Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

Merck รับสิทธิบัตรสหรัฐ วิธีการปรับแต่งจีโนมเทคโนโลยี CRISPR

เมอร์ค (Merck)ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐฉบับแรกสำหรับวิธีการปรับแต่งจีโนม (Genome) ด้วยเทคโนโลยี CRISPR แบบปรับปรุงใหม่

  • เทคโนโลยี proxy-CRISPR ปรับปรุงวิธีการปรับแต่งจีโนมให้ดียิ่งขึ้น และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ สำหรับการวิจัย

  • ช่วยปรับแต่งจีโนมในส่วนที่เข้าถึงได้ยาก เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของจีโนม

ดาร์มสตัดท์เยอรมนี : เมอร์ค (Merckบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และผู้นำด้านการปรับแต่งจีโนม ประกาศในวันนี้ว่า สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Patent and Trademark Office) ได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการเพื่ออนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรของเมอร์คที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี proxy-CRISPR ของบริษัท

Udit Batra, member of the Merck Executive Board and CEO

นี่คือสิทธิบัตรสหรัฐฉบับแรกที่มอบให้กับเทคโนโลยี CRISPR ของเรา และในฐานะผู้นำการคิดค้นเทคโนโลยี CRISPR เราจะทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพนี้จะทำงานได้เต็มศักยภาพอย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม” อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว 

นี่ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักวิจัยในสหรัฐ เนื่องจากตอนนี้พวกเขาจะมีตัวเลือกมากขึ้นในด้านการปรับแต่งยีน ซึ่งจะช่วยเร่งการพัฒนายาให้เร็วขึ้นต่อไป

ทั้งนี้ proxy-CRISPR ของเมอร์คคือเทคนิคการปรับแต่งจีโนมแบบใหม่ที่ทำให้ CRISPR มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น และเจาะจงมากขึ้น ด้วยการเปิดจีโนมเพื่อการดัดแปลงดีเอ็นเอ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดัดแปลงจีโนมในส่วนที่เข้าถึงได้ยาก

https://www.merckgroup.com/content/dam/web/corporate/images/pr/2019/feb/global/CRISPR-Patent-Graphic-EN.jpg

สิทธิบัตรสหรัฐฉบับนี้นับเป็นสิทธิบัตร CRISPR ใบที่ 13 ของเมอร์คที่ได้รับจากทั่วโลก รายการสิทธิบัตร CRISPR ของบริษัทประกอบด้วยสิทธิบัตรในออสเตรเลีย แคนาดา ยุโรป สิงคโปร์ จีน อิสราเอล และเกาหลีใต้ ซึ่งล้วนเป็นสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ CRISPR ครอบคลุมวิธีการปรับแต่งจีโนมระดับพื้นฐานและแบบทางเลือก

 

สำหรับการปรับแต่งจีโนมโดยวิธี proxy-CRISPR นั้น เป็นการใช้ CRISPR สองระบบที่พุ่งเป้าไปยังจีโนมที่มีความใกล้เคียงกันและทำงานร่วมกัน โดย CRISPR ระบบแรกจะทำหน้าที่เปิด “ประตู” เพื่อผลักโปรตีนโครมาตินที่กีดขวางอยู่ออกไป ขณะที่ CRISPR อีกระบบจะตรงเข้าไปยังตำแหน่งที่แน่นอนเพื่อทำการดัดแปลงแก้ไข ทั้งนี้ เนื่องจากการดัดแปลงที่เห็นผล จะต้องมีการเชื่อมโยง CRISPR ทั้งสองส่วน ดังนั้น วิธีการproxy-CRISPR จะเปิดทางให้สามารถใช้ CRISPR แต่ละระบบได้อย่างจำเพาะเจาะจงถึงสองครั้ง

เมอร์คได้รับสิทธิบัตรเทคโนโลยี CRISPR Nickase ชนิดคู่ (การแยกสายโครโมโซมตรงข้ามเพื่อตัดสายทั้งสองของดีเอ็นเอให้ขาดในออสเตรเลีย แคนาดา และยุโรป และได้รับสิทธิบัตรเทคโนโลยีรวมระบบ CRISPR (การตัดโครโมโซมของลำดับเซลล์ยูคาริโอตและการแทรกลำดับดีเอ็นเอ) ในออสเตรเลีย แคนาดา ยุโรป สิงคโปร์ จีน อิสราเอล และเกาหลีใต้ โดยขณะนี้ เมอร์คอยู่ระหว่างดำเนินการออกใบอนุญาตสำหรับการนำสิทธิบัตรทั้งหมดนี้ไปใช้งานในทุกขอบข่าย

เทคโนโลยี CRISPR ถือเป็นจุดแข็งสำคัญของเมอร์ค ซึ่งมีประสบการณ์ 15 ปีในด้านการปรับแต่งจีโนม ตั้งแต่ในขั้นตอนการค้นคว้าวิจัยไปจนถึงการผลิต เมอร์คตระหนักดีว่า การปรับแต่งจีโนมได้ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าที่สำคัญในด้านการวิจัยทางชีวภาพและยารักษาโรค แต่ในขณะเดียวกัน ศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมก็ได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลทั้งในวงการวิทยาศาสตร์ กฎหมาย และสังคม ดังนั้น บริษัทจึงสนับสนุนการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมภายใต้การพิจารณาอย่างรอบคอบตามมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมาย โดยเมอร์คได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรม (Bioethics Advisory Panelขึ้น เพื่อให้คำแนะนำแก่โครงการวิจัยที่ธุรกิจของเมอร์คได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการวิจัยเรื่องการปรับแต่งจีโนม หรือที่ใช้เทคนิคการปรับแต่งจีโนม ตลอดจนกำหนดจุดยืนการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยพิจารณาถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม สู่แนวทางการรักษาโรคที่มีความหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ในการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ

ติดตามเมอร์คได้ทาง Twitter @Merckgroup, Facebook @merckgroup และ LinkedIn

 

เกี่ยวกับ เมอร์ค

เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง โดยมีการดำเนินงานครอบคลุมด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และเพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียล พนักงานประมาณ 51,000 คนของบริษัทต่างทุ่มเทในการสร้างความแตกต่างที่ดีต่อชีวิตของผู้คนหลายล้านคนในทุก ๆ วัน ด้วยการนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตที่มีความสุขและยั่งยืนยิ่งขึ้น เมอร์ค เป็นทั้งผู้พัฒนาเทคโนโลยีตัดต่อยีน ไปจนถึงการเสาะหากลวิธีใหม่ ๆ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ท้าทายที่สุด ตลอดจนการคิดค้นอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยในปี 2560 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.53 หมื่นล้านยูโร ใน 66ประเทศ

การสำรวจในทางวิทยาศาสตร์และการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คือหัวใจหลักในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมอร์ค ทั้งยังเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของเมอร์คนับตั้งแต่ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2211 ปัจจุบันครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ "เมอร์คทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจในชื่อ อีเอ็มดี เซโรโน ในวงการดูแลสุขภาพมิลลิพอร์ซิกมา ในวงการชีววิทยาศาสตร์ และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียลส์

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 07 March 2019 12:56
กนิษฐา กาญจนกวี

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยี  IT Business, Social Media, Gadget review, Marketing, Startup, Blockchain และ Cryptocurrency, Tech Startup และ Business Innovations, ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM