเดินเครื่อง Booster pump เพราะว่าด้วยอัตราการไหลที่สูงหากทำงานที่ความดันบรรยากาศจะทำให้เกิดแรงเค้นสูงเกินกำหนดบนโรเตอร์ทำให้เกิดความเสียหายได้ Booster pump เป็นปั๊มที่ทำงานแบบไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่นและทำงานแบบไม่มีการสัมผัสกันของโรเตอร์แต่จะใช้ช่องว่างระหว่างโรเตอร์ที่มีขนาดเล็กในการกั้นอากาศแทนฟิล์มน้ำมัน
3. DRY SCREW VACUUM PUMP
ปั๊มสุญญากาศแบบเกลียว โดยปกติมักออกแบบใช้เป็นสองเกลียว (Screw) หมุนสวนทางกันอยู่ในเสื้อปั๊ม โดยที่อากาศจะถูกกักอยู่ระหว่างร่องของเกลียวและเสื้อปั๊มจากนั้นจะถูกพาตามการหมุนของเกลียวจนไปถึงทางออก เนื่องจากการออกแบบและผลิตทำด้วยความแม่นยำสูงมากชิ้นส่วนที่เป็นเกลียวและเสื้อปั๊มจะไม่สัมผัสกันเลยทำให้ข้อดีของปั๊มชนิดนี้คือสามารถใช้งานที่เกี่ยวข้องกับแก๊สที่มีความกัดกร่อนหรือมีไอของสารเคมีหรือไอน้ำปนเปื้อนสูงได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถเลือกวัสดุและวัสดุเคลือบได้ตามความต้องการ อีกทั้งยังสามารถสร้างสุญญากาศได้สูงกว่าปั๊มชนิดอื่น ทำงานเงียบและการสึกหรอต่ำ อย่างไรก็ตามด้วยความที่ชิ้นส่วนภายในมีช่องว่างขนาดเล็กมากจึงไม่ค่อยเหมาะกับงานที่มีการปนเปื้อนของอนุภาคที่เป็นของแข็ง ปั๊มสุญญากาศชนิดนี้นิยมใช้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร พลาสติก ปิโตรเคมี เซมิคอนดักเตอร์ และอีกหลากหลายประเภทอุตสาหกรรม ที่ต้องการประหยัดพลังงานและมีค่าใช้จ่ายโดยรวมในการบำรุงรักษาต่ำ
แบรนท์ที่มีใช้กันโดยทั่วไป เช่น KOWEL , LEYBOLD , BUSCH , ELMO RIETSCHLE , TAIKO , ATLAS COPCO , EDWARDS
4. LIQUID RING VACUUM PUMP
ปั๊มสุญญากาศแบบวงแหวนน้ำ (Liquid ring vacuum pump) ถูกออกแบบให้มีทั้งแบบชนิดชั้นเดี่ยว (single state) ที่เน้นอัตราการไหลและสองชั้น (two state) ที่เน้นการสร้างสุญญากาศระดับปานกลาง ทำงานโดยหลักการเมื่อใบพัดหมุนจะสร้างแรงเหวี่ยงให้ของเหลวภายในตัวปั๊มเป็นวงแหวนของเหลวเกิดการดึงและบีบอัดแก๊สเกิดเป็นสภาวะสุญญากาศ โดยที่ของเหลวที่อยู่ภายในปั๊มสามารถเป็นน้ำหรือเป็นสารชนิดเดียวกันกับที่ใช้งานในระบบเช่น เฮกเซนหรือน้ำมันพืชเป็นต้น ปั๊มประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับงานที่มีไอระเหยของสารเคมีปนเปื้อนสูง มีการปนเปื้อนของอนุภาคของแข็ง อัตราการไหลสูง มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมการใช้งานและใช้งานสุญญากาศระดับเบื้องต้นถึงปานกลาง ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เคมี น้ำมัน พลาสติก
ระบบปั๊มสุญญากาศแบบวงแหวนน้ำ (Liquid ring vacuum pump) สามารถออกแบบได้หลากหลายตามความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านระดับของสุญญากาศที่เหมาะสม อัตราการไหลของอากาศ
บริษัท แอบโซลูท แวค จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายปั๊มสุญญากาศ (Vacuum pump) อุปกรณ์ที่ใช้กับปั๊มสุญญากาศ รวมถึงการดูแลรักษาซ่อมบำรุงปั๊มสุญญากาศทุกยี่ห้อ โดยเราได้ดูแลงานระบบสุญญากาศหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมากมาย เช่น ระบบสุญญากาศสำหรับโรงพยาบาล ทันตกรรม เภสัชกรรม ระบบสุญญากาศสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กลุ่มอุตสากรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ฯลฯ
นอกจากนี้บริษัทยังมีบริการ การซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) เพราะการที่หยุดระบบโดยไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าหรือระบบล่มนับว่าเป็นความเสียหายอย่างมากสำหรับกระบวนการผลิต นอกจากความเสียหายที่ตัวระบบเองแล้วยังมีค่าเสียหายจากค่าเสียโอกาสในการหยุดการผลิต การส่งมอบสินค้าไม่ทัน หรือความสูญเสียของวัตถุดิบในกระบวนการ ดังนั้นการซ่อมบำรุงเพื่อให้ปั๊มสุญญากาศพร้อมใช้งานอยู่เสมอถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราจึงจำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน เพื่อให้ปั๊มมีความพร้อมใช้งานสูงสุด ลดโอกาสการหยุดงานโดยไม่ตั้งใจ (Unplanned shutdown) และยืดอายุการใช้งานของ Vacuum pump ผู้ผลิตจะกำหนดระยะเวลาที่แนะนำสำหรับซ่อมบำรุงมาในคู่มือ ซึ่งลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนระยะเวลาให้เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งานและสภาพแวดล้อมการทำงาน หรือหากลูกค้าไม่มั่นใจในการกำหนดระยะเวลาการทำ PM เราสามารถให้คำปรึกษาพร้อมรับทำ PM เพื่อกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวมตลอดอายุการใช้งานของ Vacuum pump ได้มากยิ่งขึ้น
บริษัท แอบโซลูท แวค จำกัด ยังบริการอะไหล่ปั๊มสุญญากาศ ซึ่งมีทั้งแบบดั้งเดิมจากแบรนท์ปั๊มและอะไหล่ที่สร้างขึ้นที่คุณภาพดีใกล้เคียงกันในราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ทางบริษัทมีอะไหล่ปั๊มสุญญากาศให้เลือกหลายแบรนท์ เช่น Busch , Leybold , ELMO RIETSCHLE , Becker , Edwards , Atlas copco ,
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท แอบโซลูท แวค จำกัด
ABSOLUTE VAC COMPANY LIMITED
สำนักงานใหญ่ : 333/99 หมู่ 2 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 0-2121-4429 / 066-1474459
สายด่วน : 061-6289456
อีเมลล์ฝ่ายขาย : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.