Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

นวัตกรรมการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค ช่วยให้ผู้คนมีชีวิตยืนยาว

ศาสตราจารย์รีโน รัปปูโอลี  หัวหน้านักวิทยาศาสตร์และผู้อำนวยการด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนของบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น จำกัด (จีเอสเค) ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดอันดับสามของโลกในสาขาวัคซีน

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยอิมพีเรียล และเป็นหนึ่งในผู้นำทางวิทยาศาสตร์ด้านวัคซีนระดับโลกที่อุทิศตนเพื่อความยั่งยืนของระบบสาธารณสุข ได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้ารับรางวัล 2019 Edward Jenner Lifetime Achievement Awardee ในงานประชุมวิชาการด้านวัคซีนระดับโลก 13th Vaccine Congress 2019 เมื่อเร็วๆ นี้ จากการอุทิศตนในการพัฒนาแนวคิดทางการแพทย์และการคิดค้นพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาโรคต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยชีวิตผู้คนทั่วโลกและเป็นประโยชน์ต่อวงการสาธารณสุขของโลก

ผมรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมสำหรับการพัฒนาวัคซีน ความสำเร็จนี้ไม่ใช่ของผมเพียงคนเดียวแต่เป็นผลจากความทุ่มเทของทีมงานกว่าร้อยชีวิต

รวมถึงจีเอสเคที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานในการพัฒนา วัคซีนนับว่าเป็นนวัตกรรมด้านสุขภาพที่ดีที่สุดในรอบร้อยปีที่ผ่านมา เพราะวัคซีนช่วยให้ผู้คนทั่วโลกปลอดภัยจากโรคติดเชื้อหลายชนิดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอายุยืนยาว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดเทคโนโลยีนวัตกรรม บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา ขณะนี้มีความสนใจที่จะศึกษาการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคหนองใน ซึ่งจะช่วยผู้คนกว่า 78 ล้านคนทั่วโลกที่เป็นโรคนี้ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อดื้อยา ซึ่งกำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก” ศ.รีโน กล่าว  


 ศ.รีโน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเทศไทยมีชื่อเสียงในด้านการทดลองทางคลินิกที่มีคุณภาพ โดยจีเอสเคก็กำลังศึกษาวัคซีน RSV ในประเทศไทย จึงมั่นใจว่าไทยมาถูกทางแล้ว และอยากให้พัฒนาขึ้นจนสามารถส่งต่อความรู้และวิทยาการไปยังทั่วโลกได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยตนยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่นักวิจัยและสถาบันในประเทศไทย


 “ขณะนี้ทั่วโลกเกิดคำที่เรียกว่า Vaccine hesitancy หรือความลังเลใจว่าจะรับวัคซีนดีไหม หากเราปฏิเสธการรับวัคซีน โรคติดเชื้ออีกหลายโรคอาจจะกลับมาแพร่ระบาด เช่น โรคโปลิโอ โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ และโรคหัด จึงอยากฝากถึงทุกคนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ว่า ให้เห็นถึงความสำคัญของวัคซีนในการป้องกันโรคต่างๆ” ศ.รีโน กล่าว
 
ศ.รีโน ได้ศึกษาวิจัยและริเริ่มแนวคิดการพัฒนาวัคซีนต่างๆ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ของวงการแพทย์สมัยใหม่ และถูกนำมาใช้ในการป้องกันโรคอย่างแพร่หลาย ได้แก่ แนวคิด reverse vaccinology หรือการพัฒนาวัคซีนแบบย้อนกลับ โดยการศึกษาชุดข้อมูลพันธุกรรมของเชื้อโรคเพื่อศึกษาหาแอนติเจนหรือสารก่อภูมิต้านทานที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการปฏิวัติการพัฒนาวัคซีนและทำให้สามารถลดระยะเวลาในการพัฒนาวัคซีน รวมถึงแนวคิด Genetic detoxification หรือกระบวนการขับสารพิษโดยใช้วิธีทางพันธุกรรม ซึ่งแนวคิดเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพป้องกันโรคติดเชื้อที่สำคัญหลายชนิด อาทิ วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์ ทำให้ผู้ได้รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนน้อยลง และวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น เพื่อป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงการคิดค้น CRM 197 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนไอพีดี (IPD) เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไอพีดี วัคซีนฮิบ (Hib) เพื่อป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น (meningococcal vaccine) และยังเป็นตัวช่วยสำคัญในการพัฒนายาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง นอกจากนี้ ศ.รีโน ยังมีผลงานวิจัยตีพิมพ์มากกว่า 690 ผลงานในวารสารวิชาการนานาชาติ

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การพัฒนาวัคซีนมีความสำคัญมากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้คน เพราะช่วยป้องกันโรคและยุติการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาวัคซีนนวัตกรรมขึ้นได้ โดยไม่ต้องรอนำเข้าจากเมืองนอกเพียงอย่างเดียว สิ่งที่สำคัญคือ ทุกภาคส่วนต้องเห็นความสำคัญและร่วมมือกันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่วางนโยบายสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการวางนโยบายเพื่อดึงดูดเอกชนที่มีความพร้อมในการลงทุนด้านการวิจัย รวมถึงนักวิจัยที่มีความสามารถและมีความกระตือรือร้นในการสร้างนวัตกรรม และท้ายสุดคือ การสร้างเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีระหว่างนักวิจัยทั่วโลก อย่างงานประชุมวิชาการ Vaccine Congress 2019 ในครั้งนี้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาวัคซีนคือ จะทำอย่างไรให้ได้วัคซีนนวัตกรรมที่ดีกว่าของเดิมหรือยังไม่เคยมีมาก่อน และจะทำอย่างไร จึงจะได้วัคซีนที่มีราคาเหมาะสมและสามารถช่วยเหลือคนทุกระดับ โดยเฉพาะคนด้อยโอกาสได้

ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าศูนย์วิจัย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยค่อนข้างตื่นตัวกับการพัฒนาวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม แต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้ภาคส่วนเหล่านี้เกิดการประสานงานกันเป็นหนึ่งเดียว และสามารถส่งต่อวัคซีนที่มีคุณภาพไปถึงผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงอยากให้รัฐบาลเป็นผู้นำการสร้างความร่วมมือนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทุนวิจัย การสร้างกลไกให้มีจำนวนนักวิจัยทำงานเพิ่มขึ้น และการสร้างความร่วมมือกับสถาบันในต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และเทคโนโลยีนวัตกรรม โดยตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนนวัตกรรมของโลกในอนาคต

นายวิริยะ จงไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า การนำวัคซีนมาใช้ป้องกันโรคส่งผลให้แนวโน้มอัตราการเสียชีวิตและการเกิดโรคติดเชื้อลดลงอย่างมาก ปัจจุบัน มีการใช้วัคซีนของจีเอสเคทั่วโลกกว่า 2 ล้านโด๊สต่อวันใน 158 ประเทศ ขณะนี้ จีเอสเคมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนามากกว่า 30 ชนิด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ถึง 21 โรค นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาวัคซีนนวัตกรรมกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ มากกว่า 150 แห่งทั่วโลก


“สำหรับประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2562 จีเอสเคได้ร่วมมือกับนักวิจัยไทยและสถาบันต่างๆ เพื่อการวิจัยทางคลินิกมากกว่า 50 งานวิจัย อาทิ งานวิจัยวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  เชื้อไวรัสโรต้าที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง  เชื้อไวรัสเอชพีวีซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก  โรคคอตีบ  บาดทะยัก และไอกรนชนิดไร้เซลล์  โรคไข้หวัดใหญ่  โรคไข้เลือดออก  และโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสาธารณสุขและสุขภาพที่ดีของคนไทย ตามความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการส่งเสริมให้ผู้คนเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน” นายวิริยะ กล่าว


 ปัจจุบัน จีเอสเคกำลังดำเนินการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทยจำนวน 3 งานวิจัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาระบาดวิทยาของไวรัส RSV และการศึกษาวัคซีน RSV ในเด็กและทารก ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยในอนาคต จะขยายการวิจัยไปถึงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และประชากรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ รวมถึงจะมีการวิจัยเพื่อศึกษาวัคซีนปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อป้องกันการกำเริบจากการติดเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย
 
นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และบุคลากรทางการแพทย์ ต่างไม่เคยหยุดนิ่งในการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ เพื่อสร้างสังคมที่แข็งแรงและปลอดภัยสำหรับทุกคน

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 21 May 2020 05:00
ปองภพ เจนกิจโสภณ

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยีและอิเลคทรอนิกส์, ทุกเรื่องราว IT, Software และ Gadget, IoT, AI, EV, วิทยาศาสตร์, โทรคมนาคม, Artificial Intelligence, Machine Learning ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM