IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
กอปรการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านประชากรศาสตร์โดยเฉพาะเอเชีย อันเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในโลกและมีจำนวนประชากรแต่ละประเทศที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถที่เป็นแหล่งความรู้ในอนาคตและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องปรับตัวและจัดหาวิธีการเรียนรู้เพิ่มทักษะในในสังคม ในการประชุม THE Asia Universities Summit ภายใต้ Theme งาน Facing the future, creating academic talent "พวกเราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกในอนาคตได้อย่างไรกัน ถ้าบุคลากรที่จะเป็นแหล่งความรู้ในอนาคตมีจำนวนที่ลดลง ?"
ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล (ที่ 3 จากซ้าย) รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า THE Asia Universities Summit ภายใต้งาน Facing the future, creating academic talent ถือเป็นการส่งเสริมด้านอุดมศึกษา พร้อมเชื่อมต่อผลงานด้านอุดมศึกษาไทยในระดับเอเชีย โดยการประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์องค์ความรู้ในการพัฒนาจากกลุ่มภาคการศึกษามหาวิทยาลัยในทวีปเอเชีย อีกทั้งสถาบันอุดมศึกษาไทยได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาร่วมกันในสถาบันอุดมศึกษาในเอเชีย ในเรื่องของจำนวนประชากรลดลง การปรับเปลี่ยนจากจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมีแผนงานที่ชัดเจนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้ถอดบทเรียนในเรื่องของความสำเร็จของการจัดการของสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศต่าง เพื่อเกิดการสนับสนุนนโยบายที่กระทรวงฯ ดำเนินการอยู่ได้เป็นอย่างดี เช่น แนวคิดในการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม แนวคิดในการขับเคลื่อนและสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Sciences) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิธีต่างๆ ที่หลากหลาย โดยเน้นออนไลน์เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ผู้เรียน การร่วมมือการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโดยการใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ซึ่งการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้ถอดบทเรียนในเรื่องของความสำเร็จของการจัดการของสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศต่าง เพื่อเกิดการสนับสนุนนโยบายที่กระทรวงฯ ดำเนินการอยู่ได้เป็นอย่างดี
นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี (ที่ 2 จากขวา) หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยังได้เผยถึงโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ได้นำมาปรับในการพัฒนาในประเทศ โดยให้พลิกโฉมมหาวิทยาลัยผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยมีการดำเนินการที่มุ่งเป้า ดึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยออกมาให้ได้มากที่สุด ไม่หลงทางวางความถนัดของกลุ่มมหาวิทยาลัยไทยที่ชัดเจน โดยการดำเนินการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศที่ทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle income trap) และยกระดับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้องค์ความรู้จากทางมหาวิทยาลัย
“ในการประชุม อว. ยังได้นำเสนอมุมมอง แผนการพัฒนาด้านอุดมศึกษาในไทย โดยตัวแทนประเทศไทยได้มีการนำเสนอแนวคิดผ่านการสัมมนาในเรื่องการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในกรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการปรับการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านการแพทย์มาก่อนการระบาดของโรค COVID-19 คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาในเรื่องระบบไอที องค์ความรู้ด้านดิจิตอล ความรู้ทางด้านการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนอย่างรอบด้าน อาทิ การติดตั้งระบบไวไฟทุกวิทยาเขต พัฒนาเซิฟเวอร์ให้ทันสมัยมีบทเรียนแบบออนไลน์ มีการสร้างบุคคลากรให้มีความรู้ทำให้ในช่วงโรคระบาด COVID-19 การจัดการเรียนการสอนจึงไม่กระทบมาก แม้ว่าการมีระบบ IT ที่ดีจะเป็นเทรนด์ของอนาคต แต่การเรียนการสอนแบบซึ่งหน้า (face to face) ก็เป็นสิ่งสำคัญช่วยการเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมมากกว่าโลกออนไลน์ นอกจากนี้ทาง สป.อว. ยังได้ทาบทามทาง THE ให้มาจัดการประชุม Master class ในประเทศไทยในเวลาอันใกล้นี้ต่อไป” นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวสรุป